Your Cart

ปลูกผม เทคนิคไหนดี

ปลูกผม เทคนิคไหนดี

คำถามยอดฮิตของผู้ที่กำลังศึกษาการปลูกผมคือ ปลูกผม เทคนิคไหนดี ปัจจุบันการศัลยกรรมปลูกผมถาวรตามคำนิยามของสมาคมศัลยกรรมปลูกผมนานาชาติ The International Society of Hair Restoration Surgery (ISHRS) มีอยู่ 2 วิธีการสากล คือ FUT และ FUE ซึ่งทั้ง 2 วิธีจะแตกต่างกันที่กระบวนการได้มาของกราฟจากบริเวณด้านหลัง (Donor site)

ปลูกผมเทคนิคไหนดี

การปลูกผมวิธี FUT

FUT ย่อมาจาก Follicular unit transplantation เป็นวิธีการปลูกผมโดยการผ่าตัดนำหนังศีรษะด้านหลังออกมาเป็นชิ้นยาวๆ หรือที่เรียกว่า Strip แล้วนำมาหั่นแยกกราฟออกมาเป็นกอเล็กๆ ที่เรียกว่า “กราฟ” แล้วจึงนำกราฟมาปลูกยังบริเวณที่ต้องการ ซึ่งกราฟที่นำมาปลูกจะเป็นได้ทั้งแบบผมสั้น (short hair) หรือเป็นแบบผมยาว (long hair) ก็ได้

ข้อดีของการปลูกผมถาวรแบบ FUT

  • ได้กราฟปริมาณมาก โดยจำนวนมากที่สุดประมาณ 4000-6000 กราฟ
  • ใช้เวลาในการปลูกผมน้อยกว่าวิธี FUE
  • เหมาะกับคนที่ไม่ต้องการตัดผมสั้น เช่น ผู้หญิง
  • เหมาะกับคนที่เป็นผมบางศีรษะล้านระยะสุดท้ายที่เหลือผมด้านหลังไม่มาก(Advance hair loss)

ข้อเสียของการปลูกผมถาวรแบบ FUT

  • แผลเป็นจะเป็นลักษณะเส้นยาวตลอดแนวผมด้านหลัง ทำให้ไม่สามารถตัดผมสั้นได้
  • ไม่เหมาะกับอาชีพที่จำเป็นต้องตัดผมสั้นตลอด เช่น ทหาร ตำรวจ หรือคนในเครื่องแบบ
  • มีโอกาสเกิดแผลเป็นลักษณะนูนยืด(Hypertrophic scar/Stretched scar) ได้ในบางคน ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาเรื่องความมั่นใจได้
  • เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้เช่น การบาดเจ็บต่อเส้นประสารทระดับลึก การติดเชื้อรุนแรงบริเวณหนังศีรษะ4000
  • ใช้ระยะเวลาพักฟื้นนาน ประมาณ 1-2 สัปดาห์ 
  • มีข้อจำกัดกิจกรรมหลังปลูกผม เช่น การงดออกกำลังกาย 1 เดือน

การปลูกผมวิธี FUE

FUE ย่อมาจาก Follicular unit extraction เป็นวิธีการปลูกผมโดยไม่ต้องผ่าตัด โดยจะมีการย้ายรากผมจากด้านหลังโดยใช้หัวเจาะขนาดเล็ก เจาะรากผมบริเวณท้ายทอยและดึงออกมาทีละกอ แล้วนำกราฟที่ได้มาปลูกยังบริเวณที่ต้องการ ลักษณะกราฟและการเตรียมพื้นที่ด้านหลังจากวิธี FUE สามารถแบ่งเป็นกระบวนการย่อยๆได้ดังนี้

  • ปลูกผมแบบโกน(Shaven FUE)

  • ปลูกผมแบบไม่โกน (Non-shaven FUE)

  • ปลูกผมแบบผมยาว( Long hair FUE)

ศึกษาบทความเพิ่มเติม : ข้อดีข้อเสียของการปลูกผมวิธี FUE แต่ละแบบ

“จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าการปลูกผมถาวรแบ่งเป็นวิธีเพียงแค่ 2 วิธี เท่านั้น FUT และ FUE โดยแบ่งตามกระบวนการนำกราฟออกมาจากด้านหลัง ทำให้ผู้ที่กำลังศึกษาการปลูกผมมุ่งเป้าไปที่วิธีการปลูกผมเป็นหลัก และเข้าใจผิดว่าหากเป็นวิธีการปลูกผมเดียวกัน ผลลัพธ์ก็จะต้องเหมือนกัน จึงเปรียบเทียบแค่ราคา แต่ความเป็นจริงแล้วกระบวนการปลูกผมไม่ได้มีแค่ขั้นตอนนำกราฟออกมาจากด้านหลังเท่านั้นแต่ยังมีขั้นตอนอีกมากมายที่จะทำให้ผลลัพธ์ของการปลูกผมออกมาแตกต่างกัน  กล่าวคือ ผลลัพธ์การปลูกผมจะออกมาเป็นอย่างไรนั้นขึ้นกับ เทคนิคการปลูกผมทุกขั้นตอนต่างหาก ดังนั้นนอกจากพิจารณาวิธีการนำกราฟออกมาจากด้านหลังแล้ว ยังต้องพิจารณาเรื่องเทคนิคและรายละเอียดขั้นตอนของแต่ละคลินิกอีกด้วย “

ปลูกผมเทคนิคไหนดีที่สุด

แล้วคำถามคือ ปลูกผมเทคนิคไหนดี ปลูกผมเทคนิคไหนดีที่สุด เพราะแต่ละคลินิกก็ต่างมีเทคนิคเป็นของตัวเอง ซึ่งคำตอบคือ ต้องใช้การพิจารณาทุกๆขั้นตอนของการปลูกผม ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจว่าจะปลูกผมเทคนิคไหนดี ผู้รับบริการต้องทราบถึงขั้นตอนการปลูกผมก่อนว่ามีขั้นตอนอะไรบ้างเพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกเทคนิคปลูกผมนั่นเอง โดยกระบวนการปลูกผมถาวรมีรายละเอียดขั้นตอนดังนี้

1. ขั้นตอนการออกแบบแนวผม (Hair line)

การออกแบบแนวผม ถือเป็นหัวใจสำคัญของการปลูกผม หากแพทย์ออกแบบแนวผมเข้ากับรูปหน้า เลือกทรงผมที่เหมาะสมกับเพศ อายุของคนไข้ ก็จะทำให้แนวผมที่ปลูกดูธรรมชาติ กลับกันหากการออกแบบแนวผมไม่ธรรมชาติ เช่น ออกแบบแนวผมของเพศหญิงให้คนไข้เพศชาย ออกแบบแนวผมผิดกฎของกายวิภาคศาสตร์ ก็จะส่งผลให้ผลลัพธ์การปลูกผมไม่ธรรมชาติ และยากที่จะแก้ไขในอนาคตได้ ดังนั้นการดูรีวิวแนวผมจากการปลูกผมควรดูผลลัพธ์ที่ผมยาวเต็มที่แล้วเท่านั้น คือผลลัพธ์หลังปลูกผมหลัง 1 ปีเป็นต้นไป เนื่องจากเป็นผลลัพธ์แนวผมที่แท้จริง 

ศึกษาบทความเพิ่มเติม :  ปลูกผมธรรมชาติ vs ไม่ธรรมชาติ ดูอย่างไร?

ปลูกผมผู้ชายธรรมชาติ
ปลูกผมธรรมชาติ

2. ขั้นตอนนำรากผมออกมาจากบริเวณด้านหลัง

หลังจากออกแบบแนวผมแล้วขั้นตอนถัดไป คือขั้นตอนการนำรากผมออกมาจากร่างกาย ซึ่งโดยทั่วไปแพทย์จะนำรากผมออกมาจากบริเวณหนังศีรษะท้ายทอย เนื่องจากรากผมบริเวณท้ายทอยจะมีความแข็งแรงกว่ารากผมบริเวณอื่น และไม่มีตัวรับฮอร์โมนเพศชายอีกด้วย ขั้นตอนนี้ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก เพราะจะเป็นขั้นตอนที่กำหนดรอยแผลเป็นด้านหลังและเป็นขั้นตอนที่มีผลต่ออัตราการรอดของกราฟ 

ขั้นตอนการนำรากผมออกจากบริเวณด้านหลัง(Donor site) แบ่งเป็น 2 วิธีตามที่อธิบายไว้ข้างต้น ดังนี้

1.  วิธี FUT :  ผ่าตัดหนังศีรษะบริเวณท้ายทอยแล้วนำรากผมมาแยกเป็นกอผมนอกร่างกาย 

หากเลือกวิธี FUT สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ เทคนิคความชำนาญในผ่าตัดและการเย็บแผลของแพทย์ เพราะFUT ถือเป็นการผ่าตัด หากแพทย์ไม่ชำนาญในการทำ FUT จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้สูงมาก ยกตัวอย่างเช่นแผลผ่าตัดแยก แผลผ่าตัดขาดเลือด เกิดเนื้อตาย แผลผ่าตัดเกิดรอยแผลเป็นนูนยืด ซึ่งยากในการแก้ไข

2.  วิธี FUE  :  ใช้อุปกรณ์เจาะรากผม เจาะรากผมออกมาทีละกอโดยไม่ต้องผ่าตัด 

หากเลือกวิธี FUE สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ เทคโนโลยีของเครื่องเจาะรากผมว่าเป็นเครื่องเจาะรากผมเทคโนโลยีใหม่หรือไม่ เพราะเทคโนโลยีที่ทันสมัยจะมีส่วนช่วยอย่างมากในการทำให้กราฟที่เจาะออกมามีคุณภาพสูง ส่งผลให้อัตราการรอดสูง หัวเจาะเทคโนโลยีใหม่จะทำให้แผลด้านหลังขนาดเล็กกว่าเครื่องเจาะรากผมยุคเก่า และต้องพิจารณาเรื่องเทคนิคการเจาะรากผมของแต่ละคลินิกด้วย โดยดูจากแผลด้านหลัง หากการเจาะกระจายทำได้ดี ใช้หัวเจาะขนาดพอดีรากผม ก็จะทำให้แผลด้านหลังสวย สามารถตัดผมสั้นได้ในอนาคต แต่หากใช้หัวเจาะยุคเก่า ใช้หัวเจาะขนาดใหญ่ เจาะกระจายกราฟไม่ดี ก็จะทำให้แผลด้านหลังไม่สวย ผมด้านหลังจะหายไปเป็นหย่อมไม่เท่ากันทำให้ไม่สามารถไว้ผมสั้นได้อีกเลย ซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้

ศึกษาบทความเพิ่มเติม : เครื่องเจาะรากผมสำคัญอย่างไร ?

แผลเป็นจากการปลูกผม
แผลหลังปลูกผม

3. ขั้นตอนการเตรียมรากผม

  • น้ำยาแช่กราฟ

หลังจากนำรากผมออกมาจากร่างกายได้แล้ว ขั้นตอนถัดไปคือการนำรากผมที่ได้ เรียกว่า “กราฟ” ไปเตรียมพร้อมเพื่อเตรียมย้ายเข้าไปยังบริเวณที่ต้องการปลูกผม (Recipient site) โดยจะแช่กราฟในน้ำยาเลี้ยงเซลล์ซึ่งแต่ละคลินิกก็ใช้น้ำยาเลี้ยงเซลล์ไม่เหมือนกัน น้ำยาเลี้ยงเซลล์ที่ดีจะต้องเป็น Medical grade และใช้กับเซลล์ร่างกายมนุษย์เท่านั้น เพื่อให้กราฟคงสภาพสมบูรณ์มากที่สุดตลอดการอยู่นอกร่างกาย บางคลินิกลดต้นทุนด้วยการนำน้ำเกลือมาแช่กราฟ ส่งผลให้กราฟไม่รอดนั่นเอง

  • การตกแต่งกราฟ 

ก่อนจะย้ายกราฟไปสู่บริเวณที่ต้องการปลูกผม กรณีต้องการทำให้กราฟมีขนาดเล็กพอดี(Micrograft) เพื่อให้แผลที่ปลูกมีขนาดเล็ก และปลูกได้แน่นมากขึ้น จะต้องอาศัยการตกแต่งกราฟเพื่อตัดแต่งเนื้อเยื่อส่วนเกินออก(Graft trimming) ซึ่งการตกแต่งกราฟควรทำภายใต้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูงเท่านั้น เนื่องจากรากผมจะมี stem cell ขนาดเล็กอยู่ หากตกแต่งกราฟไม่ระวัง อาจทำให้ stem cell เสียหายได้ ดังนั้นการตกแต่งกราฟภายใต้กล้องจุลทรรศน์จึงต้องอาศัยความชำนาญอย่างมาก

นอกจากตกแต่งกราฟเพื่อให้มีขนาดเล็กลงแล้ว ยังมีเทคนิคการตัดแต่งแยกกราฟออกมาเป็นกอเล็กๆอีกด้วย (Graft splitting) เทคนิคนี้จะช่วยทำให้สร้างผมเส้นเดี่ยว 1 hair follicle เพื่อนำมาสร้างไรผมเพื่อทำให้เกิดผลลัพธ์ความเป้นธรรมชาติมากขึ้น ซึ่งเทคนิคนี้ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูงร่วมกับความชำนาญอย่างมาก เนื่องจากต้องแยกกราฟแต่ละเส้นออกจากกันโดยที่ไม่เกิดการทำลายเนื้อเยื่อกราฟแม้แต่นิดเดียว

การตกแต่งกราฟถือเป็นขั้นตอนที่จะทำให้ผลลัพธ์ของผมที่ปลูกดูธรรมชาติและปลูกได้แน่นมากยิ่งขึ้น ซึ่งไม่ใช่ทุกคลินิกจะสามารถทำเทคนิคนี้ได้ ต้องอาศัยทีมแพทย์และประสบการณ์ที่สูงร่วมด้วย ยกตัวอย่างชื่อเทคนิคที่บ่งบอกว่ามีการตกแต่งกราฟ เช่น Micrograft, Nanografts, Minigraft เป็นต้น

ศึกษาบทความเพิ่มเติม : ทำไมต้องตกแต่งกราฟ

ตกแต่งกราฟ
ปลูกผมผู้หญิง

4. ขั้นตอนการวางทิศทางและกำหนดความหนาแน่น

การวางทิศทางกราฟและการกำหนดความหนาแน่น ถือเป็นขั้นตอนสำคัญอย่างมากที่จะกำหนดผลลัพธ์ของรากผมที่นำมาปลูก โดยทิศทางของรากผมเแต่ละเส้นไม่เหมือนกัน ต้องวางทิศทางให้เหมือนกับทิศทางเดิมและต้องเป็นไปตามกฎของทิศรากผมตามกายวิภาคศาสตร์อีกด้วย นอกจากนั้นการกำหนดความหนาแน่นของกราฟที่จะนำมาปลูกก็มีส่วนสำคัญอย่างมากในการกำหนดว่าการปลูกผมนั้นจะออกมาแน่นตามธรรมชาติหรือไม่ โดยแพทย์จะต้องเป็นผู้กำหนดทิศทางและความหนาแน่นให้เหมาะสมกับคนไข้แต่ละราย

ปัญหาที่พบในปัจจุบันคือ แต่ละคลินิกโปรโมทว่าใช้เทคนิคปลูกผมที่ปลูกแน่น เป็นธรรมชาติ เหมือนกันทุกที่ แต่ผลลัพธ์ทีไ่ด้กลับใช้ความหนาแน่นต่ำกว่าความหนาแน่นธรรมชาติ ทำให้ดูออกว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ผมปลูก อีกทั้งยังปลูกผิดทิศทำให้ผมที่ยาวออกมาไม่เป็นไปตามทิศธรรมชาติ ชี้ไปผิดทิศทาง ทำให้คนไข้ไม่สามารถเซ็ทผมหรือไว้ผมสั้นได้ และสิ่งที่น่ากลัวของการปลูกผิดทิศคือ ไม่สามารถแก้ไขให้ทิศกลับมาถูกต้องได้ นอกจากการเลเซอร์รากผมออกหรือการเจาะรากผมทั้งหมดทิ้ง

ดังนั้นการเลือกเทคนิคปลูกผมที่มีการวางทิศถูกต้องและความหนาแน่นธรรมชาติ ควรขอดูผลลัพธ์ตอนผมงอกและยาวเต็มที่เท่านั้น โดยผลลัพธ์ที่แท้จริงหลังปลูกผมคือผลลัพธ์หลัง 1 ปี เพื่อประเมินทิศทางรากผมและความหนาแน่นที่แท้จริงหลังผมงอกเต็มที่นั่นเอง

ทิศทางรากผมตามธรรมชาติแต่ละบริเวณ Reference : Shapiromedical.com

5. ขั้นตอนการปลูกผม

ขั้นตอนสุดท้ายของการปลูกผมคือ ขั้นตอนการปลูกผม (Graft Placement) เป็นการนำกราฟที่เตรียมไว้มาปลูกยังบริเวณที่ต้องการ ซึ่งขั้นตอนการปลูกผมจะมีการใช้อุปกรณ์ในการนำกราฟหย่อนลงไปยังบริเวณที่หนังศีรษะ โดยอุปกรณ์ที่ใช้ในขั้นตอนการปลูกมีมากมายหลายชนิด ยกตัวอย่างเช่น

  • Forcep อุปกรณ์คีบรากผมแบบดั้งเดิม
  • Titanium Forcep อุปกรณ์คีบรากผมชนิดไทเทเนียม
  • Dull Needle Implanter (DNI) ปากกาปลูกผมแบบไม่คม
  • Sharp Needle Implanter ปากกาปลูกผมแบบคม หรือที่คุ้นเคยกันในชื่อ Direct hair implantation (DHI)
  • Multiple Needle Implanter ปากกาปลูกผมแบบคม สามารถปักกราฟได้มากกว่า 1 กราฟต่อการใช้งาน เช่น multi hair implanter

ยุคปัจจุบันมีการโฆษณาเทคนิคปลูกผม DHI ว่าเป็นเทคนิคที่ดีที่สุด ปลูกได้แน่นสุด แผลเล็กสุด ซึ่งความเป็นจริงแล้วเทคนิค DHI เป็นเพียงการใช้ปากกาปลูกผมแบบคมในขั้นตอนการปลูกเท่านั้น การใช้ปากกาซึ่งไม่ได้การันตรีว่า ผลลัพธ์การปลูกจะออกมาธรรมชาติ และแน่นกว่าการใช้อุปกรณ์ปลูกประเภทอื่น  เพราะปัจจัยเรื่องความธรรมชาติและความแน่นนั้นขึ้นกับการออกแบบแนวผม การเรียงลำดับกราฟ การกำหนดความหนาแน่นที่เหมาะสม และการตกแต่งกราฟให้เล็กพอดี ไม่ได้เกิดจากอุปกรณ์การปลูกอย่างเดียวตามที่โฆษณากัน

อุปกรณ์ปลูกผมมีจุดประสงค์หลักเพื่อนำกราฟไปฝังตัวบนหนังศีรษะอย่างปลอดภัย ซึ่งอุปกรณ์แต่ละชนิดมีทั้งข้อดีข้อเสียในตัวมันเองการจะเลือกใช้อุปกรณ์ใดขึ้นกับความถนัดของแพทย์และทีม เพราะหากอุปกรณ์ทันสมัยแต่แพทย์ไม่ใช้ไม่ถนัด ผลลัพธ์ที่ออกมาก็ไม่ดี ดังนั้นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญที่สุดไม่ใช่ว่าเทคนิคนี้ใช้อุปกรณ์ปลูกผมอะไร แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคืออุปกรณ์ที่ใช้ปลูกต้องไม่ทำให้กราฟบอบช้ำ เรียกว่า เทคนิคไม่สัมผัสรากผม ” Non touch graft technique ”  ซึ่งเป็นเทคนิคการปลูกที่ทำให้กราฟบอบช้ำน้อยที่สุด กราฟที่ไม่บอบช้ำ จะทำให้อัตราการรอดสูงขึ้นนั่นเอง

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม : ทำไมปลูกผมแล้วไม่ขึ้น

6. ขั้นตอนการดูแลแผลหลังปลูกผม

หลังจากปลูกผมเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการดูแลหลังปลูกผม ซึ่งขั้นตอนนี้มีส่วนทำให้ผมที่ปลูกมีอัตราการรอดที่ดีขึ้น ประกอบไปด้วยขั้นตอนดังนี้

  • การทำความสะอาดแผลหลังปลูกผม  ช่วยให้แผลที่ปลูกสะอาดปลอดเชื้อ และเป็นการป้องกันการติดเชื้อหลังปลูกผมอีกด้วย ดังนั้นการเลือกคลินิกปลูกผมควรเลือกที่มีการติดตามดูแลแผลอย่างใกล้ชิดในช่วง 2 สัปดาห์แรก 
  • การใช้เลเซอร์สมานแผลหลังปลูกผม อัตราการรอดของผมนอกจากเทคนิคในการปลูกผมแล้ว ยังขึ้นกับการส่งเลือดไปเลี้ยงกราฟที่ปลูกอีกด้วย โดยนวัตกรรมเลเซอร์ HEALITE II แสงสีเหลืองจะมีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิต ทำให้กราฟมีโอกาสรอดสูงขึ้น อีกทั้งคลื่นแสงสีเหลืองยังช่วยสมานแผลทั้งบริเวณด้านหลังและบริเวณที่ปลูก ทำให้แผลหายไวมากขึ้น ลดระยะเวลาพักฟื้นให้สั้นลง  

บทสรุปปลูกผมเทคนิคไหนดีที่สุด

สรุปปลูกผมเทคนิคไหนดีที่สุด คำตอบคือ ต้องพิจารณาทุกๆขั้นตอนในการปลูกผม ไม่ควรเปรียบเทียบแค่ชื่อเทคนิคและราคาเท่านั้น เพราะการปลูกผม คือ การปลูกถ่ายอวัยวะรูปแบบหนึ่ง ต้องอาศัยเทคนิคความชำนาญเฉพาะตัวและต้องอาศัยประสบการณ์ที่สูง หากปลูกถ่ายรากผมแล้วกราฟไม่ติดแปลว่าต้องสูญเสียกราฟนั้นไปถาวร และหากแม้ปลูกติดแต่ผลลัพธ์ไม่เป็นธรรมชาติ ก็จะส่งผลต่อความมั่นใจในการใช้ชีวิตระยะยาวอีกด้วย

เกศาคลินิกเป็นคลินิกปลูกผมที่เปิดมามากกว่า 6 ปี มีการพัฒนาเทคนิคปลูกผมเฉพาะตัวขึ้นมาเรียกว่าเทคนิค NNN ซึ่งเป็นเทคนิคที่ให้ความสำคัญกับทุกขั้นตอนการปลูกผมตั้งแต่การออกแบบแนวผมไปจนถึงขั้นตอนการดูแลหลังปลูก และโดดเด่นด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ล่าสุดเข้ามาร่วมในการปลูกผมทำให้ผลลัพธ์การปลูกผมที่เกศา เป็นนวัตกรรมใหม่แห่งการปลูกผมอยู่เสมอ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม : NNN นวัตกรรมใหม่แห่งการปลูกผม

นอกจากพิจารณาที่เทคนิคปลูกผมแล้ว ยังต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของสถานพยาบาล ความปลอดภัยในห้องผ่าตัด ตัวแพทย์ และที่สำคัญคือประสบการณ์ผ่านเคสมาเยอะเพียงใด เพราะปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อผลลัพธ์การปลูกผมทั้งสิ้น

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม : 10เคล็ดลับเลือกคลินิกปลูกผม ปลูกผมที่ไหนดี?