• ไทย
  • English
  • 中文 (中国)
  • ພາສາລາວ
0
Your Cart
0
Your Cart
  • ไทย
  • English
  • 中文 (中国)
  • ພາສາລາວ

โรคดึงผม (Trichotillomania)

โรคดึงผม มีชื่อทางการแพทย์ว่า Trichotillomania เป็นภาวะภาวะทางจิตที่สัมพันธ์กับความเครียด ทำให้คนไข้ดึงผมออกจากหนังศีรษะ คิ้ว หรือส่วนอื่นๆ ของร่างกาย การดึงผมออกจากหนังศีรษะมักทำให้เกิดจุดหัวล้านเป็นหย่อมๆ โดยส่วนใหญ่คนไข้มักไม่ยอมรับว่าดึงผมตัวเอง ทำให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้ที่เป็นโรคดึงผม(Trichotillomania) ต้องใช้ความพยายามอย่างมากเพื่อปกปิดการผมที่ร่วงจากการดึง ทำให้เกิดความวิตกกังวลและอับอาย ไม่มั่นใจในการใช้ชีวิต 

ตำแหน่งที่พบการดึง มักดึงตรงกลางกระหม่อม ผมร่วงเป็นหย่อม รูปร่างไม่แน่นอน ผิดธรรมชาติ เช่น ขอบตรง, บริเวณที่ร่วงผมจะขึ้นสั้นยาว ไม่เท่ากัน มีผมขึ้นใหม่เส้นสั้นๆอยู่กลางวง พบรอยแกะเกา สะเก็ดที่หนังศีรษะ และหากดึงบ่อยๆไม่หยุด ผมบริเวณดังกล่าวจะร่วงถาวร (scarring alopecia)

โรคดึงผม

ปัจจัยเสี่ยง

โดยปัจจัยเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคดึงผม Trichotillomania

  1. ประวัติครอบครัว : พบว่าการถ่ายทอดทางพันธุกรรมมีผลต่อการเป็นโรคดึงผม โดยพบว่าหากมีคนในครอบครัวเคยเป็นโรคนี้จะมีโอกาสที่คนในครอบครัวจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้
  2. อายุ :  โรคดึงผมสามารถพบได้ทั้งวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ โดยส่วนใหญ่มักอยู่ในช่วงวัยเด็กอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป โดยในเด็กจะสัมพันธ์กับความเครียดและความกังวล ส่วนใหญ่หากมีการตอบสนองต่ออารมย์ที่ถูกต้องจะหายได้เอง ส่วนโรคดึงผมในผู้ใหญ่จะเป็นปัญหาทางจิตใจกลุ่ม compulsive habit ซึ่งพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ต้องได้รับการรักษา 
  3. ความเครียด : สถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่ตึงเครียดอย่างรุนแรง สามารถส่งผลให้เกิดโรคดึงผมได้ในบางคน
  4. ความผิดปกติอื่นๆ :  โรคดึงผมอาจมีความผิดปกติทางจิตอื่นๆร่วมด้วย เช่น ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล หรือโรคย้ำคิดย้ำทำ

อาการและการแสดงออกของโรคดึงผม

  1. การดึงผมออกซ้ำๆ โดยทั่วไปแล้วจะมาจากหนังศีรษะ คิ้ว หรือขนตา แต่บางครั้งอาจมาจากส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ซึ่งบริเวณที่ดึงอาจแตกต่างกันไปตามช่วงเวลา
  2. ความเครียดที่เกิดจากการอยากหยุดพฤติกรรมดึงผม แต่ไม่สามารถหยุดดึงได้ 
  3. ความรู้สึกโล่งหรือมีความสุขหลังจากดึงผมเสร็จแล้ว
  4. ผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน รวมถึงขนตาหรือคิ้วบางลงอย่างเห็นได้ชัด
  5. พยายามหยุดดึงผมซ้ำๆ แต่ไม่สำเร็จ
  6. การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของผู้หญิงที่เป็นโรคดึงผมในช่วงมีประจำเดือน อาจส่งผลให้มีอาการแย่ลงได้

หลายคนที่เป็นโรคดึงผม นอกจากการดึงผมแล้ว บางรายอาจแสดงออกทางพฤติกรรมโดยการแกะผิวหนัง กัดเล็บ หรือเคี้ยวริมฝีปากร่วมด้วย อีกทั้งการดึงขนจากสัตว์เลี้ยง ตุ๊กตา หรือจากวัสดุ เช่น เสื้อผ้าหรือผ้าห่ม ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติของการควบคุมตนเอง

สำหรับผู้ที่เป็นโรคดึงผม( Trichotillomania) สามารถแบ่งอาการได้ 2 แบบ ดังนี้

  1. การดึงผมแบบรู้ตัว : บางคนตั้งใจดึงผมเพื่อบรรเทาความตึงเครียดหรือความทุกข์ 
  2. การดึงผมแบบไม่รู้ตัว : บางคนดึงผมโดยไม่รู้ตัวว่ากำลังทำอยู่ เช่น ขณะที่อ่านหนังสือหรือดูทีวี

โรคดึงผมกับความสัมพันธ์ด้านอารมณ์ 

  • อารมณ์เชิงลบ

สำหรับคนไข้โรคดึงผมส่วนใหญ่ เป็นการดึงผมเพื่อจัดการกับความรู้สึกด้านลบ หรือความรู้สึกไม่สบายใจ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล ความเบื่อ ความเหงา ความเหนื่อยล้า หรือความคับข้องใจ

  • อารมณ์เชิงบวก 

การดึงผมออกมาเพื่อให้เกิดความรู้สึกดีและช่วยบรรเทาความเครียดได้ ส่งผลให้คนกลุ่มนี้ยังคงดึงผมต่อไป เพื่อรักษาความรู้สึกเชิงบวกเหล่านี้เอาไว้

ภาวะแทรกซ้อน

  1. ความทุกข์ทางอารมณ์ หลายคนทีเป็นโรคดึงผม จะมีความรู้สึกอับอายและขาดความมั่นใจ ซึมเศร้า วิตกกังวล 
  2. ปัญหาด้านสังคมและการทำงาน ความอับอายหรือการขาดความมั่นใจอันมีผลมาจากผมร่วง อาจทำให้คุณหลีกเลี่ยงกิจกรรมาทางสังคมและสูญเสียโอกาสในการทำงาน ผู้ที่เป็นโรคดึงผม มักสวมวิกผม สวมหมวกตลอดเวลา และจัดแต่งทรงผม เพื่อปกปิดศีรษะล้าน
  3. ความเสียหายของผิวหนังและเส้นผม การดึงผมอย่างต่อเนื่อง สามารถส่งผลให้เกิดรอยแผลเป็น และความเสียหายอื่นๆ รวมถึงการติดเชื่อที่ผิวหนัง บนหนังศีรษะของคุณ หรือบริเวณเฉพาะที่ดึงผม และอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเส้นผมอย่างถาวร 
  4. การกลืนผม คนไข้บางรายหลังจากดึงผมแล้วยังมีการกลืนเส้นผมตัวเองอีกด้วย เรียกว่า Trichophagia การกินผมสะสมเรื่อยๆจะทำให้เกิดก้อนผมขนาดใหญ่ (Trichobezoar) ในทางเดินอาหาร ส่งผลให้น้ำหนักลด อาเจียน ลำไส้อุดตัน และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์ 

หากใครที่มีปัญหาดึงผมโดยที่ไม่สามารถหยุดพฤติกรรมการดึงผมได้ หรือรู้สึกขาดความมั่นใจเกี่ยวกับรูปลักษณ์ หน้าตา ที่มีผลมาจากพฤติกรรมการดึงผม ควรปรึกษาจิตแพทย์เพื่อรับการรักษา เนื่องจากโรคดึงผม ไม่ได้เกิดขึ้นจากพฤติกรรมเพียงท่านั้น แต่ยังป็นโรคที่มีผลมาจากภาวะทางจิต ซึ่งอาการจะไม่ดีขึ้นหากไม่ได้เข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง

การรักษาผมร่วงผมบางจากการดึงผม

  • โดยทั่วไปหากหยุดพฤติกรรมดึงผมได้ ผมที่ถูกดึงก็จะกลับมางอกปกติ
  • แพทย์อาจพิจารณาการใช้ยากลุ่ม  Minoxidil เพื่อกระตุ้นให้รากผมงอกเร็วขึ้นและใช้วิตามินบำรุงผมที่มีแร่ธาตุที่ช่วยในการเจริญเติบโตของรากผมร่วมด้วยเพื่อบำรุงรากผมให้แข็งแรง 
  • เนื่องจากกการดึงผมซ้ำๆจะทำให้เกิดหนังศีรษะเป็นแผล ดังนั้นแชมพูที่แนะนำ ควรเลือกแชมพูสูตรอ่อนโยนที่ไม่สารก่อการระคายเคือง SLS/SLES/Paraben/Perfume 
  • กรณีที่ดึงผมซ้ำๆจนรากผมเสียหายถาวร เกิดเป็นแผลเป็น (scarring alopecia) จะไม่สามารถรักษาให้เส้นผมกลับมางอกได้ ต้องใช้การปลกผมถาวร
โรคดึงผมโรคดึงผม

*บทความลิขสิทธิ์ โดย บริษัทเกศากรุ๊ป ประเทศไทย จำกัด*

บทความแนะนำ : ปลูกผมคนในเครื่องแบบ       โรคดึงผม มีชื่อทางการแพทย์ว่า Trichotillomania เป็นภาวะภาวะทางจิตที่สัมพันธ์กับความเครียด ทำให้คนไข้ดึงผมออกจากหนังศีรษะ คิ้ว หรือส่วนอื่นๆ ของร่างกาย การดึงผมออกจากหนังศีรษะมักทำให้เกิดจุดหัวล้านเป็นหย่อมๆ โดยส่วนใหญ่คนไข้มักไม่ยอมรับว่าดึงผมตัวเอง ทำให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้ที่เป็นโรคดึงผม(Trichotillomania) ต้องใช้ความพยายามอย่างมากเพื่อปกปิดการผมที่ร่วงจากการดึง ทำให้เกิดความวิตกกังวลและอับอาย ไม่มั่นใจในการใช้ชีวิต 

ตำแหน่งที่พบการดึง มักดึงตรงกลางกระหม่อม ผมร่วงเป็นหย่อม รูปร่างไม่แน่นอน ผิดธรรมชาติ เช่น ขอบตรง, บริเวณที่ร่วงผมจะขึ้นสั้นยาว ไม่เท่ากัน มีผมขึ้นใหม่เส้นสั้นๆอยู่กลางวง พบรอยแกะเกา สะเก็ดที่หนังศีรษะ และหากดึงบ่อยๆไม่หยุด ผมบริเวณดังกล่าวจะร่วงถาวร (scarring alopecia)

โรคดึงผม

ปัจจัยเสี่ยง

โดยปัจจัยเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคดึงผม Trichotillomania

  1. ประวัติครอบครัว : พบว่าการถ่ายทอดทางพันธุกรรมมีผลต่อการเป็นโรคดึงผม โดยพบว่าหากมีคนในครอบครัวเคยเป็นโรคนี้จะมีโอกาสที่คนในครอบครัวจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้
  2. อายุ :  โรคดึงผมสามารถพบได้ทั้งวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ โดยส่วนใหญ่มักอยู่ในช่วงวัยเด็กอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป โดยในเด็กจะสัมพันธ์กับความเครียดและความกังวล ส่วนใหญ่หากมีการตอบสนองต่ออารมย์ที่ถูกต้องจะหายได้เอง ส่วนโรคดึงผมในผู้ใหญ่จะเป็นปัญหาทางจิตใจกลุ่ม compulsive habit ซึ่งพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ต้องได้รับการรักษา 
  3. ความเครียด : สถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่ตึงเครียดอย่างรุนแรง สามารถส่งผลให้เกิดโรคดึงผมได้ในบางคน
  4. ความผิดปกติอื่นๆ :  โรคดึงผมอาจมีความผิดปกติทางจิตอื่นๆร่วมด้วย เช่น ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล หรือโรคย้ำคิดย้ำทำ

อาการและการแสดงออกของโรคดึงผม

  1. การดึงผมออกซ้ำๆ โดยทั่วไปแล้วจะมาจากหนังศีรษะ คิ้ว หรือขนตา แต่บางครั้งอาจมาจากส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ซึ่งบริเวณที่ดึงอาจแตกต่างกันไปตามช่วงเวลา
  2. ความเครียดที่เกิดจากการอยากหยุดพฤติกรรมดึงผม แต่ไม่สามารถหยุดดึงได้ 
  3. ความรู้สึกโล่งหรือมีความสุขหลังจากดึงผมเสร็จแล้ว
  4. ผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน รวมถึงขนตาหรือคิ้วบางลงอย่างเห็นได้ชัด
  5. พยายามหยุดดึงผมซ้ำๆ แต่ไม่สำเร็จ
  6. การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของผู้หญิงที่เป็นโรคดึงผมในช่วงมีประจำเดือน อาจส่งผลให้มีอาการแย่ลงได้

หลายคนที่เป็นโรคดึงผม นอกจากการดึงผมแล้ว บางรายอาจแสดงออกทางพฤติกรรมโดยการแกะผิวหนัง กัดเล็บ หรือเคี้ยวริมฝีปากร่วมด้วย อีกทั้งการดึงขนจากสัตว์เลี้ยง ตุ๊กตา หรือจากวัสดุ เช่น เสื้อผ้าหรือผ้าห่ม ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติของการควบคุมตนเอง

สำหรับผู้ที่เป็นโรคดึงผม( Trichotillomania) สามารถแบ่งอาการได้ 2 แบบ ดังนี้

  1. การดึงผมแบบรู้ตัว : บางคนตั้งใจดึงผมเพื่อบรรเทาความตึงเครียดหรือความทุกข์ 
  2. การดึงผมแบบไม่รู้ตัว : บางคนดึงผมโดยไม่รู้ตัวว่ากำลังทำอยู่ เช่น ขณะที่อ่านหนังสือหรือดูทีวี

โรคดึงผมกับความสัมพันธ์ด้านอารมณ์ 

  • อารมณ์เชิงลบ

สำหรับคนไข้โรคดึงผมส่วนใหญ่ เป็นการดึงผมเพื่อจัดการกับความรู้สึกด้านลบ หรือความรู้สึกไม่สบายใจ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล ความเบื่อ ความเหงา ความเหนื่อยล้า หรือความคับข้องใจ

  • อารมณ์เชิงบวก 

การดึงผมออกมาเพื่อให้เกิดความรู้สึกดีและช่วยบรรเทาความเครียดได้ ส่งผลให้คนกลุ่มนี้ยังคงดึงผมต่อไป เพื่อรักษาความรู้สึกเชิงบวกเหล่านี้เอาไว้

ภาวะแทรกซ้อน

  1. ความทุกข์ทางอารมณ์ หลายคนทีเป็นโรคดึงผม จะมีความรู้สึกอับอายและขาดความมั่นใจ ซึมเศร้า วิตกกังวล 
  2. ปัญหาด้านสังคมและการทำงาน ความอับอายหรือการขาดความมั่นใจอันมีผลมาจากผมร่วง อาจทำให้คุณหลีกเลี่ยงกิจกรรมาทางสังคมและสูญเสียโอกาสในการทำงาน ผู้ที่เป็นโรคดึงผม มักสวมวิกผม สวมหมวกตลอดเวลา และจัดแต่งทรงผม เพื่อปกปิดศีรษะล้าน
  3. ความเสียหายของผิวหนังและเส้นผม การดึงผมอย่างต่อเนื่อง สามารถส่งผลให้เกิดรอยแผลเป็น และความเสียหายอื่นๆ รวมถึงการติดเชื่อที่ผิวหนัง บนหนังศีรษะของคุณ หรือบริเวณเฉพาะที่ดึงผม และอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเส้นผมอย่างถาวร 
  4. การกลืนผม คนไข้บางรายหลังจากดึงผมแล้วยังมีการกลืนเส้นผมตัวเองอีกด้วย เรียกว่า Trichophagia การกินผมสะสมเรื่อยๆจะทำให้เกิดก้อนผมขนาดใหญ่ (Trichobezoar) ในทางเดินอาหาร ส่งผลให้น้ำหนักลด อาเจียน ลำไส้อุดตัน และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์ 

หากใครที่มีปัญหาดึงผมโดยที่ไม่สามารถหยุดพฤติกรรมการดึงผมได้ หรือรู้สึกขาดความมั่นใจเกี่ยวกับรูปลักษณ์ หน้าตา ที่มีผลมาจากพฤติกรรมการดึงผม ควรปรึกษาจิตแพทย์เพื่อรับการรักษา เนื่องจากโรคดึงผม ไม่ได้เกิดขึ้นจากพฤติกรรมเพียงท่านั้น แต่ยังป็นโรคที่มีผลมาจากภาวะทางจิต ซึ่งอาการจะไม่ดีขึ้นหากไม่ได้เข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง

การรักษาผมร่วงผมบางจากการดึงผม

  • โดยทั่วไปหากหยุดพฤติกรรมดึงผมได้ ผมที่ถูกดึงก็จะกลับมางอกปกติ
  • แพทย์อาจพิจารณาการใช้ยากลุ่ม  Minoxidil เพื่อกระตุ้นให้รากผมงอกเร็วขึ้นและใช้วิตามินบำรุงผมที่มีแร่ธาตุที่ช่วยในการเจริญเติบโตของรากผมร่วมด้วยเพื่อบำรุงรากผมให้แข็งแรง 
  • เนื่องจากกการดึงผมซ้ำๆจะทำให้เกิดหนังศีรษะเป็นแผล ดังนั้นแชมพูที่แนะนำ ควรเลือกแชมพูสูตรอ่อนโยนที่ไม่สารก่อการระคายเคือง SLS/SLES/Paraben/Perfume 
  • กรณีที่ดึงผมซ้ำๆจนรากผมเสียหายถาวร เกิดเป็นแผลเป็น (scarring alopecia) จะไม่สามารถรักษาให้เส้นผมกลับมางอกได้ ต้องใช้การปลกผมถาวร
โรคดึงผมโรคดึงผม

*บทความลิขสิทธิ์ โดย บริษัทเกศากรุ๊ป ประเทศไทย จำกัด*

บทความแนะนำ : ปลูกผมคนในเครื่องแบบ