• ไทย
  • English
  • 中文 (中国)
  • ພາສາລາວ
0
Your Cart
0
Your Cart
  • ไทย
  • English
  • 中文 (中国)
  • ພາສາລາວ

ผมร่วงจากโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)

         ผมร่วง PCOS  เป็นภาวะผมบางที่เกิดจากกลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือ  Polycystic Ovary Syndrome (PCOS) ซึ่งเป็นกลุ่มอาการที่พบได้ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ สาเหตุยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด อาจเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม ปัจจัยทางเชื้อชาติ ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม หรือหลากหลายปัจจัย โดยกลไกการเกิดโรคเกิดจาก ความผิดปกติที่ทำให้เกิดภาวะตกไข่ไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนมจึงมาไม่ปกติ, ร่างกายมีระดับฮอร์โมนเพศชายที่สูงขึ้น ทำให้มีการแสดงออกลักษณะคล้ายเพศชาย, มีความผิดปกติของการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยในการเผาผลาญน้ำตาลในร่างกาย ส่งผลให้เกิดภาวะดื้ออินซูลินตามมา

อาการแสดงของโรค ผมร่วง PCOS

  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ โดยมาห่างผิดปกติโดยมีประจำเดือนน้อยกว่า 8 ครั้งใน 1 ปี,ประจำเดือนมากะปริบกะปรอยหลังจากที่มีการขาดประจำเดือนหลายเดือน
  • มีลักษณะฮอร์โมนเพศชายเกิน เช่น ใบหน้ามีสิว ผิวหน้ามัน มีขนตามลำตัว หนวดเคราเข้ม ผมร่วง/ผมบางคล้ายผู้ชาย 
  • มีลักษณะอาการแสดงของภาวะดื้ออินซูลิน เช่น ข้อพับตามคอ รักแร้ ใต้ราวนม มีสีเข้มขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2
  • ตรวจอัลตร้าซาวด์ พบลักษะถุงน้ำในรังไข่หลายๆใบ

ภาพอัลตราซาวด์เปรียบเทียบรังไข่ปกติ กับ ถุงน้ำรังไข่หลายใบ

ที่มาภาพ : www.thelancet.com/journals/lancet/article/PIIS0140673607613452/fulltext

ความเสี่ยงสุขภาพเมื่อเป็นโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ PCOS

  • มีบุตรยาก เนื่องจากมีภาวะไข่ตกไม่สม่ำเสมอ
  • มีความเสี่ยงในการเกิดเยื่อบุมดลูกหนาตัวและมะเร็งเยื่อบุมดลูก
  • มีความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2 
  • มีความเสี่ยงโรคเมแทบอลิกซินโดรม(metabolic syndrome) หรือภาวะอ้วนลงพุง ที่จะนำมาสู้ปัญหาโรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเส้นเลือด โรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง

อาการแสดงของโรค ผมร่วง PCOS

       ผู้หญิงที่มีปัญหาผมบางกลางหนังศีรษะ จะมีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า Female pattern hair loss โดยจะมีลักษณะผมบางเด่นบริเวณกลางหนังศีรษะ ในบางรายอาจมีผมบางมาถึงโซนผมด้านหน้าร่วมด้วยลักษณะคล้ายต้นคริสมาส (Christmas tree pattern) ซึ่งอาจจะมีหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากหลายๆปัจจัยร่วมกัน(multifactorial), การถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ และโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะผมบางกลางหนังศีรษะได้ ดังนั้นควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจอย่างละเอียดเพื่อหาสาเหตุของภาวะผมบาง

       ผู้หญิงจำนวนมากที่เป็นโรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (PCOS) มักพบปัญหาผมร่วงผิดปกติจนทำให้ผมบาง โดยภาวะผมบาง PCOS เกิดจากการที่มีฮอร์โมนเพศชาย androgen สูงกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการแสดงผมร่วงกลางหนังศีรษะคล้ายผมบางพันธุกรรมในเพศชายนั่นเอง

การรักษาโรค ผมร่วง PCOS

  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 
    แนะนำลดน้ำหนัก เพื่อให้ดัชนีมวลกายกลับมาสู่ค่าปกติ เนื่องจากการลดน้ำหนักจะส่งผลให้การตกไข่กลับมาปกติได้เร็วขึ้น ทำให้สมดุลฮอร์โมนเพศกลับมาปกติได้เช่นกัน
  • ยาลดฮอร์โมนเพศชาย และยากระตุ้นการงอกของเส้นผม

    การรักษาหลักคือ ยาที่ออกฤทธิ์ลดฮอร์โมนเพศชาย เช่น ยาคุมกำเนิดที่มีฤทธิ์ลดฮอร์โมนเพศชาย ยาขับปัสสาวะ ยาลดฮอร์โมนเพศชาย ร่วมกับการใช้ยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นการงอกของเส้นผม ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดใต้หนังศีรษะ และยืดอายุผมระยะเติบโตได้ ทำให้ผมร่วงลดลง และช่วยให้รากผมกลับมาแข็งแรงขึ้น หากใช้ต่อเนื่อง ผมที่บางจะกลับมามีความหนามากขึ้น หากต้องการให้เส้นผมที่ความแข็งแรงไปตลอด จำเป้นต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่อง

  • แชมพูลดฮอร์โมนเพศชาย

      แชมพูที่แนะนำให้คนที่มีปัญหาผมบางจากโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบใช้ แชมพูที่มีสรรคุณลดการออกฤทธิ์ฮอร์โมนเพศชายบริเวณรูขุมขนของหนังศีรษะ และมีคุณสมบัติช่วยลดความมันบนหนังศีรษะได้จึงเหมาะกับคนไข้กลุ่มนี้ที่มักมีปัญหาผิวแลหนังศีรษะมันมากกว่าปกติ 

  • ฉีดบำรุงรากผม

      สำหรับบางรายที่รักษาด้วยการทายาหรือรับประทานยาและยังไม่ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการอีกทางเลือกที่สามารถทำควบคู่กับการรักษาหลักคือ การฉีดบำรุงรากผม ซึ่งช่วยเพิ่มระบบไหลเวียนโลหิตใต้หนังศีรษะและยืดอายุของผมระยะเติบโต Anagen phase ให้มีอายุนานขึ้น ส่งผลให้ลดผมร่วงได้นั่นเอง

 

      แสงเลเซอร์ความถี่ต่ำ Low level laser therapy เหมาะกับรายที่มีปัญหาผมร่วงผมบางที่ยังไม่มีศีรษะล้าน โดยกลไกการทำงานคือ แสงเลเซอร์จะปลดปล่อยพลังงานที่จำเพาะกับรากผม ทำให้กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ส่งผลให้รากผมแข็งแรง ลดผมร่วง และช่วยรักษาภาวะผมบางได้ โดยปัจจุบันมีการผลิตหมวกเลเซอร์ที่สามารถทำเองได้ที่บ้าน โดยแนะนำทำ 3 ครั้ง/สัปดาห์

      ในกรณีที่รักษาด้วยวิธีหลักแล้วไม่ดีขึ้น ร่วมกับการส่องกล้องแล้วพบว่ารูขุมขนบริเวณดังกล่าวปิดไปแล้ว กรณีนี้จะไม่สามารถทำให้ผมบริเวณนั้นกลับมางอกได้อีก แพทย์อาจแนะนำให้ใช้การปลูกผมเพื่อย้ายรากผมที่แข็งแรงมาปลูกแทรกบริเวณที่บาง ทำให้ผมดูหนาขึ้นได้ 

      ใครที่มีปัญหาผมร่วง ผมบาง ร่วมกับภาวะประจำเดือนมาไม่ปกติ แนะนำพบคุณหมอสูตินรีเวชเพื่ออัลตร้าซาวด์หาโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) และหากถูกวินิจฉัยเป็นโรคนี้ การรักษาผมบางจะต้องทำควบคู่กับการรักษาโรค PCOS ด้วย ไม่ควรซื้อยารับประทานเองเด็ดขาด เพราะนอกจากจะไม่ตรงกับโรคแล้ว ยังเป็นการปล่อยให้ตัวโรค PCOS ดำเนินต่อไป ทำให้เกิดผลกระทบกับหลายระบบในร่างกายอีกด้วย