fbpx

คนสงสัยคำว่า “กราฟ” เป็นชื่อเรียกอะไร?!

กราฟ คือ อะไร

กราฟ ในที่นี้พูดถึง จำนวนกอผมที่ใช้ปลูกค่ะ ใน 1 กราฟ นั้น อาจจะมีเส้นผม 1, 2, 3, 4 หรือ 5 เส้นก็ได้ ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของแต่ละคนแตกต่างกันไป แต่โดยส่วนมาก มักพบแค่กอละ 2 เส้น และ 3 เส้นเป็นส่วนใหญ่

การปลูกผมแบบ Follicular unit extraction คือการย้ายรากผมทีละกอ ( กราฟ ) เพื่อนำมาปลูกยังบริเวณที่ต้องการ โดยเทคนิค NNN จะมีการตกแต่ง กราฟ ให้เป็นต้นเดี่ยวเพื่อทำให้ไรผมเป็นธรรมชาติสูงสุด เนื่องจากขนาด กราฟ มีการตกแต่งให้ขนาดเล็กลง จึงปลูกได้ความหนาแน่นสูงและแผลเล็ก ฟื้นตัวไว

*บทความลิขสิทธิ์ โดย บริษัทเกศากรุ๊ป ประเทศไทย จำกัด*

บทความแนะนำ : เกร็ดความรู้เกี่ยวกับเส้นผม

เซราไมด์คืออะไร

เซราไมด์คืออะไร

เซราไมด์

เซราไมด์ (Ceramide) เป็นสารจำพวกไขมันที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์ พบได้ที่ผิวหนังชั้นบนสุด(epidermis) ติดกับชั้นเคราติน ทำหน้าที่เกราะปกป้องผิวจากสิ่งแปลกปลอมภายนอก และช่วยให้ผิวอุ้มน้ำและคงความชุ่มชื้นของผิวให้เป็นปกติ

โดยธรรมชาติเมื่อมีอายุมากขึ้น เซราไมด์จะค่อยๆมีปริมาณลดน้อยลง จึงส่งผลให้สภาพผิวมีการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ส่งผลเซราไมด์ในผิวลดลง เช่น แสงแดด ความเครียด พันธุกรรม หากผิวเกิดการขาดเซราไมด์ จะส่งผลให้ผิวแห้งแตกง่าย เกิดริ้วรอยตีนกา รอยเหี่ยวย่นก่อนวัย อีกทั้งยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดจุดด่างดำ ฝ้า กระ บนผิวขึ้นอีกด้วย

หน้าที่สำคัญของเซราไมด์

-เป็นตัวเชื่อมให้เคราตินของผิวชั้นบนเรียงตัวกันอย่างมีระเบียบ
-ช่วยปกป้องให้ผิวแข็งแรง และป้องกันเชื้อโรคต่างๆเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนัง
-ช่วยลดการอักเสบของผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย ผื่นผิวหนังอักเสบ
-ลดการสูญเสียน้ำของผิว ช่วยให้ผิวสามารถเก็บกักความชุ่มชื้นได้ดี ทำให้ผิวชุ่มชื้นเปล่งปลั่ง

*บทความลิขสิทธิ์ โดย บริษัทเกศากรุ๊ป ประเทศไทย จำกัด*

ผมร่วงเยอะมากทำไงดี???

หมอเชื่อว่า ทุกคนต้องมีปัญหาผมร่วง โดยเฉพาะผู้หญิง เดินไปที่ไหน ทุกซอกทุกมุมของห้องก็เต็มไปด้วยเส้นผม
ร่วงหนักจนท่อระบายน้ำตัน ร่วงหนักจนเก็บไปฝัน ร่วงหนักจนนึกว่าเป็นมะเร็ง!!!

ก่อนอื่นต้องแยกก่อนว่า ผมร่วงแบบไหนถือว่าผิดปกติ
•ผมร่วงปกติ : ปกติผมคนเราต้องร่วงทุกวัน เพราะบนหัวเรามีผมระยะหลุดร่วงอยู่ประมาณ 10 % ดังนั้นใน 1วัน หากร่วงไม่เกินวันละ 50-100 เส้น ถือว่าปกตินะคะ ส่วนวันที่สระผมอาจร่วงได้ถึง 2 เท่าเลยค่ะ
•ผมร่วงผิดปกติ : คือผมร่วงที่มากเกิน 100 เส้นในวันที่ไม่สระผม และเกิน200 เส้นในวันที่สระผม

สาเหตุผมร่วงที่พบได้บ่อย
•ผมร่วง ผมบางจากกรรมพันธุ์
พบได้ในคนที่มีกรรมพันธุ์ผมบาง เกิดได้ทั้งชายและหญิง โดยผมจะค่อยๆร่วงร่วมกับเกิดภาวะผมบางศีรษะล้านตามรูปแบบกรรมพันธุ์ เพศชายจะล้านบริเวณง่ามผมและบริเวณกลางหนังศีรษะ เพศหญิงจะบางบริเวณแสก รอยแสกจะกว้างขึ้นเรื่อยๆ หากไม่รักษาจะเกิดศีรษะล้าน

•ผมร่วงจากการแพ้แชมพู แพ้สารเคมี
จะสังเกตได้ว่า ผมจะร่วงร่วมกับมีอาการคัน รังแค ตุ่มสิว หรือหนังศีรษะลอกร่วมด้วย เมื่อหยุดใช้ผลิตภัณฑ์ที่แพ้ อาการจะดีขึ้นเอง

•ผมร่วงจากโรคประจำตัว
โรคทางกายบางอย่างสามารถส่งผลให้เกิดผมร่วงร่วมได้ เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ โรคโลหิตจาง ภาวะขาดธาตุเหล็ก โรคซิฟิลิส โรคแพ้ภูมิตัวเอง แนะนำพบแพทย์เพื่อซักประวัติและเจาะเลือดหาสาเหตุในรายที่มีอาการเข้าได้กับแต่ละโรค

•ผมร่วงจากยา
ยกตัวอย่างยาที่ทำให้ผมร่วงได้บ่อยคือ ยารักษาสิว ยารักษาโรคทางจิตเวช ยารักษาโรคลมชักเป็นต้น

•ผมร่วงจากการลดน้ำหนัก/รับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่
การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว หรือการรับประทานอาหารมังสวิรัติ อาหารคีโต เป็นสาเหตุทำให้ผมร่วงได้ เนื่องจากร่างกายขาดสารอาหารบางประเภท ทำให้วงจรของผมร่วงผิดปกติ

•ผมร่วงหลังคลอด ผมร่วงจากการเจ็บป่วย ผมร่วงจากความเครียด
เรียกภาวะนี้ว่า Telogen effluvium เกิดจากภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของร่างกายอย่างรุนแรง เช่น การคลอดบุตรการเสียเลือดปริมาณมาก ไข้เลือดออก ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง ภาวะเครียดรุนแรง ส่งผลให้วงจรผมที่เป็นระยะเติบโตกลายเป็นระยะหลุดร่วง พอผ่านไป 3 เดือน ผมระยะหลุดร่วงจะหมดอายุขัยแล้วหลุดร่วงออกจากหนังศีรษะนั่นเอง ซึ่งจะร่วงได้ถึงวันละ 150-700 เส้น ดังนั้นหากใครผมร่วงหนักมาก แล้วย้อนไป 3 เดือนที่แล้วมีการเจ็บป่วยเกิดขึ้น ก็จะเป็นภาวะนี้นั่นเองค่ะ

จริงๆแล้วสาเหตุผมร่วงมีอีกหลายอย่างเลยค่ะ หากใครมีปัญหาผมร่วงผิดปกติ หมอแนะนำปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุนะคะ จะได้แก้ไขให้ตรงจุดและไม่ต้องลองผิดลองถูกค่ะ

*ลิขสิทธิ์บทความ โดยคลินิกเวชกรรมเกศา

 

**กดแชร์บทความด้านล่าง เพื่อบอกต่อสิ่งดี ๆ**

แสงเลเซอร์สีแดง LLLT ช่วยให้ผมขึ้นได้อย่างไร

เครื่องเลเซอร์จะปล่อยลำแสงพลังงานต่ำ(low level laser therapy ) ความยาวคลื่นแสง 650 nm ซึ่งเป็นคลื่นที่จำเพาะต่อเซลล์รากผม จากงานวิจัยสามารถกระตุ้นรากผมที่อ่อนแอให้กลับมาแข็งแรง โดยการกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือดบริเวณรากผม ทำให้มีการพา oxygen , nutrient ,vitamin ไปยังรากผมได้ดีขึ้น ส่งผลให้ชะลอการหลุดร่วงและกระตุ้นการงอกใหม่ของเส้นผมได้ ที่สำคัญคือเป็นวิธีที่ไม่เจ็บสามารถใช้ควบคู่กับการรักษามาตรฐานได้ มีทั้งรูปแบบเครื่องขนาดใหญ่,หวี และหมวกเลเซอร์ที่สามารถทำเองได้ที่บ้าน

 

ใครบ้างที่ใช้ได้ผล
-ผมบางจากกรรมพันธุ์ ทั้งเพศชายและหญิง
-ผมร่วงเป็นหย่อม
-ผมเสียที่เกิดจากการย้อมดัดโกรก จนผมแห้งเสีย
-ผมร่วงหลังคลอด
-ผมบางทั้งศีรษะ Telogen effluvium
-คนไข้ที่ปลูกผม หมวกเลเซอร์จะลดภาวะshock loss ช่วยให้กราฟที่ปลูกแข็งแรง และกระตุ้นการงอกของเส้นผมได้


วิธีการใช้
-แนะนำใช้สัปดาห์ละ 3 ครั้ง หากใช้มากกว่านี้ ตามงานวิจัยไม่พบความแตกต่างของผลลัพธ์ และอาจทำให้เกิดหนังศีรษะแห้งได้ จะเริ่มเห็นความแตกต่างเมื่อใช้ติดต่อกันเกิน 4 เดือนเป็นต้นไป
-หลีกเลี่ยงการใช้หลังทาminoxidil เนื่องจากแสงเลเซอร์จะไปทำลายฤทธิ์ของยา

**ลิขสิทธิ์บทความ โดยคลินิกเวชกรรมเกศา**

รู้หรือไม่ สารสกัดปาล์มใบเลื่อย รักษาภาวะผมบางศีรษะล้านจากกรรมพันธุ์ได้

Saw palmetto คือสารสกัดจากผลของต้นปาล์มใบเลื่อย พบว่ามีฤทธิ์ต้านฮอร์โมนเพศชาย DHT (Dihydrotestosterone) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดภาวะผมบางจากรรมพันธุ์

นอกจากนั้นยังมีสรรพคุณลดการอักเสบ(anti-inflammation)และลดการทำงานของฮอร์โมน estrogenอีกด้วย
ด้วยผลข้างเคียงที่ค่อนข้างน้อย ไม่ค่อยพบการรายงานเรื่องการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และไม่มีผลต่อปริมาณและคุณภาพของสเปิร์ม จึงทำให้ saw palmetto ถูกนำมาใช้เป็นยาทางเลือกในการรักษาภาวะผมบางศีรษะล้านจากกรรมพันธุ์นั่นเอง แต่ต้องบอกก่อนว่าประสิทธิภาพในการลดฮอร์โมน DHT นั้นยังด้อยกว่ายา Finasteride ที่เป็นยาหลักในการรักษาโรคนี้หลายเท่าตัว

ใครบ้างที่เหมาะกับSaw palmetto
คนไข้ที่รับประทาน Finasteride แล้วมีผลข้างเคียง
ผมบางศีรษะล้านระยะเริ่มต้น
ผมบางเด่นบริเวณขวัญระยะเริ่มต้น
วิธีการสกัดปาล์มใบเลื่อยมี 2 วิธีคือ
สกัดด้วยวิธีมาตรฐาน(standard extract)
สกัดในรูปแบบน้ำมัน(lipophilic extract)

ส่วนใหญ่ในท้องตลาดจะเป็นรูปแบบ standard extract ราคาค่อนข้างถูก แต่ต้องกินวันละหลายเม็ด จากงานวิจัยพบว่าการสกัดแบบ lipophilic extract สามารถลดการออกฤทธิ์ของฮอร์โมน DHT ได้ดีกว่ารูปแบบ standard extract และทานเพียงวันละ1 เม็ดเท่านั้น
ทางคลินิกเวชกรรมเกศา มีสารสกัดsaw palmetto รูปแบบ lipophilic extract จำหน่าย หากคนไข้สนใจ แนะนำเข้ามาพบแพทย์เพื่อปรึกษารับยาค่ะ

*ลิขสิทธิ์บทความ โดยคลินิกเวชกรรมเกศา

ผมร่วงไม่หายซักที อาจเกิดจากภาวะพร่องธาตุเหล็ก!!

คนไข้หลายคนมีปัญหาผมร่วง ซื้อแชมพูหรือผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาว่าช่วยลดผมร่วงมาใช้ หมดเงินหลายพันบาท ก็ยังไม่หายสักที เหตุผลเพราะสาเหตุของผมร่วงนั้นมีหลายอย่าง การใช้แชมพูอย่างเดียวไม่สามารถแก้ไขได้ทุกสาเหตุนั่นเองค่ะ

ปกติแล้วสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม จะประกอบไปด้วย โปรตีน, ไบโอติน, ซิงค์, ซีลีเนียม, ซิลิกา, วิตามิน A&C&D และธาตุเหล็ก ซึ่งจากงานวิจัยพบว่า การที่ร่างกายมีการสะสมของธาตุเหล็ก Ferritin ต่ำกว่า 70 ng/ml แม้จะไม่มีภาวะโลหิตจาง ก็ส่งผลต่อการร่วงของเส้นผมได้ ทำให้บางคนรักษาผมร่วงยังไงก็ไม่หาย เพราะไม่เคยตรวจหาสาเหตุว่าร่างกายขาดธาตุเหล็กหรือไม่ หากตรวจพบว่าร่างกายมีการสะสมธาตุเหล็กต่ำกว่าเกณฑ์ คุณหมอก็จะให้รับประทานธาตุเหล็กเสริมควบคู่กับการรักษาภาวะผมร่วงค่ะ

นอกจากภาวะขาดธาตุเหล็ก ยังมีโรคอื่นๆที่ส่งผลให้เกิดภาวะผมร่วง ผมบางได้ เช่น โรคโลหิตจาง, โรคไทรอยด์เป็นพิษ, โรคซิฟิลิส,โรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง(Autoimmune disease) ซึ่งต้องอาศัยการเจาะเลือดและตรวจร่างกายจากแพทย์
คลินิกของเรามีบริการตรวจเลือดหาสาเหตุผมร่วง(Hair loss screening test) ทราบผลภายใน 1 สัปดาห์

****ถ้าใครมีปัญหาผมร่วงเยอะผิดปกติ อยากให้เข้ามาพบคุณหมอเพื่อตรวจหาสาเหตุกันนะคะ****

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับเส้นผม

-คนปกติมีเส้นผมบนหนังศีรษะ 90,000-140,000 เส้น (เฉลี่ยประมาณ 100,000 เส้น)
-ผู้ใหญ่ผมยาวได้วันละประมาณ 0.35 มิลลิเมตร ดังนั้น 1 เดือนจะยาวประมาณ 1 เซนติเมตร
-เด็กผมยาวเร็วกว่าผู้ใหญ่ โดยจะยาววันละ 0.41 มิลลิเมตร และผู้หญิงผมยาวเร็วกว่าผู้ชาย 0.02 มิลลิเมตร/วัน
-ในคนปกติผมร่วงได้ไม่เกิน 100 เส้น แต่ถ้าวันไหนสระผม อาจร่วงเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า คือไม่เกิน 200 เส้น/วัน
-1 รากผมจะมีเส้นผมได้ตั้งแต่ 1-4 เส้น

ระยะการเจริญเติบโตของเส้นผม
•ระยะ Anagen hair เส้นผม 90% บนหนังศีรษะจะอยู่ในระยะนี้ โดยจะมีอายุขัย 2-3ปี
•ระยะ Catagen&Telogen จะเป็นระยะที่หยุดเจริญเติบโต มีอายุขัย ประมาณ 3 เดือนแล้วหลุดร่วงไป
•ระยะหลังจากผมหลุดร่วง ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3-6 เดือนกว่าจะมีผมงอกใหม่ให้เห็นด้วยตาเปล่า
ดังนั้นการรักษาภาวะผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน หรือแม้กระทั่งการปลูกผม จึงต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3-6 เดือนจึงจะเห็นการเปลี่ยนแปลงนั่นเอง

*บทความลิขสิทธิ์ โดย บริษัทเกศากรุ๊ป ประเทศไทย จำกัด*

ผมร่วง จาก โรคเซ็บเดิร์ม Seborrheic dermatitis

ต่อมไขมันอักเสบ (Seborrheic Dermatitis) หรือเรียกว่า โรคเซ็บเดิร์ม เป็นปัญหาผิวเรื้อรัง เป็นๆหายๆ เกิดจากการอักเสบบริเวณต่อมไขมัน โดยมากกว่า 50% ในผู้ใหญ่มักพบปัญหารังแค ขุยแห้งสีเหลืองบริเวณหนังศีรษะ นอกจากนั้นอาการเป็นขุยสีเหลืองยังพบได้ในบริเวณอื่น โดยเฉพาะบริเวณที่มีต่อมไขมันเป็นจำนวนมาก เช่น ใบหน้า คิ้ว รอบดวงตา หู จมูก แก้ม เจอในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และมีรายงานว่ามีความสัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคภุมิคุ้มกันบกพร่องHIV, โรคพาร์กินสันและโรคทางระบบประสาทอื่นๆ

ปัจจัยกระตุ้นให้โรคเซ็บเดิร์มกำเริบ

  • การเพิ่มจำนวนของยีสต์บนผิวหนังชื่อ Malassezia
  • ระดับฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะฮอร์โมนเพศชาย
  • การตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกันที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล 
  • การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เช่น เย็นจัดหรือร้อนจัด (มักกำเริบตอนอากาศเย็น และ แห้ง)
  • การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ ความเครียด นอนพักผ่อนไม่พอ
  • อาหารบางชนิดและแอลกอฮอล์

อาการของโรคเซ็บเดิร์ม

  • หนังศีรษะแห้ง เป็นขุยสีเหลือง มีสะเก็ดลอกหลุดคล้ายรังแค
  • มีอาการคันหนังศีรษะร่วมกับผมร่วงผิดปกติ แต่ไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้ผมบางลง
  • ผิวหนังอักเสบ เป็นผื่นแดงขอบเขตไม่ชัดบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก

หนังศีรษะพบลักษณะ ผิวแห้งเป็นขุยสีเหลือง มีสะเก็ดลอกหลุดคล้ายรังแค

การรักษา

  • หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้ตัวโรคกำเริบ
  • ใช้แชมพูสูตรอ่อนโยน ปราศจาก น้ำหอมและสารก่อการระคายเคือง เนื่องจากผู้ที่เป็นโรคเซ็บเดิร์มมักจะมีปัญหาหนังศีรษะแพ้ง่ายและไวต่อสิ่งกระตุ้นในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น น้ำหอม สารกันเสีย
  • ใช้แชมพูที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา เช่น 2% ketoconazole shampoo, Tar shampoo, 1% zinc pyrythione, 2.5% selenium sulfide โดยใช้แชมพูยาปริมาณ 5-10 ซีซี สระผมและหมักทิ้งไว้ 5 นาทีก่อนล้างออก โดยช่วงที่ตัวโรคกำเริบ แนะนำสระผมด้วยแชมพูยา วันเว้นวัน

“โรคเซ็บเดิร์มไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เมื่อตัวโรคสงบแล้ว แนะนำให้คนไข้ใช้แชมพูที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราและลดการอักเสบอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้งสลับกับแชมพูสูตรอ่อนโยนไปตลอดเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ”

  • กรณีมีอาการรุนแรง สะเก็ดหนามาก แพทย์จะแนะนำให้ใช้ยาทากลุ่มเสเตียรอยด์ร่วมด้วย เพื่อลดอการการอักเสบของหนังศีรษะ
แชมพู ลด ผม ร่วง

*บทความลิขสิทธิ์ โดย บริษัทเกศากรุ๊ป ประเทศไทย จำกัด*

การต่อผม เพิ่มความเสี่ยงผมบาง ศีรษะล้านได้นะรู้ยัง

หลายคนที่เคยมีประสบการณ์การต่อผม มักจะเจอปัญหาผมร่วงผิดปกติ ในบางคนที่ต่อผมเป็นระยะเวลานาน อาจเจอปัญหาผมบางลงได้ค่ะ ซึ่งภาวะนี้เรียกว่า ผมร่วงจากการดึงรั้ง(Traction alopecia) เกิดจากการดึงรั้งของผมเป็นเวลานานๆ ทำให้รากผมบริเวณนั้นอ่อนแอและร่วง หากปล่อยไว้นานๆไม่ได้รับการแก้ไข อาจเกิดเป็นแผลเป็นกระจายเป็นหย่อมๆตามจุดที่เกิดการดึงรั้งได้ นอกจากการต่อผมแล้ว ยังพบได้บ่อยในคนที่ชอบรวบผมตึง/ถักเปียแบบตึงตลอดเวลา และคนที่ใส่วิกผมโดยใช้วิธีติดกิ๊บไว้

การป้องกัน
– หลีกเลี่ยงการดึงรั้งผมเป็นระยะเวลานานๆและทำซ้ำๆโดยไม่มีการเว้นระยะให้ผมได้พัก

การรักษา
-กรณีมีภาวะผมร่วงจนเกิดรอยแผลเป็น แนะนำปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาปลูกผม

*ลิขสิทธิ์บทความ โดยคลินิกเวชกรรมเกศา

ภาวะผมขาวชั่วคราวหลังปลูกผม

เกิดจากกระบวนการปลูกผม ทำให้เกิดการรบกวนเซลล์เมลานินที่มีหน้าที่สร้างเม็ดสีของเส้นผม ทำให้เซลเมลานินหยุดทำงานชั่วขณะ ทำให้ผมเปลี่ยนเป็นสีขาว ซึ่งภาวะนี้เกิดเพียงชั่วคราว หลังจากนั้นเซลล์เมลานินจะกลับมาทำงานปกติ ผมที่งอกออกมาจะกลับมาเป็นสีดำเช่นเดิม ทำให้สังเกตเห็นเส้นผมมีสีขาวแค่ช่วงสั้นๆ
ภาวะนี้สามารถเกิดได้ทั้งบริเวณผมที่ย้ายมาปลูก ผมที่โดนปลูกแทรก และบริเวณผมด้านหลังที่อยู่ข้างเคียงผมที่ถูกย้ายออกไป โดยภาวะนี้ถือว่าเป็นภาวะปกติที่สามารถพบได้หลังปลูกผม ไม่ได้เกิดกับคนไข้ทุกรายและจะเกิดเพียงชั่วคราวเท่านั้น

อาการ Shock Loss หลังปลูกผม

หลังปลูกผมคนไข้ทุกคนจะต้องเจอกับภาวะผลัดผมหลังปลูกที่เรียกว่า “shock loss stage”

Shock loss เกิดจากเซลล์รากผมถูกรบกวน ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงจากผมระยะเติบโต (Anagen phase) เปลี่ยนไปเป็นผมระยะหลุดร่วง (Telogen phase) พร้อมๆกัน ซึ่งภาวะนี้จะเกิดหลังจากปลูกผมไปแล้วตั้งแต่ 2 สัปดาห์เป็นต้นไปและสิ้นสุดประมาณเดือนที่ 3 ของการปลูกผม

Shock loss เกิดได้ทั้ง2 บริเวณดังนี้
“Recipient site” รากผมที่ถูกย้ายมาปลูกบริเวณใหม่ หลังจากเซลล์รากผมฝังตัวแล้วจะเกิดภาวะ shock loss รวมไปถึงบริเวณที่มีรากผมอยู่เดิมแต่โดนปลูกแทรกเข้าไปก็เกิด shock loss ได้เช่นกัน ภาวะนี้เกิดได้กับคนไข้เกือบทุกราย

“Donor site” รากผมด้านหลังที่อยู่ข้างๆรากผมที่ถูกถอนออกไป เกิดภาวะshock loss ทำให้ผมด้านหลังร่วงเป็นหย่อมใหญ่ๆ ซึ่งภาวะนี้เกิดขึ้นได้ไม่บ่อย แต่ถือเป็นภาวะปกติ เกิดแค่ชั่วคราวและเกิดในบางรายเท่านั้น

ช่วง shock loss กินเวลาประมาณ 3 เดือน ทำให้ช่วงนี้คนไข้จะกังวลเป็นอย่างมาก กลัวว่าผมที่ปลูกไปจะไม่ขึ้น ซึ่งไม่ต้องกังวลไปนะคะ รากผมที่ผลัดออกไปจะทยอยขึ้นใหม่เรื่อยๆ โดยจะเกิดเป็นฝอยเล็กๆก่อนในช่วงแรกและจะค่อยๆเส้นหนาขึ้น จนเห็นผลลัพธ์เต็มที่ที่ 1 ปีหลังปลูกค่ะ

**ลิขสิทธิ์บทความ โดยคลินิกเวชกรรมเกศา**

รู้หรือไม่ ราคาปลูกผม ขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง?

ทำไมปลูกผมถึงราคาแพง!!

การปลูกผมถือเป็นศิลปะงานฝีมือทางการแพทย์อย่างนึง ต้องอาศัยประสบการณ์ของแพทย์ ไม่ว่าจะป็นรายละเอียดเรื่องการวาง Hairline การกำหนดทิศทางของรากผมที่ต้องอิงหลักธรรมชาติให้มากที่สุด และที่สำคัญคือเทคนิคการย้ายรากผมเพื่อนำมาปลูกยังบริเวณใหม่ ให้อัตราการรอดสูงสุด สิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยความชำนาญและการสะสมประสบการณ์ทั้งสิ้น

การปลูกผมนั้นต่างจากศัลยกรรมอย่างอื่น ที่ใช้เวลาสั้นเพียง1-2ชั่วโมง แต่ปลูกผมต้องอาศัยผู้ช่วยหลายคนประมาณ 4-6 คน และใช้เวลาทำนานราวๆ 6-10 ชั่วโมงขึ้นกับความยากง่ายของเคส อุปกรณ์ในการย้ายรากผม, อุปกรณ์ที่ใช้ปลูก, เทคนิคในการจับรากผม, น้ำยาแช่กราฟ, หรือแม้กระทั่งการเก็บรักษากราฟในอุณหภูมิที่คงที่ตลอดเวลา ก็ล้วนมีผลต่อการขึ้นของกราฟทั้งสิ้น เป็นสาเหตุที่ว่าแต่ละคลินิกปลูกผมเหมือนกันแต่ผลลัพธ์ที่ออกมากลับไม่เหมือนกันนั่นเอง

การปลูกผมทำได้เพียงไม่กี่ครั้งในชีวิต ในบางรายผมด้านหลังเหลือน้อยก็อาจทำได้แค่ 1 ครั้งเท่านั้น เพราะทรัพยากรของผมด้านหลังนั้นมีจำกัด ผมด้านหลังที่ย้ายมาอยู่ข้างหน้าจะไม่งอกอีกแล้ว แปลว่าถ้าย้ายมาแล้วกราฟไม่รอด เราจะสูญเสียรากผมนั้นไปตลอด

ดังนั้นการจะปลูกผมคนไข้จึงต้องตัดสินใจให้ดี เลือกสไตล์การออกแบบแนวผมของคลินิกที่คนไข้ชอบ เพราะแนวผมนี้จะอยู่กับคนไข้ไปตลอดชีวิต และที่สำคัญการปลูกผมไม่ใช่การจบปัญหาผมบางศีรษะล้านจากกรรรมพันธุ์ ปลูกผมเป็นเพียงการแก้ปัญหาบริเวณที่ล้านแล้วเท่านั้น คนไข้จึงยังต้องรักษาผมที่เหลืออยู่ไปเรื่อยๆ ดังนั้นควรเลือกคลินิกที่สามารถดูแลปัญหาเส้นผมของคนไข้ได้ในระยะยาวด้วย

**ลิขสิทธิ์บทความ โดยคลินิกเวชกรรมเกศา**

การตกแต่งกราฟ

การตกแต่งกราฟ เป็นอีก 1 ขั้นตอนสำคัญในกระบวนการปลูกผมด้วยเทคนิค TRIPLE N กราฟทุกตัวที่ได้มาจากด้านหลังจะถูกนำมาตัดแต่งเนื้อเยื่อส่วนเกินออก (Graft trimming) ทำให้กราฟตัวเล็กพอดี ส่งผลให้ขนาดแผลด้านหน้ามีขนาดเล็กและบอบช้ำน้อย และการที่กราฟมีขนาดเล็กพอเหมาะจะทำให้สามารถปลูกชิดกันได้มากขึ้นอีกด้วย

อีกเหตุผลสำคัญที่เราตกแต่งกราฟคือ เพื่อแยกกราฟต้นเดี่ยวออกมา (Graft splitting) ให้ได้จำนวน 1hair ตามที่ต้องการแล้วนำไปปลูกบริเวณไรผมด้านหน้า เพื่อเลียนแบบไรผมให้ดูธรรมชาติมากที่สุด ไม่เช่นนั้นการที่นำกราฟด้านหลังที่เป็นกอใหญ่ เช่น 2-4 hair มาปลูกบริเวณด้านหน้าเลย จะทำให้เกิดลักษณะกระจุกผมคล้ายวิก (Hair plug)

และประโยชน์อีกข้อของการตกแต่งกราฟคือ ในกรณีคนไข้ที่มีผมด้านหลังไม่เพียงพอกับพื้นที่ปลูก การแยกกราฟจะช่วยเพิ่มจำนวนกราฟให้เพียงพอกับบริเวณที่ต้องการได้

**ลิขสิทธิ์บทความ โดยคลินิกเวชกรรมเกศา**

คนไข้มักตกใจกับรอยแผลแยกหลังปลูกผม !!

คนไข้มักตกใจกับรอยแผลแยกหลังปลูกผม !!

ซึ่งจะเกิดหลังกระบวนการปลูกผม ในช่วง 3วันแรก บริเวณที่ทำการปลูกจะมีน้ำเหลืองและเลือดที่ซึมออกมาจากรูแผล และเกาะกันเป็นแผ่น เมื่อผ่านไปประมาณ1สัปดาห์ แผลจะแห้งเต็มที่และยุบบวมสนิท แผ่นน้ำเหลืองจะเกิดการหดตัว ทำให้เกิดรอยแยกเป็นร่อง

คนไข้จะกังวลว่าบริเวณที่เป็นรอยแยกคือบริเวณที่รากผมไม่ติด ซึ่งไม่ต้องกังวลนะคะ รากผมยังอยู่ครบ เพียงแต่น้ำเหลืองที่แห้งทำให้ดึงรากผมมาเกาะรวมกัน หลังจากถอดเอาสะเก็ดออกแล้วร่องนี้จะหายไปเองค่ะ

**ลิขสิทธิ์บทความ โดยคลินิกเวชกรรมเกศา**

Hairline สัดส่วนที่เหมาะสม

Hairline สัดส่วนที่เหมาะสม

เวลาคนไข้มาปรึกษาปลูกผม บางรายมักจะต้องการให้แพทย์ปลูกผมให้แนวผมต่ำที่สุด เพราะคิดว่าไหนๆก็ปลูกแล้ว เอาแนวผมให้ต่ำๆไว้ก่อน เผื่ออนาคตเถิกไปอีก จะได้ทำทีเดียวให้คุ้มไปเลย

ซึ่งจริงแล้วเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะเวลาแพทย์กำหนดตำแหน่ง Hair Lline นั้น จะมีหลักการในการออกแบบอยู่ 3 ข้อ

1. แนวผมเดิมก่อนจะเริ่มเถิกเป็นแบบไหน
คุณหมอแนะนำว่า ควรจะปลูกใกล้เคียงของเดิมมากที่สุด เพื่อให้ใบหน้าไม่เปลี่ยนมากจนเกินไป

2. อัตราส่วนใบหน้า
คุณหมอจะวัดอัตราส่วนใบหน้าก่อน ซึ่งปกติในคนที่หน้าได้สัดส่วน จะมีอัตราส่วน แนวผมมายังหว่างคิ้ว, หว่างคิ้วมายังปลายจมูก, ปลายจมูกมายังคาง คือ 1/3,1/3,1/3 ซึ่งกรณีที่กำหนดแนวผมให้มีความต่ำมากๆ จะทำให้ใบหน้าไม่ได้สัดส่วนนั่นเอง

3. รอยตีนกา
ตามธรรมชาติแล้วแนวผมจะต้องไม่อยู่ชิดรอยตีนกา หากปลูกผมให้ต่ำเกินไปแล้วชิดรอยตีนกา จะทำให้เวลาขยับคิ้วย่นหน้าผาก แนวผมก็จะขยับไปมาด้วย ซึ่งจะดูแปลกมากๆ

ประโยชน์ของ ” Ketoconazole Shampoo “

ประโยชน์ของ ” Ketoconazole Shampoo “

ประโยชน์ของ ” Ketoconazole Shampoo “

1. รักษาโรคเชื้อราบริเวณหนังศีรษะ
2. รักษาภาวะหนังศีรษะอักเสบเซบเดิร์ม
3. รักษาและป้องกันการเกิดรังแค
4. ลดอาการหนังศีรษะมัน
5. ช่วยลดผมบางศีรษะล้านจากกรรมพันธุ์

มีงานวิจัยพบว่า 2% Ketoconazole Shampoo ช่วยลดการอักเสบบริเวณหนังศีรษะ และลดการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนเพศชายบริเวณรากผม ทำให้ลดผมร่วง และรากผมแข็งแรงขึ้น เป็นวิธีการรักษาเสริมร่วมกับการรับประทานยาและทายาตามวิธีมาตรฐาน

โดยวิธีการคือ สระฟอกบริเวณหนังศีรษะทิ้งไว้ 3-5 นาทีให้ยาออกฤทธิ์และล้างออก ใช้ 2-4 ครั้ง/สัปดาห์

https://www.facebook.com/kesahair

Food For Healthy Hair 7 อาหารหยุดอาการผมร่วง

Food For Healthy Hair 7 อาหารหยุดอาการผมร่วง

1. ปลาแซลมอน
โปรตีนเป็นสารอาหารที่จะช่วยเสริมสร้างเคราติน ซึ่งเป็นโครงสร้างสำคัญของเส้นผม และแหล่งโปรตีนที่มีคุณค่ามากๆก็คือเนื้อปลาแซลมอนนั่นเอง และยังมีกรดโอเมก้า3 และวิตามินอื่นๆ ซึ่งจะช่วยบำรุงเส้นผมแข็งแรงและมีสุขภาพดี

2. หอยนางรม
ธาตุซิงค์ (Zinc) หรือธาตุสังกะสี เป็นแร่ธาตุที่มีประโยนช์มากในการช่วยรักษาผมร่วง ซึ่งในหอยนางรมจะมีแร่ธาตุสังกะสีมากกว่าอาหารประเภทอื่นๆ แต่แหล่งอาหารอื่นๆก็มีแร่ธาตุสังกะสีมากเช่นกัน ได้แก่ วอลนัท ผักโขม ไข่ เมล็ดทานตะวัน และข้าวโอ๊ต

3. สาหร่ายทะเล
จากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่า สาหร่ายทะเลช่วยลดปัญหาผมร่วงให้กับผู้ที่มีผมร่วงเล็กน้อยไปจนถึงผมร่วงระดับกลางได้ โดยหลังทานสาหร่ายทะเลติดต่อกัน 16สัปดาห์ พบว่าเส้นผมมีน้ำหนักขึ้น 13% และผมหนาขึ้น 27% สาหร่ายทะเลยังช่วยให้อาการหนังศีรษะลอก อักเสบ และรังแคลดน้อยลงอีกด้วย

4. ถั่วและเมล็ดธัญพืช
การรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของ กรดโอเมก้า3 และโอเมก้า6 และสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ติดต่อกัน 6เดือน จะช่วยให้อาการของผมร่วงดีขึ้น ซึ่งหนึ่งในอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้าในปริมาณสูงก็คือถั่วและเมล็ดธัญพืชต่างๆนั่นเอง

5. น้ำมันมะพร้าว
หลายคนอาจทราบดีอยู่แล้วว่า.. น้ำมันมะพร้าวช่วยบำรุงเส้นผม และลดอาารหลุดร่วงของเส้นผมได้ ซึ่งนอกจากนำมาหมักผมแล้ว ยังสามารถรับประทานวันละ 3-4ช้อนชา หรือจะนำไปผสมเป็นเครื่องดื่มต่างๆ หรือน้ำผลไม้ก็ได้เช่นกัน

6. ผักโขม
หลายคนผมร่วงส่วนใหญ่เพราะขาดธาตุเหล็ก และวิตามินดี ซึ่งในผักโขมจะอุดมไปด้วยธาตุเหล็กและวิตามินซีสูง ช่วยให้ร่วงกายของเราสามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้ดี

7. น้ำผึ้ง
คนไข้ที่มีปัญหาหนังศีรษะ เช่น รังแค คันหนังศีรษะ และผมร่วง สามารถใช้นำผึ้งผสมกับน้ำหมักทุกวัน 4สัปดาห์ พบว่าผมร่วงดีขึ้นและเส้นผมแข็งแรงขึ้น หรือสามารถรับประทานก็ได้ ในน้ำผึ้งมีวิตามินและแร่ธาตุผสมอยู่ด้วย เช่น วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก และธาตุสังกะสี

ดังนั้นเราจึงได้รวมสารสกัดที่มีประโยชน์ ช่วยลดผมร่วง บำรุงเส้นผมให้แข็งแรง ไว้ในวิตามิน Follicare+ ทั้งหมดแล้ว ทาน 1เม็ดครอบคลุมทั้งผม ผิว และกระดูก

6 พฤติกรรมต้องห้าม ยิ่งทำยิ่งหัวล้าน หากผมบางหนักมากๆ ให้เข้ามาปรึกษาแพทย์ก่อนผมจะหมดหัวนะค

6 พฤติกรรมต้องห้าม ยิ่งทำยิ่งหัวล้าน หากผมบางหนักมากๆ ให้เข้ามาปรึกษาแพทย์ก่อนผมจะหมดหัวนะค

คลินิกมีมาตรการ การคัดกรองคนไข้ที่มีโรคประจำตัวเหล่านี้ เพื่อความปลอดภัยของทีมแพทย์ และอุปกรณ์การแพทย์ค่ะ

คลินิกมีมาตรการ การคัดกรองคนไข้ที่มีโรคประจำตัวเหล่านี้ เพื่อความปลอดภัยของทีมแพทย์ และอุปกรณ์การแพทย์ค่ะ

ใครบ้างที่สามารถปลูกผมได้?

ผมล้านในแต่ละบุคคลแตกต่างกัน จำนวนกราฟจึงขึ้นอยู่กับความบางมากน้อย ต้องเข้ามาให้แพทย์วัดแฮร์ไลน์เพื่อให้เหมาะสมกับหน้าของแต่ละค 

ก่อนปลูกผมต้องตรวจค่าเลือด อะไรบ้าง ?

ก่อนปลูกผมคุณหมอจะตรวจ สุขภาพผม รากผม และหนังศีรษะ และยังต้องตรวจค่าเลือดก่อนปลูกผม  

ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยจากภาวะแทรกซ้อนของการทำหัตถการ และความปลอดภัยของทีมแพทย์พยาบาลอีกด้วย 

🔆Tips!! คุณหมอมาแนะนำวิธีการเลือกคลินิกก่อนตัดสินใจปลูกผม หากไม่อยากต้องปลูกซ่อม พิจารณาตามนี้ค่ะ

🔆Tips!! คุณหมอมาแนะนำวิธีการเลือกคลินิกก่อนตัดสินใจปลูกผม หากไม่อยากต้องปลูกซ่อม พิจารณาตามนี้ค่ะ 

✙ ดูผลงานรีวิวรูปและคลิป จากคนไข้ที่มาใช้บริการจริง
✙ รูปรีวิว ซูมแล้วต้องเห็นความถี่ของเส้นผมชัดเจน
✙ พิจารณาความหนาแน่นของกราฟที่คุณหมอคำนวณ เช่น 40/50/60 กราฟ/ตร.ซม.
✙ ทิศทางของกราฟและการเรียงตัวของกราฟแต่ละแถวควรดูเป็นธรรมชาติ
✙ แพทย์ให้คำปรึกษาออกแบบแฮร์ไลน์และวางแผนการรักษาระยะยาวด้วยตัวเอง **แพทย์เราใช้เวลาคุยกับคนไข้อย่างน้อย 30-60นาที
✙ แพทย์ให้คำปรึกษาด้วยตัวเอง ไม่โยนให้ฝ่ายขายคุย
✙ สถานที่ต้องสะอาด ไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
✙ สำคัญสุด คือราคาสมเหตุสมผล เพราะการปลูกผมคือหัตถการทางการแพทย์ที่เป็นงานฝีมือ ใช้เวลา 8-12 ชม ดังนั้น หากคนไข้เน้นแค่ราคาถูก อาจได้ผลงานที่ไม่มีคุณภาพ และสุดท้ายต้องปลูกซ่อมอีกรอบ……คำว่าถูกและดี ไม่มีอยู่จริงนะคะ

สาเหตุผมร่วงในผู้หญิง เกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน…

#สาเหตุผมร่วงในผู้หญิง เกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน… 

#ความผิดปกติของโฮร์โมน. 

ที่ทำให้การสร้างฮอร์โมน DHT มีมากขึ้น หรือที่ทำฮอร์โมนเพศเกิดการเสียสมดุล ก่อให้เกิดการ ผมร่วง ศีรษะล้าน

#ภาวะผมร่วงหลังคลอด

พบได้หลังคลอดตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป และมักจะอยู่นานถึง 6-12 เดือน สามารถหายเองได้โดยไม่ต้องเข้ารับการรักษา

#ขาดสารอาหารที่จำเป็นการขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างเส้นผม

เช่น ขาดวิตามินบี ธาตุสังกะสี ธาตุเหล็ก โปรตีน หรือกรดไขมันจำเป็นบางชนิด

#ทานยาคุมกำเนิด 

ยาคุมกำเนิดเป็นฮอร์โมนเพศแบบหนึ่ง จึงทำให้สมดุลของฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนไป สามารถทำให้เกิดอาการผมร่วงได้

#มีโรคประจำตัว 

ผลข้างเคียงของการมีโรคประจำตัวบางโรค เช่น โรคของต่อมไทรอยด์ โลหิตจาง โรคตับ โรคไต โรคแพ้ภูมิตัวเอง

อายุเท่าไหร่ถึงปลูกผมได้ และต้องไม่เกินเท่าไหร่ ?!

#อายุเท่าไหร่ถึงปลูกผมได้ และต้องไม่เกินเท่าไหร่ ?! 

โดยทั่วไปผู้ชายที่มีปัญหาผมบางศีรษะล้านจากกรรมพันธุ์ (androgenic alopecia) จะเริ่มมีปัญหาผมร่วงจนล้าน ได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 20 ปีขึ้นไป ขึ้นกับความรุนแรงของอิทธิพลฮอร์โมนเพศและกรรมพันธุ์

#อายุที่แนะนำให้ปลูกผม ไม่มีกฎตายตัว

แต่ไม่แนะนำให้ปลูกผมในคนที่อายุน้อยมากและผมบางแค่ระยะเริ่มต้น เพราะในอนาคตมีโอกาสที่ผมจะร่วงต่อไปเรื่อยๆ ทำให้มีโอกาสต้องปลูกซ้ำสูง คนไข้ที่ผมเริ่มบางแต่ยังไม่ถึงระยะล้าน สามารถเริ่มการรักษาด้วย การรับประทานยา ทายา ฉีดPRPบำรุงรากผม หรือใช้แสงเลเซอร์กระตุ้น เพื่อชะลอให้รากผมไม่หลุดร่วงจนถึงระยะล้าน

#ส่วนอายุที่มากสุดที่สามารถปลูกได้ นั้นก็ไม่มีตัวเลขชัดเจน

แพทย์จะพิจารณาจากสุขภาพของคนไข้ โรคประจำตัว รวมถึงความแข็งแรงของเส้นผมด้านหลัง ประกอบกัน
หากมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวานที่คุมได้ไม่ดี โรคหัวใจ ผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยาละลายลิ่มเลือดอาจจะไม่เหมาะกับการเข้ารับการปลูกผม เพราะจะเกิดภาวะแทรกซ้อนสูง
แต่ในกรณีอายุเริ่มเยอะ เช่น เกิน 50+ปี แต่ไม่มีโรคประจำตัวเลย ดูแลตัวเองดีมาตลอด ผมด้านหลังมีปริมาณพอเหมาะกับการเข้ารับการปลูกผม กรณีแบบนี้ ถึงอายุเยอะก็ไม่ใช่ปัญหาค่ะ

พญ. ญาดา สุวรรณสิงห์ (คุณหมอจิ๊บ) 

คุณธีรวีร์ ดิษยะไชยพงษ์ ( เชฟจากัวร์ )   Top Chef Thailand Season2 ปลูกผมถาวร ด้วยเทคนิค DHI Implanter 

 

ผ่านไปแล้ว 1เดือน กับการย้ายรากผมเทคนิค DHI ของคุณจากัวร์ เชฟมือทองของไทย ซึ่งเดิมคุณจากัวร์เคยผ่านการปลูกผมด้วยเทคนิค FUT มาแล้วเมื่อหลายปีก่อน แต่ต้องการความหนาแน่นที่มากขึ้น และร่นไรผมจากเดิมที่ค่อนข้างสูงให้แคบลงมา แต่เนื่องจากปริมาณผมที่เหลืออยู่ด้านหลังค่อนข้างน้อย ทีมแพทย์จึงตัดสินใจใช้เทคนิค DHI เพื่อปลูกให้ได้ความหนาแน่นสูงสุด ลดการบอบช้ำของกราฟ และที่สำคัญสามารถเพิ่มจำนวนกราฟที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เพียงพอกับพื้นที่ที่ต้องการได้

 

 

คุณธีรวีร์ ดิษยะไชยพงษ์ ( เชฟจากัวร์ )  

Top Chef Thailand Season2

ปลูกผมถาวร ด้วยเทคนิค DHI Implanter 

มารู้จักกับเส้นผมกับวงจรชีวิตของเส้นผม (Hair Life Cycle)

มารู้จักกับเส้นผมกับวงจรชีวิตของเส้นผม (Hair Life Cycle)

กว่าผมแต่ละเส้นจะเติบโตต้องผ่านระยะปลูกและงอกเงยตามธรรมชาติถึง 4 ระยะด้วยกัน ดังนี้ 

 

ระยะแรก เรียกว่า ระยะเจริญ หรือ อะนาเจน (Anagen)

ต่อมรากผมจะสร้างเซลล์ซึ่งทำให้เส้นผมงอกขึ้น ยาวขึ้น ช่วงเวลานี้จะอยู่ระหว่าง 3- 7 ปี หลังจากนั้นจะเข้าสู่ผมระยะหยุด หรือ คะตาเจน (Catagen) หรือ ระยะหยุดการเจริญเติบโตของเส้นผม หากระยะเจริญ หรือ อะนาเจนของเส้นผมอยู่ระยะยาวนานเท่าไหร่ ต่อมรากผมก็จะยังสามารถผลิตเส้นผมได้นานมากขึ้น และผมก็จะยาวและหนาแน่นขึ้นได้ แต่หากระยะดังกล่าวสั้นลง เส้นผมจะเข้าสู่ระยะพักเร็วขึ้น ซึ่งจะทำให้ระยะเวลาของการหลุดร่วงของเส้นผมเกิดขึ้นเร็วขึ้น ผมเกิดใหม่ก็จะสั้น และบาง ขาดความแข็งแกร่ง จึงทำให้มีภาวะอาการศรีษะล้านก่อนวัยอันควร

 

ระยะต่อมา เรียกว่า ระยะหยุด หรือ คะตาเจน (Catagen) 

ระยะนี้จะกินเวลาไม่นานนัก จะเป็นช่วงสั้นๆที่ปลายของรากผมจะเคลื่อนตัวสู่ชั้นผิวหนัง เส้นผมจะเติบโตช้าลงและค่อยๆหยุดที่จะเติบโตไปในที่สุด ในระยะนี้อาจคิดเป็นสัดส่วนประมาณ ร้อยละ 1 จากจำนวนเส้นผมทั้งหมดบนหนังศรีษะ โดยในแต่ละเส้นจะมีอายุในช่วงระยะนี้ ประมาณ 2-3 สัปดาห์ แล้วจึงเข้าสู่ระยะพัก

 

ระยะพัก เป็นระยะที่ 3 ของวงจรชีวิตผม เรียกว่า (Telogen)

ระยะนี้เป็นระยะที่เซลล์รากผมนั้นตายแล้ว เส้นผมในระยะนี้ จะเตลื่อนและฝังตัวบริเวณใกล้เคียงกับพื้นผิวหนังเพื่อรอการหลุดร่วง พร้อมๆกับกำลังจะมีเส้นผมเกิดใหม่ที่กำลังจะเข้าสู่ระยะเจริญ ซึ่งจะมาผฃักให้เส้นผมที่ตายแล้วได้หลุดร่วงออกไป ในกรณีทั่วไปเส้นผมจะร่วงโดยประมาณ 50 ถึง100 เส้นต่อวัน โดยเส้นผมบนหนังศรีษะในระยะนี้จะมีจำนวนประมาณ ร้อยละ 10 ถึง 15 โดยเส้นผมในระยะนี้จะมีอายุอยู่ได้ประมาณไม่เกิน 3 เดือน

 

ระยะสุดท้าย คือ ระยะเริ่มเจริญใหม่ หรือ (Early Anagen)

เมื่อเส้นผมของคนเราหลุดร่วงและงอกขึ้นใหม่ตามวงจรชีวิตของเส้นผมเช่นนี้เรื่อยไปทุกๆวัน แต่เมื่อสูงวัยมากขึ้น วงจรเส้นผมนี้จะมีระยะเวลากระชับสั้นลงเรื่อยๆตามวัยที่สูงขึ้น อันเป็นสาเหตุที่ทำให้รากผมนั้นอ่อนแอลง เส้นผมงอกใหม่ก็ขาดความแข็งแรงไม่เหมือนเมื่อครั้งอ่อนวัย ดังนั้น เราจึงต้องบำรุงและดูแลรักษาเส้นผม บำรุงลึกถึงรากผม เพื่อสร้างความแข็งแรงและยืดระยะเวลาช่วงอายุของเส้นผมตามวงจรชีวิตเส้นผมให้ยาวนานขึ้น ซึ่งจะทำให้สามารถรักษาสุขภาพที่ดีของเส้นผมไว้ได้นานขึ้น ผมหลุดร่วงช้า ผมก็จะดกดำและหนาแน่นอย่างเป็นธรรมชาติ ลดปัญหาผมแก่ อ่อนแอ หงอก เปราะบาง หลุดร่วงไปตามวัยและสุขภาพของแต่ละคน

Laser Hair Regrowth รักษาผมร่วงจากพันธุกรรมด้วยแสงเลเซอร์ความเข้มข้นต่ำ

Laser Hair Regrowth

เป็นการฉายแสงด้วยเลเซอร์ที่หนังศีรษะ ปัจุบันเป็นวิธีที่นิยมนำมารักษาผู้ที่มีปัญหาผมร่วง ผมบางเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีงานวิจัยรับรองว่า แสงเลเซอร์ความเข้มข้นต่ำมีผลทำให้เส้นผมมีโปรตีนที่สำคัญในกระบวนการสร้างเส้นผมเพิ่มขึ้น **ผลงานวิจัยเรื่องนี้ได้รับรางวัลที่ 1 ISHRS Poster Awards 2017  โดยการฉายแสงด้วยเลเซอร์ความเข้มข้นต่ำ เป็นระยะเวลา 6เดือน สัปดาห์ละ 3 ครั้งๆ ละ 20-30 นาที สามารถช่วยกระตุ้นรากผมงอกขึ้นมาใหม่ กระตุ้นการไหลเวียนเลือดที่ส่งผลต่อเซลล์รากผมทำงานได้ดีอีกครั้ง หากนำไปใช้รักษากับผู้ที่ ปลูกผมถาวรแบบไม่ผ่าตัด จะได้ผลลัพท์ที่ดียิ่งขึ้น เหมาะกับคนไข้ที่มีปัญหาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน และการฉายแสงเลเซอร์ความเข้มข้นต่ำ ยังนำใช้ในการรักษาผู้ที่มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เจ็บกระดูก รักษาแผลที่หายยาก เลเซอร์ความเข้มข้นต่ำเป็นแสงสีแดงที่มีความเข้มข้นต่ำมาก ไม่มีอันตรายต่อผู้ใช้งาน

 

**ข้อมูลวิจัยจาก https://www.chula.ac.th/news/8714/

Hair shock loss หลังปลูกผมถาวร

ทำไมจู่ๆหลังปลูกผม 2-6 สัปดาห์ ผมที่ปลูกก็ร่วงจนหมด แถมผมเดิมบริเวณใกล้เคียงก็ทยอยร่วงด้วย !!’

ไม่ต้องกังวลค่ะ เพราะภาวะผมร่วงหลังปลูกผม ทางการแพทย์เรียกว่า “ hair shock loss”  ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับทุกคนที่ปลูกผม โดยผมที่หลุดร่วงออกมานั้น เป็นเพียงเส้นผมที่เกิดจากการผลัดผมตามวงจรธรรมชาติ แต่รากผมที่ได้รับการปลูกนั้นยังอยู่ปกติ ไม่ได้หลุดออกมาตามเส้นผมนะคะ

และหลังจากผลัดเส้นผมชุดเก่าออกแล้ว ผมชุดใหม่จะทยอยขึ้นเป็นเส้นฝอยเล็กๆ ประมาณ เดือนที่ 3-4 หลังปลูก เดือนที่6 ผมงอกดกเปลี่ยนแปลงชัดเจน และจะยาวเป็นปกติและงอกเต็มที่ ที่ 1 ปีหลังปลูกค่ะ

บางคนกังวลว่าผมที่ร่วงติดมือมานั้นใช่ กราฟรากผมที่ปลูกไปหรือไม่ ให้สังเกตดังนี้ค่ะ โดยปกติรากผมจะฝังตัวบนหนังศีรษะตั้งแต่ 2 สัปดาห์แรกหลังปลูก โดย 3 วันแรกหลังปลูกจะเป็นช่วงที่เสี่ยงที่สุดที่กราฟจะหลุด ดังนั้น หากผ่านช่วงเวลานั้นมาแล้ว เส้นผมที่ร่วงจึงไม่ใช่รากผมแน่นอนค่ะ

นอกจากนั้นการทำ PRP และ เลเซอร์ควบคู่กับการปลูกผม สามารถช่วยลดภาวะ shock loss และยังช่วยกระตุ้นให้รากผมที่ปลูกแข็งแรงอีกด้วยค่ะ

Verified by MonsterInsights