fbpx

ปลูกผม

ยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีการแพทย์พัฒนามากขึ้น หลายคนที่มีปัญหาผมบางศีรษะล้านจากพันธุกรรม เริ่มมองหาวิธีการศัลยกรรม ปลูกผม ถาวรเพื่อแก้ปัญหาภาวะศีรษะล้าน หรือในบางคนที่ไม่ได้มีปัญหาผมบางแต่อยากเข้ารับการปลูกผมถาวรเพื่อปรับกรอบหน้าให้ดูสมมาตรมากขึ้นก็ต่างสนใจเข้ารับการปลูกผมถาวรเช่นกัน โดยวิธีปลูกผม FUE นั้นกำลังเป็นที่นิยมและถูกพูดถึงกันมากขึ้น บทความนี้หมอจะพามาทำความรู้จักกับวิธีการปลูกผมถาวรวิธีต่างๆพร้อมทั้งข้อดีข้อเสียในแต่ละวิธี

ปัจจุบันการศัลยกรรมปลูกผมถาวรตามคำนิยามของสมาคมศัลยกรรมปลูกผมนานาชาติ The International Society of Hair Restoration Surgery (ISHRS) มีอยู่ 2 วิธีการสากล คือ FUT และ FUE ซึ่งทั้ง 2 วิธีจะแตกต่างกันที่กระบวนการได้มาของกราฟจากบริเวณด้านหลัง (Donor site)

ปลูกผม fue

  • การปลูกผมวิธี FUT ย่อมาจาก Follicular unit transplantation เป็นวิธีการปลูกผมโดยการผ่าตัดนำหนังศีรษะด้านหลังออกมาเป็นชิ้นยาวๆ หรือที่เรียกว่า Strip แล้วนำมาหั่นแยกกราฟออกมาเป็นกอเล็กๆ ที่เรียกว่า “กราฟ” แล้วจึงนำกราฟมาปลูกยังบริเวณที่ต้องการ ซึ่งกราฟที่นำมาปลูกจะเป็นได้ทั้งแบบผมสั้น (short hair) หรือเป็นแบบผมยาว (long hair) ก็ได้

ข้อดีของการปลูกผมถาวรแบบ FUT

  • ได้กราฟปริมาณมาก โดยจำนวนมากที่สุดประมาณ 5000-8000 กราฟ
  • เหมาะกับคนที่ไม่ต้องการตัดผมสั้น เช่น ผู้หญิง
  • เหมาะกับคนที่เป็นผมบางศีรษะล้านระยะสุดท้ายที่เหลือผมด้านหลังไม่มาก(Advance hair loss)

ข้อเสียของการปลูกผมถาวรแบบ FUT

  • แผลเป็นจะเป็นลักษณะเส้นยาวตลอดแนวผมด้านหลัง ทำให้ไม่สามารถตัดผมสั้นได้
  • ไม่เหมาะกับอาชีพที่จำเป็นต้องตัดผมสั้นตลอด เช่น ทหาร ตำรวจ หรือคนในเครื่องแบบ
  • มีโอกาสเกิดแผลเป็นลักษณะนูนยืด(Hypertrophic scar/Stretched scar) ได้ในบางคน ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาเรื่องความมั่นใจได้
  • เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้เช่น การบาดเจ็บต่อเส้นประสารทระดับลึก การติดเชื้อรุนแรงบริเวณหนังศีรษะ

 

  • การปลูกผมวิธี FUE ย่อมาจาก Follicular unit extraction เป็นวิธีการปลูกผมโดยไม่ต้องผ่าตัด โดยจะมีการย้ายรากผมจากด้านหลังโดยใช้หัวเจาะขนาดเล็ก เจาะรากผมบริเวณท้ายทอยและดึงออกมาทีละกอ แล้วนำกราฟที่ได้มาปลูกยังบริเวณที่ต้องการ

ลักษณะกราฟและการเตรียมพื้นที่ด้านหลังจากวิธี FUE สามารถแบ่งเป็นกระบวนการย่อยๆได้ดังนี้

  1. Shave FUE คือการย้ายรากผมทีละกอ โดยตัดผมสั้นด้านหลังเป็นแถบใหญ่แล้วเจาะรากผมออกมาเป็นตอสั้นๆ(short hair)

ข้อดีของการปลูกผมถาวรแบบ Shave FUE

  • แพทย์สามารถมองเห็นพื้นที่ด้านหลังแบบมุมกว้างได้ ทำให้การเจาะรากผมได้กระจายเท่ากันทุกบริเวณ มีความสม่ำเสมอ ทำให้แผลจะสวยกว่าในระยะยาว เหมาะกับคนที่ต้องการตัดผมสั้น เช่น อาชีพทหารตำรวจ และทรงผมสั้นรองทรง
  • ใช้ระยะเวลาในการเจาะรากผมสั้นที่สุดเมื่อเทียบกับการปลูกผม FUE แบบอื่น
  • ได้จำนวนกราฟปริมาณมาก เหมาะกับคนที่ต้องใช้กราฟเกิน 2000 กราฟขึ้นไป จึงเหมาะกับผู้ชายที่มีการร่นของผมที่มากและผู้หญิงเข้ารับการปลูกผมเพื่อวัตถุประสงค์ปรับกรอบหน้าซึ่งมักจะใช้กราฟปริมาณมากเกิน 2000 กราฟ
  • ปลูกได้ความหนาแน่นสูงสุด เนื่องจากกราฟที่ได้จะเป็นตอสั้นๆทำให้ปลูกได้ชิดกันมากขึ้น นอกจากนั้นยังสามารถกำหนดทิศทางได้ง่ายกว่าส่งผลให้ผลลัพธ์แน่นใกล้เคียงผมธรรมชาติ
  • ดูแลทำความสะอาดหลังปลูกผมได้ง่ายกว่า ลดอัตราการติดเชื้อหลังปลูกผมได้

 

ข้อเสียของการปลูกผมถาวรแบบ Shave FUE

  • ต้องตัดผมสั้น ในกรณีผู้ชายแผลด้านหลังจะแห้งสนิทและรากผมเริ่มยาวมาปิดแผลด้านหลังภายใน 2 สัปดาห์, กรณีผู้หญิงทางเกศาคลินิกมีเทคนิคการตัดผมซ่อนแผลทำให้มองไม่เห็นแผลด้านหลัง สามารถใช้ชีวิตได้ปกติ

 

Microstrip shaving  คือการตัดผมสั้นเป็นแถวเล็กๆ หลายๆแถว เป็นวิธีการที่ไม่แนะนำ เพราะระยะยาวจะเกิดรอยแผลเป็นจุดสีขาวเป็นขั้นหลายๆขั้น เมื่อตัดผมสั้นจะมองเห็นว่าผมมีการแหว่งหายไปเป็นขั้นบันไดหลายๆขั้น ทำให้มีข้อจำกัดในการตัดผมสั้นไปตลอด นอกจากนั้นยังทำให้งมีข้อจำกัดในการปลูกผมรอบที่2-3ในอนาคตอีกด้วยเพราะบริเวณผมด้านหลัง(Donor site) มีการย้ายรากผมไปปริมาณมากในแต่ละขั้นทำให้กราฟที่เหลือในการใช้ครั้งต่อไปจะบริหารได้ยากมากขึ้น แต่สามารถเลือกใช้วิธีการตัดผมแบบ Microstrip shaving ได้กรณีที่ใช้กราฟผมไม่เกิน 600-800 กราฟ”  (Reference : Jae Hyun Park, Practical guide to hair transplantation)

Microstrip shaving

fueMicrostrip shaving

 

    1. Non-shave FUE คือการย้ายรากผมทีละกอโดยไม่ต้องตัดผมสั้น รากผมที่ได้จะเป็นตอสั้นๆ(short hair)

    ข้อดีของการปลูกผมถาวรแบบ Non-shave FUE

    • เหมาะกับคนที่ไม่ต้องการตัดผมสั้น
    • เหมาะกับคนที่ใช้กราฟปริมาณไม่มากไม่เกิน 2000 กราฟ
    • ปลูกได้ความหนาแน่นสูงเหมือนการปลูกแบบ Shave FUE เนื่องจากกราฟที่ได้จะเป็นตอสั้นๆทำให้ปลูกได้ชิดกันมากขึ้น นอกจากนั้นยังสามารถกำหนดทิศทางได้ง่ายกว่าส่งผลให้ผลลัพธ์แน่นใกล้เคียงผมธรรมชาติ

     

    ข้อเสียของการปลูกผมถาวรแบบ Non-shave FUE

    • เป็นวิธีการปลูกผมที่ราคาแพงกว่า Shave FUE
    • ใช้ระยะเวลาในการทำนานกว่า Shave FUE
    • ไม่เหมาะกับคนที่ต้องใช้รากผมปริมาณมาก
    • เนื่องจากไม่ได้ตัดผมด้านหลัง ขั้นตอนการเจาะรากผมจึงทำได้ยากกว่าส่งผลให้กระจายตัวของแผลเป็นไม่ค่อยสม่ำเสมอ ต่างจากวิธีปลูกผม Shave FUE ที่แพทย์จะสามารถมองเห็นรากผมได้ทั้งหมดในมุมกว้างทำให้วางแผนการเจาะรากผมได้ดีกว่า

     

    1. Long hair FUE คือการย้ายรากผมทีละกอโดยไม่ต้องตัดผมสั้น รากผมที่ได้จะเป็นผมเส้นยาว(Long hair)

    ข้อดีของการปลูกผมถาวรแบบ Long hair FUE

    • ไม่ต้องตัดผม เหมาะกับคนที่ไม่สามารถตัดผมสั้นได้
    • ผู้รับบริการสามารถมองเห็นผลลัพธ์สุดท้ายได้ทันที (Finished look) ทำให้สร้างความพึงพอใจและเพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้รับบริการได้ค่อนข้างมาก
    • เหมาะกับคนที่ใช้กราฟปริมาณไม่มาก โดยทั่วไปแนะนำที่ไม่เกิน 1500 กราฟ เช่น กรณีปลูกผมปรับกรอบหน้าเล็กน้อย, กรณีปลูกผมทับรอยแผลเป็นพื้นที่ไม่มาก
    • แนะนำให้ใช้การปลูกผมแบบ Long hair FUE ในการปลูกคิ้วเพราะทำให้เห็นแนวโค้งของรากผมที่ถูกต้อง ผลลัพธ์จะดูธรรมชาติกว่าการปลูกคิ้วแบบ Shave FUE

    ข้อเสียของการปลูกผมถาวรแบบ Long hair FUE

    • เป็นวิธีการปลูกผมที่ราคาแพงที่สุด เนื่องจากต้องใช้เวลานานและมีความยากในทุกกระบวนการ
    • ไม่เหมาะกับคนที่ใช้กราฟปริมาณมาก
    • ใช้ระยะเวลาในการทำนานที่สุด โดยใช้เวลาประมาณ 3 เท่าของการเจาะรากผมแบบ Shave FUE
    • ความหนาแน่นที่ได้น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับการปลูกผม FUE แบบอื่น ดังนั้นหากอัตราการรอดของกราฟน้อยลงอีกจะยิ่งทำให้ผลลัพธ์ตอนผมยาวแล้วที่ 1ปีดูบางไม่แน่นเท่าผมธรรมชาติ
    • การดูแลทำความสะอาดหลังปลูกผมต้องใช้ความระมัดระวังสูง เพราะกราฟผมที่ยาวอาจพันกันทำให้กราฟหลุดได้ในช่วง 3 วันแรก
    • หลังปลูกผม 2 สัปดาห์ กราฟผมที่ปลูกก็เกิดการผลัดผมหรือที่เรียกว่า ภาวะ shock loss ได้เช่นเดียวกับวิธีการปลูกผมแบบอื่นๆ

แผล เป็น

 

 

การปลูกผมไม่มีวิธีใดที่ดีที่สุด แต่ละวิธีมีข้อดีในตัวและมีข้อจำกัดเช่นกัน ดังนั้นจะปลูกผมวิธีไหนดี ขึ้นกับความต้องการและต้องดูข้อจำกัดและความเหมาะสมของคนไข้แต่ละราย(Individual)  และไม่ใช่การปลูกวิธีการเดียวกันจะได้ผลลัพธ์เหมือนกันทุกที่ เพราะผลลัพธ์ขึ้นกับความชำนาญของแต่ละคลินิก, การออกแบบแนวผม, เทคนิคการเจาะรากผม, การเลือกใช้เครื่องเจาะรากผม, การเก็บรักษากราฟที่อยู่นอกร่างกาย, การตกแต่งรากผมรวมไปถึงรายละเอียดของการวางทิศทางรากผมโดยแพทย์ ทุกรายละเอียดล้วนมีผลกับอัตราการรอดและความสวยงามของกราฟทั้งสิ้น

“ สิ่งที่ต้องรู้ก่อนปลูกผมคือ รากผมเป็นทรัพยากรที่มีอย่างจำกัด การปลูกผมคือกระบวนการปลูกถ่ายรากผมซึ่งต้องอาศัยความชำนาญ ไม่เช่นนั้นรากผมที่ย้ายออกมาจะไม่รอด ทำให้สูญเสียรากผมไปถาวร ดังนั้นการปลูกผมไม่ควรเปรียบเทียบแค่ ปลูกผมราคาถูก เท่านั้น ควรพิจารณาหลายๆด้านก่อนตัดสินใจปลูกผม เน้นดูผลลัพธ์ตอนยาวแล้วมากกว่าการดูผลลัพธ์หลังปลูกทันที “

เกศาคลินิก เป็นคลินิกที่ให้บริการเรื่องผมครบวงจร โดยบริการปลูกผมด้วยวิธีการ FUE แต่มีเทคนิคเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แตกต่าง เน้นผลงานธรรมชาติ ปลูกแน่น แผลเล็ก ฟื้นตัวไว

https://www.kesahair.com/nnn/

https://www.facebook.com/kesahair

https://www.facebook.com/kesahair/photos/a.102088388785018/447929534200900

https://pantip.com/topic/39459208

https://www.instagram.com/kesahairofficial/

https://hdmall.co.th/c/review-hair-transplant-with-nnn-technique-at-kesa-hair-clinic-by-kannikar-namvicha

Review

 

YouTube player

ผมร่วง หลังฉีด วัคซีน โควิด

       หลังจากที่ทั่วโลกเผชิญกับปัญหาการระบาดของโรค โควิด 19 มานานกว่า 2 ปี หลายคนที่เข้ารับการฉีด วัคซีนโควิด 19 มีปัญหา ผมร่วง ผิดปกติ บางคนผมบางลงอย่างชัดเจน จึงมีคำถามมากมายว่าภาวะผมร่วงเกี่ยวข้องกับวัคซีนที่ฉีดหรือไม่ บทความนี้หมอจะสรุปความสัมพันธ์ของวัคซีนโควิด19 กับภาวะผมร่วงผิดปกติที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ให้อ่านกันค่ะ

ภาวะผมร่วงหลังฉีดวัคซีนโควิด19 มี 2 สาเหตุ ดังนี้

1. ผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia areata)

ผมร่วงเป็นหย่อม

       ผมร่วงเป็นหย่อมเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ไปทำลายเซลล์รากผมของตัวเอง (Autoimmunity) เชื่อว่าวัคซีนโควิด19 มีกระบวนการเลียนแบบการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันต้านตนเองทำให้เกิดปฏิกิริยาอักเสบที่บริเวณเซลล์รากผม ส่งผลให้เกิดผมร่วงเป็นหย่อมแบบฉับพลัน อาจจะมีหย่อมเดียว หรือหลายๆหย่อมก็ได้  ในบางรายหากเป็นรุนแรงผมจะร่วงทั่วศีรษะ เรียกว่า alopecia totalis 

       มักเกิดกับบุคคลที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคผมร่วงเป็นหย่อมอยู่แล้ว เมื่อรับการฉีดวัคซีนจึงไปกระตุ้นให้ตัวโรคที่ซ่อนอยู่แสดงอาการออกมาได้, ในบางรายที่เคยเป็นโรคผมร่วงเป็นหย่อมมาก่อนรักษาหายแล้ว ก็จะถูกกระตุ้นให้เกิดผมร่วงเป็นหย่อมซ้ำได้อีก หรือผู้ป่วยโรคผมร่วงเป็นหย่อมที่กำลังเป็นอยู่อาจจะมีอาการมากขึ้นหลังฉีดวัคซีนโควิด19 โดยอาจจะเกิดภาวะผมร่วงเป็นหย่อมตั้งแต่วัคซีนเข็มแรก หรือเป็นจากเข็มกระตุ้นถัดๆไปก็ได้

       ในบางรายที่เป็นโรคนี้ เส้นผมอาจไม่ได้หายไปเป็นหย่อม แต่ผมจะร่วงและบางลงทั่วๆ ศีรษะ เรียกว่า Diffuse alopecia areata และ Alopecia areata incognita ซึ่งทำให้การวินิจฉัยทำได้ยาก ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและการตรวจร่างกายด้วยกล้องส่องรากผมโดยเฉพาะ

2. ผมร่วงทั่วศีรษะฉับพลัน (Acute Telogen effluvium)

       คือภาวะผมร่วงฉับพลันหลังจากที่ร่างกายเจอสิ่งกระตุ้น แม้จะไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าวัคซีนโควิด19 กระตุ้นให้เกิดผมร่วงทั่วศีรษะผ่านกลไกใด แต่สันนิษฐานว่าวัคซีนโควิด19 อาจจะไปกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่เลียนแบบการติดเชื้อโควิด ส่งผลให้ผมระยะเติบโตเปลี่ยนเป็นผมระยะหลุดร่วงทันที ทำให้เกิดภาวะผมร่วงฉับพลันภายใน 1-3 เดือนหลังได้รับวัคซีนโควิด โดยอาจจะเกิดภาวะผมร่วงตั้งแต่วัคซีนเข็มแรก หรือเป็นจากเข็มกระตุ้นถัดๆไปก็ได้ ซึ่งภาวะนี้เป็นภาวะเดียวกับผมร่วงหลังคลอดและผมร่วงหลังการติดเชื้อโควิด19 นั่นเองโดยผมจะร่วงเยอะผิดปกติ โดยร่วงได้ถึงวันละ 150-700 เส้น ทำให้ผมดูบางลงทั่วทั้งศีรษะ 

“ ผมร่วงเป็นหย่อม และ ผมร่วงทั่วศีรษะ วินิจฉัยได้โดยการตรวจร่างกายด้วย กล้องส่องรากผม Trichoscope”

การรักษาผมร่วงจากการฉีดวัคซีนโควิด-19

1. ผมร่วงเป็นหย่อม(Alopecia areata)

  • ผมร่วงเป็นหย่อมสามารถหายเองภายใน 6 เดือน กรณีที่ผมร่วงบริเวณกว้างมักไม่หายเองต้องได้รับการรักษา
  • การรักษามีหลายวิธีขึ้นกับความรุนแรงของตัวโรคและดุลพินิจของแพทย์ ยกตัวอย่างเช่น
    • การฉีดยาบริเวณรอยโรค ทุก 4 – 6 สัปดาห์ ถือว่าเป็นการรักษาหลักในรายที่เป็นไม่มา
    • ทายากลุ่มสเตียรอยด์ที่มีความแรงระดับปานกลางขึ้นไป
    • ทายากระตุ้นรากผม 3-5% Minoxidil lotion
    • ทายากดภูมิคุ้มกัน เช่น anthralin, DPCP
    • การฉายแสง UVA
    • การรับประทานยากดภูมิคุ้มกันในรายที่เป็นรุนแรง

2. ผมร่วงทั่วศีรษะฉับพลัน (Acute Telogen effluvium)

       หากผมร่วงทั่วศีรษะหลังฉีดวัคซีนโควิด19 เป็นนานเกิน 6 เดือนหรือผมร่วงรุนแรงจนผมบาง แนะนำปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุผมร่วงอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นร่วมกันได้ เช่นโรคไทรอยด์ โรคโลหิตจาง ภาวะพร่องธาตุเหล็ก โรคแพ้ภูมิตัวเอง

       งานวิจัยพบว่าคนที่มีปัญหาผมร่วงทั่วศีรษะ Telogen effluvium มักมีปัญหาพร่องธาตุเหล็กร่วมด้วย ดังนั้นแนะนำรับประทานวิตามินบำรุงผมที่มีส่วนผสมของธาตุเหล็กและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อรากผมอื่นๆ เช่น ซิงค์ ไบติน จะช่วยให้วงจรการงอกของเส้นผมกลับมาปกติเร็วขึ้นได้  

       ในช่วงผมร่วงหมอแนะนำเลือกใช้แชมพูสูตรอ่อนโยนที่ไม่มีสารก่อการระคายเคือง เช่น น้ำหอม ซิลิโคน พาราเบน ซัลเฟต ก็จะช่วยถนอมหนังศีรษะและไม่ทำให้ผมร่วงเพิ่มเติมจากการแพ้แชมพูได้

  • Minoxidil รูปแบบทา/รับประทาน

       กรณีผมร่วงไม่ดีขึ้นเอง และมีปัญหาร่วงจนเกิดภาวะผมบาง แนะนำใช้การรักษาด้วยยากลุ่ม Minoxidil ที่ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และกระตุ้นการเกิดใหม่ของรากผมระยะเติบโต(Anagen phase)และยืดอายุให้ผมระยะเติบโตอยู่ได้นานมากขึ้น ส่งผลให้กระตุ้นการงอกของเส้นผมและลดผมร่วงได้

       ปัจจุบันมีงานวิจัยที่สนับสนุนว่าการใช้โกรทแฟคเตอร์สกัดไม่ว่าจะสกัดจากเลือดของคนไข้เองเช่น PRP/PRF matrix หรือสกัดจากห้องปฏิบัติการ เช่น PLACENTECH สามารถช่วยฟื้นฟูรากผมที่อ่อนแอให้กลับมาแข็งแรง และช่วยลดผมร่วงได้

       แสงเลเซอร์ความถี่ต่ำLow level laser therapy เหมาะกับรายที่มีปัญหาผมร่วงผมบางที่ยังไม่มีศีรษะล้าน โดยกลไกการทำงานคือ แสงเลเซอร์จะปลดปล่อยพลังงานที่จำเพาะกับรากผม ทำให้กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ส่งผลให้รากผมแข็งแรง ลดผมร่วง และช่วยรักษาภาวะผมบางได้ โดยปัจจุบันมีการผลิตหมวกเลเซอร์ที่สามารถทำเองได้ที่บ้าน โดยแนะนำทำ 3 ครั้ง/สัปดาห์

เอกสารวิชาการอ้างอิง : https://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/dth.15433 

*บทความลิขสิทธิ์ โดย บริษัทเกศากรุ๊ป ประเทศไทย จำกัด*

โรคผมบางศีรษะล้านจากกรรมพันธุ์ หรือ โรคหัวล้าน

โรค ผมร่วง จากกรรมพันธุ์ หรือ หัวล้าน

       โรค ผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้านจากกรรมพันธุ์หรือ หัวล้าน มีชื่อทางการแพทย์ว่า androgenic alopecia  พบในคนที่มีพันธุกรรมผมบางในครอบครัว โดยเฉพาะฝ่ายมารดา เริ่มแสดงอาการตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป โดยฮอร์โมนเพศชายชื่อว่า DHT จะไปทำลายรากผมที่แข็งแรง ทำให้เส้นผมมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ จนสุดท้ายรูขุมขนปิด เกิดเป็นภาวะศีรษะล้านในที่สุด

คน หัวล้าน
ศีรษะ ล้าน ผม บาง

       โรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง ต้องรักษาอย่างเนื่องเพื่อชะลอภาวะศีรษะล้านให้นานที่สุด สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยา ซึ่งจะช่วยยับยั้งฮอร์โมน DHT ที่มาทำลายรากผม ทำให้คงสภาพเส้นผมให้แข็งแรง ไม่หลุดร่วงจนล้านตามกรรมพันธุ์ หากต้องการมีเส้นผมที่แข็งแรงตลอด แนะนำบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง  หากหยุดรักษาอิทธิพลของกรรมพันธุ์ก็จะทำให้ผมกลับมาร่วงและบางอีก หากไม่รักษาเลยผมก็จะค่อยๆบางลงและล้านในที่สุด สุดท้ายจะเหลือแค่ผมบริเวณแถบด้านหลังที่ไม่มีตัวรับฮอร์โมนเพศชาย DHT

ระยะของโรคผมบางศีรษะล้านจากกรรมพันธุ์

       ระยะของโรคผมบางมี 7 ระยะ หรืออาจจะแบ่งง่ายๆเป็น 4 ประเภทตามรูปแบบการเริ่มล้านของศีรษะ ดังนี้ Type A จะค่อยๆล้านจากบริเวณด้านหน้าร่นขึ้นไปเรื่อยๆ คล้ายๆผมทรงแมนจู, Type O คือผมเริ่มบางจากตรงกลางศีรษะ ขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ เรียกกันว่า ผมบางไข่ดาว, Type M คือผมจะเริ่มบางจากง่ามผมทั้ง2 ข้าง ขยับลึกขึ้นไปเรื่อยๆคล้ายตัว M, Type O+M คือผมจะเริ่มบางพร้อมๆกันทั้งบริเวณตรงกลางศีรษะและตรงง่ามผม

ศีรษะ ล้าน
หัว ล้าน

การรักษา

  • การรักษาด้วยการรับประทานยา 

       รับประทานยาที่ลดการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนเพศชาย DHT  โดยยาที่มีงานวิจัยรองรับและผ่านการรับรองว่าช่วยรักษาโรคผมบางกรรมพันธุ์ได้คือยา Finasteride วันละ1 มิลลิกรัม ร่วมกับการทายาหรือรับประทานยากลุ่ม Minoxidil ที่มีฤทธิ์กระตุ้นการไหลเวียนโลหิตบริเวณหนังศีรษะ ทำให้ช่วยกระตุ้นการงอกของเส้นผมและช่วยเสริมฤทธิ์กับยา Finasteride นั่นเอง ส่วนการรักษาเสริมอื่นๆ คือการรับประทานวิตามินที่มีส่วนผสมที่ช่วยกระตุ้นการงอกของเส้นผมและลดผมร่วง   

       แชมพูที่แนะนำในคนไข้โรคนี้คือ 2% คีโตโคนาโซลแชมพู เนื่องจากมีงานวิจัยพบว่าช่วยลดการอักเสบบริเวณหนังศีรษะ ลดความมันส่วนเกิน และที่สำคัญคือลดการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนเพศชายบริเวณรากผมได้อีกด้วย แนะนำสระฟอกบริเวณหนังศีรษะทิ้งไว้ 3-5 นาทีให้ยาออกฤทธิ์และล้างออก ความถี่ในการใช้ 2-4 ครั้ง/สัปดาห์ไปตลอดการรักษา

ผม ร่วง ผม บาง
  • นวัตกรรมบำรุงรากผมด้วย Growth factor 

       สำหรับบางรายที่รักษาด้วยการทายาหรือรับประทานยาและยังไม่ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการอีกทางเลือกที่สามารถทำควบคู่กับการรักษาหลักคือ PRP/PRF ซึ่งเป็นนวัตกรรมบำรุงรากผมโดยการสกัดเกล็ดเลือดเข้มข้นจากพลาสมา ที่จะทำให้ได้สาร Growth factor จากเลือดของคนไข้เอง แล้วนำมาฉีดบริเวณผมที่บาง โดยการฉีด PRP/PRFเป็นที่ยอมรับและมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าสามารถรักษาปัญหาผมร่วงได้

       อีกนวัตกรรมเฉพาะที่คลินิกเวชกรรมเกศาคือ PLACENTECH ซึ่งเป็นการสกัด Growth factor จากห้องปฏิบัติการ ซึ่งจะทำให้ได้ Growth factor ที่มีความเข้มข้นสูง ผ่านมาตรฐานการแพทย์ นำมาฉีดยังบริเวณที่มีปัญหาผมบาง

แสงเลเซอร์ความถี่ต่ำLow level laser therapy เหมาะกับรายที่มีปัญหาผมร่วงผมบางที่ยังไม่มีศีรษะล้าน โดยกลไกการทำงานคือ แสงเลเซอร์จะปลดปล่อยพลังงานที่จำเพาะกับรากผม ทำให้กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ส่งผลให้รากผมแข็งแรง ลดผมร่วง และช่วยรักษาภาวะผมบางได้ โดยปัจจุบันมีการผลิตหมวกเลเซอร์ที่สามารถทำเองได้ที่บ้าน โดยแนะนำทำ 3 ครั้ง/สัปดาห์ แนะนำทำควบคู่กับการรักษาด้วยวิธีมาตรฐาน

  • การรักษาด้วยการปลูกผมถาวร

       คือการย้ายรากผมบริเวณท้ายทอย ที่ไม่มีตัวรับฮอร์โมนเพศชายมาปลูกบริเวณที่ต้องการ หลังปลูกผม ผมที่ย้ายมาจะค่อนข้างทนต่อฮอร์โมน DHT แต่ผมส่วนที่ไม่ได้ปลูกจะยังบางต่อเนื่องจากอิทธิพลของฮอร์โมนเพศ ดังนั้นหลังปลูกผมในกรณีผมบางกรรมพันธุ์ ต้องแนะนำให้คนไข้ทานยาต่อเนื่องเพื่อคงสภาพผมไปตลอด

ปลูก ผม
  • การสักอณูไรผม Kesa Ink Transplantation (KIT)

       เป็นการฝังสีทางการแพทย์ลงบนหนังศีรษะ เลียนแบบตอผมทีละจุดๆ เหมาะกับคนไข้ที่ศีรษะล้านจากกรรมพันธุ์ระยะ 6-7 ที่แพทย์ประเมินแล้วว่าไม่สามารถปลูกผมได้ หรือในรายที่ผมบางแต่ยังไม่ล้าน ก็สามารถรับการรักษาด้วยวิธีมาตรฐานร่วมกับการทำ KIT ได้เช่นกัน 

       ปกติแล้วในคนไข้ผมบาง การรักษาตามมาตรฐานต้องใช้เวลา 6 เดือนขึ้นไปกว่าจะเห็นผลลัพธ์ ทำให้คนไข้บางรายที่ผมบางมาก ไม่มีความมั่นใจในการใช้ชีวิต กรณีนี้หมอจะแนะนำทำ KIT ควบคู่กับการรักษาหลัก การฝังเม็ดสีเป็นวิธีที่เห็นผลเร็ว ช่วยเพิ่มความมั่นใจให้คนไข้ได้ทันที แต่การรักษาตามตัวโรคก็ยังต้องทำควบคู่กันเพื่อไม่ให้ผมบางมากขึ้นเรื่อยๆจนล้านนั่นเอง

เป้าหมายของการรักษาโรค

       จุดประสงค์ของการรักษาโรคคือการคงสภาพเส้นผมให้มีการเจริญเติบโตปกติ ชะลอการปิดของรูขุมขนให้นานที่สุด เส้นผมที่บางนั้น แปลว่ายังมีรูขุมขนอยู่ คนไข้ต้องคอยบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง มิฉะนั้นเส้นผมจะค่อยๆบางลงเรื่อยๆจนล้านไปตามอิทธิพลของพันธุกรรม รูขุมขนส่วนที่ปิดไปแล้วจะไม่สามารถทำให้กลับมางอกได้อีก ในกรณีเกิดพื้นที่ล้านจะใช้การปลูกผม

“คำถามของคนไข้โรคนี้คือ ต้องใช้เวลารักษานานแค่ไหนและหยุดรักษาผมจะกลับมาบางหรือไม่ คำตอบคือ โรคผมบางนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้นคนไข้ต้องคอยบำรุงรักษาไปตลอด หากหยุดรักษาผมก็จะกลับมาบางตามเดิม หากปล่อยทิ้งไว้นานๆรูขุมขนก็จะปิดจนเกิดพื้นที่ล้านในที่สุด”

       โรคผมบางกลางศีรษะ ไม่สามารถรักษาได้ด้วยแชมพูหรือเซรั่มตามท้องตลาด มีคนไข้หลายรายลองผิดลองถูกกับการรักษาด้วยตนเอง จนผมที่บางกลายเป็นศีรษะล้าน ทำให้ไม่สามารถรักษาได้แล้ว  ดังนั้นหากใครเป็นโรคนี้ หมอแนะนำว่าควรรีบรักษากับแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อคงสภาพเส้นผมให้แข็งแรง เพิ่มความมั่นใจในการใช้ชีวิตในช่วงวัยรุ่นและวัยกลางคน กรณีอายุมากและพิจารณาแล้วว่าภาวะผมบางไม่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิต ค่อยหยุดรักษาและปล่อยให้ผมบางไปตามพันธุกรรมที่ควรจะเป็นก็ได้ค่ะ

*บทความลิขสิทธิ์ โดย บริษัทเกศากรุ๊ป ประเทศไทย จำกัด*

ผมร่วง ผมร่วงหลังคลอด

ผมร่วงหลังคลอด

ทำไมตอนตั้งครรภ์ผมร่วงน้อยมาก บางคนผมหนาขึ้นด้วยซ้ำ แต่พอคลอดลูกได้ 3 เดือน ผมร่วง หลังคลอด อย่างรุนแรง ร่วงจนผมบางเห็นหนังศีรษะ ภาวะนี้เรียกว่า ภาวะ ผมร่วงหลังคลอด บุตรนั่นเองค่ะ คุณแม่ทั้งหลายอาจเริ่มตั้งคำถามว่า ผมร่วงหลังคลอด จะเกิดขึ้นได้นานแค่ไหน และมีวิธีรักษาอย่างไร วันนี้ #Kesahair จะพาไปทำความรู้จักและวิธีรักษาถึงปัญหาผมร่วงหลังคลอดกันค่ะ

ผมร่วงหลังคลอด

สาเหตุผมร่วงหลังคลอด

การคลอดบุตรถือเป็นการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนครั้งยิ่งใหญ่ ระหว่างการคลอดบุตรร่างกายจะเผชิญกับภาวะการเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งฮอร์โมนและความเจ็บปวดขณะคลอด คุณแม่บางท่านอาจเสียเลือดปริมาณมาก กระบวนการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ถือว่าเป็นความเครียดของร่างกาย (physical stress) ส่งผลให้รากผมระยะเติบโต (Anagen phase) เปลี่ยนเป็นผมระยะพัก/หลุดร่วง (Telogen phase) เร็วขึ้น หลังจากนั้น 12-16 สัปดาห์เฉลี่ย 3 เดือนหลังคลอดบุตร ผมระยะพัก/หลุดร่วงที่หมดอายุขัยจำนวนมากก็จะหลุดร่วงออกมา ซึ่งผมสามารถร่วงได้ถึงวันละ 150-700 เส้น (ปกติผมร่วงวันละไม่เกิน50-100 เส้น) ทำให้ผมดูบางลงทั่วๆหนังศีรษะ ภาวะผมร่วงหลังคลอดนี้มีชื่อทางการแพทย์ว่า Postpartum telogen effluvium

ผมร่วงหลังคลอด

ผมร่วงหลังคลอดเกิดขึ้นได้นานแค่ไหน

ผมร่วงหลังคลอดเป็นภาวะผมร่วงชั่วคราว และเกิดได้กับคุณแม่ทุกคน เป็นเรื่องปกติตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่จะเริ่มร่วงที่เดือนที่ 3 หลังคลอดบุตร และร่วงนานประมาณ 3-6 เดือน เมื่อร่างกายฟื้นตัวผมจะหยุดร่วงเอง  แต่ในคุณแม่บางรายอาจได้ร่วงนานถึง 1 ปี หากคุณแม่ท่านใด มีปัญหาผมร่วงหลังคลอดรุนแรง และไม่ดีขึ้นหลังผ่านไปเกิน 1 ปี แนะนำให้พบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของผมร่วงเพิ่มเติม เช่นโรคไทรอยด์ โรคโลหิตจาง ภาวะพร่องธาตุเหล็ก โรคแพ้ภูมิตัวเอง

วิธีป้องกันผมร่วงหลังคลอด

ภาวะผมร่วงหลังคลอดนั้นสามารถหลีกเลี่ยงได้ยาก แต่สามารถป้องกันให้ผมร่วงไม่รุนแรงได้จากการรับประทานอาหารและวิตามินบำรุงหลังคลอดที่มีส่วนผสมของธาตุเหล็ก ยิ่งกรณีคุณแม่ที่ให้นมบุตรจะเสียแร่ธาตุจากร่างกายไปยังน้ำนมที่ถูกผลิตขึ้น ดังนั้นต้องได้รับสารอาหารที่เพียงพอ โดยเฉพาะธาตุเหล็กที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการวงจรการเจริญเติบโตของเส้นผม หากให้นมบุตรอย่างต่อเนื่องแต่ไม่ได้รับประทานธาตุเหล็กอย่างเพียงพอ จะทำให้มีโอกาสพร่องธาตุเหล็ก ส่งผลให้ภาวะผมร่วงรุนแรงต่อเนื่องได้ ดังนั้นควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และรับประทานวิตามินที่มีธาตุเหล็กเสริมหลังคลอดร่วมด้วย

การดูแลตัวเองในช่วงผมร่วงหลังคลอด

แนะนำทรงผมสั้น เพื่อง่ายต่อการดูแลเส้นผม ข้อดีของผมสั้นคือสามารถพรางตาให้ดูผมไม่บางได้

การรักษาผมร่วงหลังคลอด

1. เจาะเลือดหาสาเหตุผมร่วง

หากผมร่วงหลังคลอดเป็นนานเกิน 1 ปีหรือผมร่วงรุนแรงจนผมบาง แนะนำปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุผมร่วงอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นร่วมกันได้ เช่นโรคไทรอยด์ โรคโลหิตจาง ภาวะพร่องธาตุเหล็ก โรคแพ้ภูมิตัวเอง

ผมร่วงหลังคลอด

2. รับประทานวิตามินบำรุงผมและใช้แชมพูสูตรอ่อนโยน

งานวิจัยพบว่าคนที่มีปัญหาผมร่วงทั่วศีรษะ Telogen effluvium มักมีปัญหาพร่องธาตุเหล็กร่วมด้วย ดังนั้นแนะนำรับประทานวิตามินบำรุงผมที่มีส่วนผสมของธาตุเหล็กและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อรากผมอื่นๆ เช่น ซิงค์ ไบติน จะช่วยให้วงจรการงอกของเส้นผมกลับมาปกติเร็วขึ้นได้  ในช่วงผมร่วงหมอแนะนำเลือกใช้แชมพูสูตรอ่อนโยนที่ไม่มีสารก่อการระคายเคือง เช่น น้ำหอม ซิลิโคน พาราเบน ซัลเฟต ก็จะช่วยถนอมหนังศีรษะและไม่ทำให้ผมร่วงเพิ่มเติมจากการแพ้แชมพูได้

ผมร่วงหลังคลอด

3. Minoxidil รูปแบบทา/ทาน

กรณีผมร่วงไม่ดีขึ้นเอง และมีปัญหาร่วงจนเกิดภาวะผมบาง แนะนำใช้การรักษาด้วยยากลุ่ม Minoxidil ที่ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และกระตุ้นการเกิดใหม่ของรากผมระยะเติบโต(Anagen phase)และยืดอายุให้ผมระยะเติบโตอยู่ได้นานมากขึ้น ส่งผลให้กระตุ้นการงอกของเส้นผมและลดผมร่วงได้

4. PRP/PRF/PLACENTECH

ปัจจุบันมีงานวิจัยที่สนับสนุนว่าการใช้โกรทแฟคเตอร์สกัดไม่ว่าจะสกัดจากเลือดของคนไข้เองเช่น PRP/PRF matrix หรือสกัดจากห้องปฏิบัติการ เช่น PLACENTECH สามารถช่วยฟื้นฟูรากผมที่อ่อนแอให้กลับมาแข็งแรง และช่วยลดผมร่วงได้ 

5. รักษาผมร่วงด้วยแสงเลเซอร์ LLLT

แสงเลเซอร์ความถี่ต่ำLow level laser therapy เหมาะกับรายที่มีปัญหาผมร่วงผมบางที่ยังไม่มีศีรษะล้าน โดยกลไกการทำงานคือ แสงเลเซอร์จะปลดปล่อยพลังงานที่จำเพาะกับรากผม ทำให้กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ส่งผลให้รากผมแข็งแรง ลดผมร่วง และช่วยรักษาภาวะผมบางได้ โดยปัจจุบันมีการผลิตหมวกเลเซอร์ที่สามารถทำเองได้ที่บ้าน โดยแนะนำทำ 3 ครั้ง/สัปดาห์

*บทความลิขสิทธิ์ โดย บริษัทเกศากรุ๊ป ประเทศไทย จำกัด*

ยาคุมกำเนิด ทำให้ ผมร่วง ได้หรือไม่?

สาวๆ หลายคนคงมีประสบการณ์ ผมร่วง การใช้ ยาคุมกำเนิด ไม่ว่าจะเป็นการใช้เพื่อคุมกำเนิด หรือใช้รักษาโรค เช่น รักษาสิวระดับรุนแรง ใช้ปรับฮอร์โมนในโรคเกี่ยวกับระบบสูตินรีเวช ผลข้างเคียงของยาคุมกำเนิดที่เกิดขึ้นจะขึ้นกับว่าเป็นยาคุมกำเนิดชนิดใด บางคนเมื่อใช้ยาคุมกำเนิดอาจเจอปัญหาผมร่วงผิดปกติได้ นั่นเป็นเพราะยาคุมกำเนิดส่งผลต่อฮอร์โมนของร่างกายทำให้มีผลกับวงจรของรากผมนั่นเอง วันนี้ #Kesahair จะพาทุกคนไปทำความเข้าใจถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นและวิธีแก้ปัญหากันค่ะ

  • วงจรการเจริญเติบโตของเส้นผม

ก่อนอื่นต้องเข้าใจวงจรของรากผมเบื้องต้นก่อน ปกติรากผมของมนุษย์จะมีอยู่ 3 ระยะ ดังนี้ 

  • Anagen phase  ระยะเติบโต  มีประมาณ 90% เป็นระยะรากผมที่มีอายุเฉลี่ย 3 ปี
  • Catagen phase ระยะหยุดเติบโต มีไม่เกิน 1% เป็นระยะรากผมที่มีอายุ 2-3 สัปดาห์
  • Telogen phase ระยะหลุดร่วง มีประมาณ 10 % เป็นระยะรากผมที่มีอายุขัยประมาณ 3 เดือนแล้วค่อยหลุดร่วงไป ดังนั้นในแต่ละวันจะมีผมร่วงประมาณ 50-100 เส้นเป็นเรื่องปกติ

วงจรเส้นผม

ความเชื่อมโยงระหว่าง ยาคุมกำเนิด กับผมร่วง

ผมร่วงในระหว่างการใช้ ยาคุมกำเนิด

       ยาคุมกำเนิด บางชนิดเมื่อรับประทานต่อเนื่องทำให้ผมร่วงได้มากขึ้น เนื่องจากยาคุมมีปริมาณโปรเจสตินที่สูง ซึ่งโดยปกติฮอร์โมนโปรเจสตินจะสามารถออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศชายที่ชื่อว่าแอนโดรเจน (androgenic effects) ทำให้มีการแสดงออกคล้ายเพศชายเช่น สิว ขนบริเวณหนวดเข้ม และผมร่วงนั่นเอง ดังนั้นหากใครมีปัญหาผมร่วงหลังจากการใช้ยาคุมที่มีโปรเจสตินสูง หมอแนะนำลองปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรเพื่อเปลี่ยนกลุ่มยาคุมกำเนิดดูค่ะ

ผมร่วงในช่วงที่เริ่มใช้ ยาคุมกำเนิด และ หลังหยุด ยาคุมกำเนิด

       ในช่วงแรกที่เริ่มใช้ยาคุมกำเนิด ฮอร์โมนต่างๆในร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ร่างกายจะมีการปรับตัวทำให้วงจรการงอกของผมเปลี่ยนไปดังนี้ รากผมระยะเติบโต (Anagen Phase) เปลี่ยนเป็นผมระยะหลุดร่วง (Telogen Phase) มากขึ้น ทำให้ปริมาณผมที่ร่วงในแต่ละวันสูงกว่าปกตินั่นเอง เรียกภาวะนี้ว่า ผมร่วงทั้งศีรษะจากมีสาเหตุกระตุ้น(Telogen effluvium)

       ส่วนผมร่วงหลังหยุดยาคุมกำเนิดเป็นนภาวะที่เจอได้บ่อยกว่าโดยกลไกการเกิดผมร่วงเกิดจากร่างกายหลังจากที่มีการรับประทานยาคุมกำเนิดต่อเนื่อง เมื่อหยุดใช้ยาคุมกำเนิดจะส่งผลให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างทันที ส่งผลให้เกิดภาวะผมร่วง  Tologen Effluvium เช่นเดียวกับที่อธิบายไปข้างต้นนั่นเอง

  • วิธีการดูแลตัวเองเมื่อเกิดภาวะผมร่วงจากยาคุมกำเนิด

       แม้ว่าอาการผมร่วงจากยาคุมกำเนิดจะไม่ได้รุนแรงมาก แต่การที่ผมร่วงมากขึ้นในทุกวันสามารถส่งผลให้เกิดความเครียดสะสมได้ การปฏิบัติตัวในช่วงที่มีความเครียดจากภาวะผมร่วง ควรเริ่มต้นจากการดูแลสุขภาพจากภายในก่อน เช่น การรับประทานวิตามิน เพื่อป้องกันการขาดวิตามินหรือแร่ธาตุ รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ สดใหม่ เช่น ผักและผลไม้ที่อุดม วิตามิน แร่ธาตุ และอย่าลืมรับประทานโปรตีนและแคลอรี่ให้เพียงพอก็มีส่วนช่วยป้องกันภาวะผมร่วงได้ 

       ความเครียดทำให้ผมร่วงได้ เพราะความเครียดส่งผลให้รากผมระยะ Anagen Phase หยุดการเจริญติบโต ดังนั้นพยายามลดความเครียดให้น้อยที่สุด สุดท้ายหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำร้ายเส้นผม อาทิ การใช้ความร้อนที่รุนแรง การใช้สารเคมี การจัดแต่งทรงผม หรือการปฏิบัติอื่นๆ ที่ส่งผลเสียต่อเส้นผม และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อเส้นผม  จะช่วยส่งผลลดการหลุดร่วงได้เช่นกัน

  • วิธีการรักษาภาวะผมร่วงจากยาคุมกำเนิด

       หากใครกำลังมีปัญหาผมร่วงจากการใช้ยาคุมกำเนิด โดยอาการไม่ดีขึ้นเอง แนะนำพบแพทย์เพื่อรับการรักษาดังนี้

  • เปลี่ยนชนิดยาคุมกำเนิด

       หากสาเหตุของผมร่วงเกิดจากยาคุมกำเนิด แพทย์มักแนะนำให้เปลี่ยนชนิดยาคุมกำเนิด หรืออาจจะแนะนำให้เปลี่ยนวิธีคุมกำเนิดแบบที่ไม่ใช้ฮอร์โมนแทน เช่น ถุงยางอนามัย 

  • รับประทานวิตามินบำรุงผมและใช้แชมพูสูตรอ่อนโยน

       แนะนำวิตามินบำรุงผมเช่น ซิงค์ ไบโอติน และธาตุเหล็ก ซึ่งมีส่วนช่วยให้รากผมแข็งแรงและทำให้วงจรการงอกของเส้นผมกลับมาปกติเร็วขึ้นได้  ในช่วงผมร่วงหมอแนะนำให้เลือกใช้แชมพูสูตรอ่อนโยนที่ไม่มีสารก่อการระคายเคือง เช่น น้ำหอม ซิลิโคน พาราเบน ซัลเฟต ก็จะช่วยถนอมหนังศีรษะและไม่ทำให้ผมร่วงเพิ่มเติมจากการแพ้แชมพูได้

แชมพู ลด ผมร่วง

  • ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบจากรากโสม

       โสมมีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตของหนังศีรษะ กระตุ้นการทำงานของ DP cell (Dermal papilla cell) ซึ่งเป็นเซลล์ที่สำคัญในการงอกของเส้นผม ช่วยยืดอายุผมระยะเติบโตให้นานขึ้น และยังช่วยยับยั้งฮอร์โมนเพศชายDHT บริเวณรากผม ส่งผลให้ผมร่วงน้อยลง

แชมพู ลด ผม ร่วง
สารสกัดธรรมชาติ ลด ผมร่วง

  • Minoxidil รูปแบบทา/ทาน

       กรณีผมร่วงไม่ดีขึ้นเอง และมีปัญหาร่วงจนเกิดภาวะผมบาง แนะนำใช้การรักษาด้วยยากลุ่ม Minoxidil ที่ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และกระตุ้นการเกิดใหม่ของรากผมระยะเติบโต (Anagen phase) และยืดอายุให้ผมระยะเติบโตอยู่ได้นานมากขึ้น ส่งผลให้กระตุ้นการงอกของเส้นผมและลดผมร่วงได้

  • PRP/PRF/PLACENTECH

       ปัจจุบันมีงานวิจัยที่สนับสนุนว่าการใช้โกรทแฟคเตอร์สกัดไม่ว่าจะสกัดจากเลือดของคนไข้เองเช่น PRP/PRF matrix หรือสกัดจากห้องปฏิบัติการ เช่น PLACENTECH สามารถช่วยฟื้นฟูรากผมที่อ่อนแอให้กลับมาแข็งแรง และช่วยลดผมร่วงได้

       แสงเลเซอร์ความถี่ต่ำLow level laser therapy เหมาะกับรายที่มีปัญหาผมร่วงผมบางที่ยังไม่มีศีรษะล้าน โดยกลไกการทำงานคือ แสงเลเซอร์จะปลดปล่อยพลังงานที่จำเพาะกับรากผม ทำให้กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ส่งผลให้รากผมแข็งแรง ลดผมร่วง และช่วยรักษาภาวะผมบางได้ โดยปัจจุบันมีการผลิตหมวกเลเซอร์ที่สามารถทำเองได้ที่บ้าน โดยแนะนำทำ 3 ครั้ง/สัปดาห์

*บทความลิขสิทธิ์ โดย บริษัท เกศา กรุ๊ป ประเทศไทย จำกัด*

สิว บนหัวเกิดจากอะไร?

สิว บนหัวหรือ สิวบริเวณหนังศีรษะ ทางการแพทย์เรียกว่า โรครูขุมขนอักเสบ (Scalp Folliculitis)

เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของรูขุมขนบนหนังศีรษะ ทำให้เกิดตุ่มหนองเล็กๆ ที่คันและเจ็บบนหนังศีรษะ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน เนื่องจากอาการคันจะส่งผลให้มีการแกะเกาจนเกิดเป็นสะเก็ดแผลตามมาได้

สิว

สาเหตุของของการเกิด สิวบนหัว

สาเหตุยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากการตอบสนองต่อปฏิกิริยาการอักเสบของรูขุมขน โดยมีความสัมพันธ์กับเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆดังนี้

  1. เชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus 
  2. ยีสต์ สายพันธุ์ Malassezia
  3. ตัวไร (Demodex Folliculorum)

การรักษา สิวบนหัว

  1. เปลี่ยนแชมพูเป็นสูตรอ่อนโยน ที่ไม่มีสารก่อการระคายเคือง ปราศจากน้ำหอม พาราเบน SLS/SLES ซิลิโคน เนื่องจากสารประกอบเหล่านี้อาจทำให้เกิดอาการแพ้สัมผัส และอุดตันหนังศีรษะกรณีล้างออกไม่หมด ทำให้เกิด สิวบนหัว หรือหนังศีรษะตามมาได้ 
  2. ในรายที่สิวบนหัวเกิดจากยีสต์ Malassezia แชมพูรักษาเชื้อรากลุ่ม Ketoconazole shampoo ก็สามารถช่วยได้ โดยแนะนำสระผมด้วยแชมพู Ketoconazole 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ เพื่อลดปริมาณยีสต์บนหนังศีรษะ สามารถใช้สลับกับแชมพูสูตรอ่อนโยนได้
  3. หากจำเป็นต้องใช้ครีมนวด แนะนำใช้เฉพาะปลายผม เนื่องจากครีมนวดมักมีส่วนผสมที่ทำให้เกิดสิวตามมาได้ หากล้างออกไม่หมด
  4. สระผมและล้างออกด้วยน้ำเปล่าให้สะอาด โดยเฉพาะบริเวณท้ายทอยที่มักเกิดแชมพูตกค้างทำให้เกิดสิวตามมาได้ และเป่าผมให้แห้งทุกครั้ง
  5. หลีกเลี่ยงจากใช้สารเคมีบนหนังศีรษะเป็นประจำ เพื่อลดการเกิดสิวจากสารเคมีอุดตัน
  6. ในช่วงที่สิวบนหัวกำเริบ สามารถใช้ยาปฏิชีวนะรูปแบบทาเช่น Clindamycin lotion, Mupirocin, Fucidic acid ทาบริเวณหัวสิวร่วมด้วย แต่ในรายที่มีอาการมาก เช่นมีสิวบนหัวปริมาณมาก ตุ่มใหญ่ แนะนำพบแพทย์เพื่อรับยาปฏิชีวนะรูปแบบรับประทาน
  7. หากมีอาการคัน สามารถรับประทานยาแก้แพ้ แก้คันร่วมด้วยได้

แชมพู
ketoconazole shampoo
ขั้นตอนการสระผม

*บทความลิขสิทธิ์ โดย บริษัท เกศา กรุ๊ป ประเทศไทย จำกัด*

บทความแนะนำ : แพ้แชมพู ผมร่วงหนักมาก

เป็น สิว กรอบหน้า เพราะ แพ้แชมพู

เชื่อว่าหลายต่อหลายคนเคยประสบปัญหา เป็น สิว กรอบหน้า เพราะ แพ้แชมพู เนื่องจากมีสารเคมีตกค้างบริเวณใบหน้า เพราะล้างหน้าไม่สะอาด วันนี้คุณหมอจะพามาทำความเข้าใจปัญหาและบอกเคล็ดลับการดูแลตัวเองให้ใบหน้าของทุกคนใส ไร้สิว กันค่ะ

เป็นสิวกรอบหน้า เพราะแพ้แชมพู

สิวกรอบหน้าคืออะไร?

     สิวบริเวณหน้าผาก ไรผม หลังหู บริเวณคาง มีชื่อเรียกรวมๆ กันว่า “สิวกรอบหน้า” หนึ่งในสาเหตุของการเกิดสิวกรอบหน้าอาจมาจากผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น แชมพู ครีมนวดผม และผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผม ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนสามารถทำให้เกิดสิวอุดตันและสิวอักเสบได้  สิวประเภทนี้มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า “สิวจากเครื่องสำอาง” 

ทำไมผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมบางชนิดจึงทำให้เกิดสิวกรอบหน้า

     ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมตามท้องตลาดมักมีส่วนผสมของน้ำมันสังเคราะห์และซิลิโคน ที่มีคุณสมบัติช่วยเคลือบให้เกิดความลื่นเงาของเส้นผม ทำให้เส้นผมนุ่มลื่น  เมื่อใช้ติดต่อกันแล้วล้างออกไม่หมดจะส่งผลให้เกิดการอุดตันของรูขุมขน เป็นต้นเหตุของการเกิดสิวบริเวณหนังศีรษะ กรอบหน้าและสิวบริเวณท้ายทอยได้ 

     นอกจากสาเหตุจากการอุดตันแล้ว ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมส่วนใหญ่ที่มีกลิ่นหอมยังมีส่วนผสมของน้ำหอมสังเคราะห์ (กลิ่นที่เกิดจากการใช้สารเคมีมาผสมกัน) ซึ่งก่อให้เกิดการระคายเคือง เกิดเป็นผื่น/สิวบริเวณกรอบหน้าและสิวบริเวณหนังศีรษะได้ 

ตัวอย่างชื่อซิลิโคนที่ใส่ในฉลากสินค้า

Dimethicone, Cetyl Dimethicone, Cyclomethicone, Cetearyl Methicone, Dimethiconol, Stearyl Dimethicone, Trimethylsilylamodimethicone Amodimethicone, Cyclopentasilloxane

ตัวอย่างชื่อน้ำหอมที่ใส่ในฉลากสินค้า

Fragrance, Perfume

วิธีป้องกันการเกิดสิวกรอบหน้า

     แนะนำเลือกผลิตภัณฑ์ที่ปราศจาก ซิลิโคน น้ำมัน และ น้ำหอมสังเคราะห์ (Free Silicone, Free Synthetic oil, Free Perfume) หรือมองหาตราสัญลักษณ์ Dermatologically Tested ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ยืนยันว่า ผลิตภัณฑ์ผ่านการทดสอบความปลอดภัยต่อผิวภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนัง แต่หากรักษาด้วยการหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่เป็นสาเหตุของการเกิดสิวแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 6 สัปดาห์ ควรพบแพทย์ผิวหนังเพื่อรับการรักษาปัญหา เป็นสิวกรอบหน้าส เพราะแพ้แชมพู เพิ่มเติมต่อไป

เป็นสิวกรอบหน้า เพราะแพ้แชมพู

เป็นสิวกรอบหน้า เพราะแพ้แชมพู

สระผมถูกวิธีก็ช่วยลดการเกิดสิวกรอบหน้า

     หากต้องการให้ผิวหน้าใส ไร้สิว หมอแนะนำสระผมให้สะอาด เพื่อล้างสารตกค้างจากผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมออกให้หมด  และนอกจากนี้ควรทำความสะอาดบริเวณที่หนังศีรษะสัมผัสกับปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน หมวก และที่คาดผม เพื่อให้ใบหน้าหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารตกค้างเหล่านั้นน้อยที่สุด

เป็นสิวกรอบหน้า เพราะแพ้แชมพู

*บทความลิขสิทธิ์ โดย บริษัท เกศา กรุ๊ป ประเทศไทย จำกัด*

บทความแนะนำ : แพ้แชมพู ผมร่วงหนักมาก

แพ้แชมพู ผมร่วงหนักมาก

แพ้แชมพู เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดผมร่วงผิดปกติ หนังศีรษะก็เหมือนผิวบริเวณอื่นของร่างกาย เมื่อเจอสารที่ระคายเคืองก็จะแสดงอาการแพ้ออกมา ทางการแพทย์เรียกว่า อาการแพ้สัมผัส(contact dermatitis)  โดยอาการแพ้แชมพูจะประกอบไปด้วย อาการคัน มีตุ่มสิว ตุ่มน้ำใส หนังศีรษะลอกเป็นแผ่น ถ้าหนังศีรษะอักเสบมากๆก็จะส่งผลให้ผมร่วงผิดปกติตามมาได้ ดังนั้นใครที่มีปัญหาผมร่วง สาเหตุหนึ่งที่เจอได้คือการแพ้แชมพูนั่นเอง

     แชมพู และครีมนวด เป็นสารเคมีที่ต้องใช้กับหนังศีรษะเป็นประจำ เรียกได้ว่าใช้แทบทุกวันตลอดชีวิต ดังนั้นควรเลือกแชมพูที่มีความอ่อนโยนต่อหนังศีรษะมากที่สุด เหมือนเวลาที่เลือก skin care เราก็ยังต้องเลือกสูตรที่อ่อนโยนและเหมาะกับสภาพใบหน้าของเราให้มากที่สุด  เพื่อหลีกเลี่ยงอาการแพ้ที่จะนำไปสู่ปัญหาผมร่วงในอนาคตนั่นเอง

แพ้แชมพู ผมร่วง แชมพูลดผมร่วง แชมพูสูตรอ่อนโยน

เทคนิคการเลือกแชมพูสูตรอ่อนโยนเพื่อลดปัญหาแพ้แชมพู

  • แชมพูอ่อนโยน ควรปราศจากสารเคมีที่ก่อการระคายเคือง เนื่องจากสารเหล่านี้เมื่อใช้ระยะยาวจะมีการตกค้างบนหนังศีรษะทำให้เกิดการแพ้สัมผัสได้ ยกตัวอย่างสารเคมีในแชมพูที่อาจทำให้บางคนมีอาการแพ้ได้ ควรหลีกเลี่ยง

1. Silicone

สารเคมีสังเคราะห์ ช่วยเคลือบให้เกิดความลื่นเงาของเส้นผม คุณสมบัติล้างออกยาก และสามารถสะสมบนผิวหนังได้ เกิดการอุดตันบริเวณรูขุมขน ทำให้เกิดสิวบริเวณหนังศีรษะ กรอบหน้าและไรผม และสามารถกระตุ้นให้เกิดหนังศีรษะอักเสบได้ในบางคน

ตัวอย่างชื่อ Silicone ที่ใส่ในฉลากสินค้า
Dimethicone, Cetyl Dimethicone, Cyclomethicone, Cetearyl Methicone, Dimethiconol, Stearyl Dimethicone, Trimethylsilylamodimethicone Amodimethicone, Cyclopentasilloxane

2. Paraben

สารกันเสียที่พบมากในแชมพู ครีมนวด และโลชั่น ปัจจุบันสหภาพยุโรปได้ประกาศห้ามไม่ให้ใช้แล้ว เนื่องจากเชื่อว่าเป็นสารก่อมะเร็ง

3. SLS/SLES

สารทำให้เกิดฟองที่พบมากในแชมพู และครีมอาบน้ำ ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุตา และผิวหนัง มีคุณสมบัติชะล้างอย่างรุนแรงทำให้ผิวหนังแห้ง แพ้ง่าย เกิดสิวและผดผื่นคันได้ กรณีใช้ระยะยาวส่งผลให้ผมร่วงได้

ตัวอย่างชื่อ SLS/SLES ที่ใส่ในฉลากสินค้า
SLS(Sodium Lauryl sulfate), SLES(Sodium Lauryl ether sulfate), ลงท้ายด้วยคำว่า sulfate

4. Perfume 

แชมพูตามท้องตลาดที่มีกลิ่นหอมเวลาใช้ มักเป็นน้ำหอมกลิ่นสังเคราะห์(เกิดจากการผสมสารเคมีให้เกิดกลิ่น) อาจทำให้เกิดการระคายเคือง(contact dermatitis) ก่อให้เกิดหนังศีรษะอักเสบและผมร่วงตามมา แชมพูที่อ่อนโยนไม่ควรเติมน้ำหอมสังเคราะห์ กลิ่นหอมควรมาจากสารสกัดธรรมชาติถึงจะอ่อนโยนกับหนังศีรษะที่สุด แต่ข้อจำกัดคือการสกัดกลิ่นจากพืชธรรมชาตินั้นมีราคาค่อนข้างสูง 

ตัวอย่างชื่อ Perfume ที่ใส่ในฉลากสินค้า

Fragrance, Perfume

5. สารก่อการระคายเคืองอื่นๆที่พบได้บ่อยในผลิตภัณฑ์กลุ่มแชมพู

Alcohol, Color, Synthetic oil, Formaldehyde, Tricosan, Petroleum, Propylene glycol

แพ้แชมพู ผมร่วง แชมพูลดผมร่วง แชมพูสูตรอ่อนโยน

แพ้แชมพู ผมร่วง แชมพูลดผมร่วง แชมพูสูตรอ่อนโยน

  • ข้อเสียของแชมพูสูตรอ่อนโยน คือราคาค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับแชมพูตามท้องตลาด เนื่องจากส่วนประกอบที่นำมาใช้ทดแทนราคาค่อนข้างสูง อีกทั้งคุณสมบัติการก่อฟองจะไม่มาก สระแล้วฟองจะไม่ค่อยเยอะ ทำให้ผู้ใช้รู้สึกว่าสระแล้วไม่สะอาด เพราะเคยชินกับแชมพูที่มีฟองเยอะๆ แต่จริงๆแล้วแชมพูสูตรอ่อนโยนนั้นมีคุณสมบัติการชำระล้างดีเหมือนกัน และอ่อนโยนกับหนังศีรษะในระยะยาวมากกว่า แชมพูสูตรอ่อนโยนหลังใช้ผมจะไม่นุ่มลื่นเหมือนแชมพูท้องตลาด สามารถใช้ครีมนวดเฉพาะส่วนปลายผมได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการแพ้บริเวณหนังศีรษะ
  • แชมพูเด็กหรือแชมพูสมุนไพร ไม่ได้อ่อนโยนเสมอไป เพราะแชมพูเด็กและแชมพูสมุนไพรหลายยี่ห้อ ยังมีส่วนประกอบที่ก่อการระคายเคืองและสามารถตกค้างได้บนหนังศีรษะ เช่น SLS/SLES, Paraben, Perfume อีกทั้งแชมพูเด็กยังถูกออกแบบมาเพื่อหนังศีรษะเด็ก ซึ่งจะมีปริมาณต่อมไขมันน้อย เมื่อผู้ใหญ่นำมาใช้ จึงไม่สามารถขจัดความมันส่วนเกินออกได้ ส่งผลให้หนังศีรษะมีความมันและสิ่งสกปรกตกค้างได้ 

     สำหรับคนที่มีปัญหาแพ้ง่ายมากๆ ใช้แชมพูยี่ห้อไหนก็แพ้ไปหมด หมอแนะนำให้ทำ Patch test  ที่โรงพยาบาลเพื่อหาว่าแพ้สารเคมีตัวไหนกันแน่ ยกตัวอย่างบางคนแพ้สารกันเสียในแชมพู เมื่อทราบชื่อสารเคมีแน่ชัด ก็สามารถเลือกแชมพูสูตรที่ไม่มีสารกันเสียดังกล่าวได้ หรืออีกทางเลือกคือมองหาแชมพูยี่ห้อที่มีการส่งทดสอบ Dermatologically test หรือ Hypoallergenic tested ซึ่งจะบ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆเหมาะกับคนแพ้ง่ายค่ะ

แพ้แชมพู ผมร่วง แชมพูลดผมร่วง แชมพูสูตรอ่อนโยน

     หากใครมีปัญหาคันหนังศีรษะ มีสิว ตุ่มคัน หนังศีรษะลอกเป็นขุย ร่วมกับปัญหาผมร่วง ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของการแพ้แชมพู เบื้องต้นหากไม่สะดวกมาพบแพทย์ หมอแนะนำลองเปลี่ยนเป็นแชมพูสูตรอ่อนโยนดูนะคะ  แต่หากไม่ดีขึ้น อาการผมร่วงและปัญหาหนังศีรษะนั้นอาจเกิดจากโรคเกี่ยวกับหนังศีรษะ ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อใช้ยารักษาร่วมด้วย เนื่องจากแชมพูทั่วไปไม่สามารถแก้ปัญหาโรคผิวหนังได้นั่นเอง

*บทความลิขสิทธิ์ โดย บริษัท เกศา กรุ๊ป ประเทศไทย จำกัด*

บทความแนะนำ : ผมมันมาก ทำไงดี

ผมมัน ทำไงดี?

ผมมัน ทำไงดี?

ผมมัน หรือ หัวมัน (Oily scalp) เป็นปัญหาของคนไทยส่วนใหญ่ ส่งผลต่อบุคลิกภาพ และความมั่นใจ “หัวมันเยิ้ม  เพิ่งสระผมไปตอนเช้า ตกเย็นผมมันแล้ว เหมือนคนไม่สระผม ผมลีบแบนตลอดเวลา ดูเป็นคนผมบางไปเลย”

ผมมันง่าย ผมมันมาก ผมมัน หัวมัน

สาเหตุผมมันง่ายเกิดจากต่อมไขมันบริเวณหนังศีรษะผลิตไขมันจากธรรมชาติออกมามากผิดปกติ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ธรรมชาติต่อมไขมันของแต่ละบุคคล, ลักษณะเส้นผมตรงและเส้นเล็ก จะมีโอกาสพบปัญหาผมมันได้มากกว่าบุคคลที่มีผมเส้นหนาหรือหยิกหยักศก,  พฤติกรรมการสระผม เช่นการสระผมห่างเกินไป หรือสระผมถี่เกินวันละ 1 ครั้ง, การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมชะล้างรุนแรง เป็นต้น

คำแนะนำเพื่อป้องกันภาวะผมมัน/หัวมัน

  1. หากผมมันมาก แนะนำสระผมทุกวัน เพื่อสุขอนามัยและดูสะอาด แต่ไม่ควรสระผมเกิน 1 ครั้ง/วัน เนื่องจากการสระบ่อยเกินไป จะเป็นการกระตุ้นต่อมไขมันให้ทำงานมากขึ้น ส่งผลให้ผมมันได้
  2. ไม่ควรหวีผมบ่อย ควรหวีเพียงวันละ 2-3 ครั้งเท่านั้น
  3. ไม่ควรสระผมด้วยน้ำอุ่น เพราะน้ำอุ่นจะทำให้หนังศีรษะแห้ง ส่งผลให้ต่อมไขมันถูกกระตุ้น
  4. หากใช้ครีมนวด ให้ใช้เฉพาะส่วนของเส้นผม หลีกเลี่ยงการใช้บริเวณหนังศีรษะ เนื่องจากหากล้างไม่สะอาด จะทำให้ผมมันเร็วมากขึ้น
  5. หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผม เนื่องจากการตกค้างของผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะส่งผลให้ผมมันและร่วงได้
  6. เลือกแชมพูสูตรอ่อนโยนที่ปราศจากสารชะล้างรุนแรง เช่น SLS/SLES เนื่องจากการชะล้างที่รุนแรงจะทำให้ต่อมไขมันถูกกระตุ้นให้ผลิตน้ำมันออกมาทดแทน ส่งผลให้ผมมันได้
  7. เลือกแชมพูที่สามารถคุมความมันของหนังศีรษะได้ เช่น แชมพูที่มีส่วนผสมของ 2% คีโตโคนาโซล ,ซาลิไซลิก แอซิด 
  8. รับประทานวิตามินที่มีส่วนช่วยปรับสมดุลต่อมไขมันบริเวณหนังศีรษะ เช่น หญ้าหางม้า 

ผมมันง่าย ผมมันมาก ผมมัน หัวมัน

 

เทคนิคการสระผมที่ช่วยลดปัญหาผมมัน/หัวมัน

  1. ล้างน้ำเปล่าที่ศีรษะและเส้นผมอย่างน้อย 1-2 นาที
  2. ตีแชมพูให้เกิดฟองแล้วค่อยนำฟองมาสระผม เนื่องจากการบีบแชมพูลงบนหนังศีรษะแล้วขยี้ จะเป็นการกระตุ้นต่อมไขมันและเป็นการทำร้ายเส้นผม ทำให้ผมหลุดร่วงมากขึ้น
  3. ใช้ปลายนิ้วนวดคลึงให้ทั่วศีรษะเบาๆ ไม่เกาหรือขยี้แรงๆ
  4. หมักแชมพูที่ช่วยลดอาการหนังศีรษะมันอย่างน้อย 3-5 นาทีก่อนล้างออก เพื่อให้แชมพูออกฤทธิ์
  5. ล้างออกด้วยน้ำเปล่าตามทิศทางผม เน้นบริเวณท้ายทอย ที่มักจะมีแชมพูตกค้าง ทำให้เกิดอาการคัน และสิวบริเวณท้ายทอย
  6. เช็ดผมให้แห้ง ใช้ลมเย็นเป่าจนแห้งสนิท ไม่ควรใช้ลมร้อน และไม่ควรปล่อยผมให้เปียกชื้นเพราะจะทำให้เกิดเชื้อราบนหนังศีรษะ

ผมมันง่าย ผมมันมาก ผมมัน หัวมัน

*บทความลิขสิทธิ์ โดย บริษัท เกศา กรุ๊ป ประเทศไทย จำกัด*

บทความแนะนำ : โรคผมร่วงเป็นหย่อม Alopecia Areata

ดื่มแอลกอฮอล์เสี่ยงผมร่วง

สายปาร์ตี้ต้องรู้! ดื่มแอลกอฮอล์เสี่ยงผมร่วง

สายปาร์ตี้ต้องรู้ ดื่มแอลกอฮอล์เสี่ยงผมร่วง เชื่อว่าหลายต่อหลายคนรู้ดีว่าการดื่มแอลกอฮอล์เสี่ยงผมร่วง และสามารถนำไปสู่ความเจ็บป่วยทางร่างกายมากมาย อาทิ ตับอ่อนอักเสบ ปัญหาทางเดินอาหาร โรคหัวใจ และความดันโลหิตสูง แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ถ้าคุณเป็นคนดื่มหนักและมีปัญหาผมร่วง แอลกอฮอล์อาจจะเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เส้นผมของคุณร่วงมากขึ้นกว่าเดิม

โดย 2 สาเหตุหลักทั่วไปที่พบบ่อยที่สุดและมีเหตุผลตามหลักวิทยาศาสตร์ถึงสาเหตุของอาการผมร่วง คือ กรรมพันธุ์และความเครียด เนื่องจากผู้ชายศีรษะล้านล้วนมีลักษณะที่ถ่ายทอดมาจากพันธุกรรม อีกทั้งยังพบว่าความเครียดก็อาจส่งผลทำให้ผมร่วงและศีรษะล้าน นอกจากนี้หากคุณเป็นคนดื่มหนักและมีปัญหาผมร่วงมาจากปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย ก็จะส่งผลให้เกิดปัญหาได้เช่นกัน

ดื่มแอลกอฮอล์เสี่ยงผมร่วง
สาเหตุหลักของการดื่มแอลกอฮอล์ที่ทำให้ผมร่วงมีดังนี้

1. การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก ทำให้ระดับสังกะสีและธาตุเหล็กในร่างกายลดลง สังกะสีและธาตุเหล็กมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม เพราะแร่ธาตุทั้ง 2 ชนิด ถูกนำมาใช้ในกระบวนการสร้างเคราติน ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่สำคัญต่อรูขุมขนบนหนังศีรษะ หากร่างกายขาดสังกะสีและธาตุเหล็ก จะส่งผลให้การเจริญเติบโตของเส้นผมทำงานผิดปกติ ผมขาดหลุดร่วงได้ง่าย

2. การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก อาจทำให้ระดับกรดโฟลิกลดลง ซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับเส้นผมที่แข็งแรงและมีสุขภาพดี ยิ่งไปกว่านั้นแอลกอฮอล์สามารถส่งผลต่อการดูดซึมกรดโฟลิก และเพิ่มการขับกรดโฟลิกในปัสสาวะ โดยการขาดกรดโฟลิกอาจทำให้ผมอ่อนแอและเปราะบางได้

3. การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก อาจทำให้ร่างกายขาดน้ำ เนื่องจากแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ซึ่งหมายความว่าจะเพิ่มการผลิตปัสสาวะทำให้ร่างกายขาดน้ำ ส่งผลให้หนังศีรษะเกิดรังแคและผมแห้งเปราะบางได้

4. การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก ทำให้ตับอักเสบ ส่งผลให้สารพิษสะสมในเลือด และรบกวนการสร้างน้ำดี ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการย่อยอาหารและดูดซึมลดลง ผู้ติดสุราขั้นรุนแรงจำนวนมาก จึงมักประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการ ทำให้ขาดแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการงอกของเส้นผม ดังนั้นเส้นผมจึงเปราะ แห้ง สีซีด และหลุดร่วงง่าย

5. การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก ส่งผลให้เกิดการบริโภคสารกันบูดและสารเติมแต่งที่มีอยู่ในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น ส่วนประกอบเหล่านี้สามารถส่งผลทางอ้อมต่อเส้นผม สูตรแอลกอฮอล์ส่วนใหญ่มีสารกันบูดและสารปรุงแต่งที่ใช้เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียในเครื่องดื่ม แต่ก็ส่งผลต่อแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ได้อีกด้วย เมื่อแบคทีเรียที่ดีในลำไส้ลดลง จะส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพมากมายที่นำไปสู่การหลุดร่วงของเส้นผมตามมา

6. การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก จะส่งผลให้นอนหลับยากและเพิ่มความเครียด อีกทั้งยังลดการนอนหลับระยะ REM ซึ่งเป็นระยะการนอนหลับที่มนุษย์ต้องการ เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนเต็มที่ โดยการนอนหลับที่มีคุณภาพลดลงมักส่งผลให้เกิดอาการเหนื่อยล้า หงุดหงิด และวิตกกังวล นำไปสู่การหลุดร่วงของเส้นผม

หากคุณกำลังประสบปัญหาผมร่วง อันเนื่องมาจากการดื่มแอลกอฮอล์ ทางออกที่ดีที่สุดคือการงดเว้น หรือมองหาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีแร่ธาตุสังกะสีและธาตุเหล็ก เพื่อช่วยบำรุงเส้นผม แต่สำหรับใครที่มีปัญหาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน เกินที่จะแก้ไขด้วยวิธีการบำรุงด้วยวิตามินแล้ว แนะนำให้รักษากับคุณหมอ เพื่อแก้ปัญหาได้ตรงจุดเหมาะกับปัญหาเส้นผมของแต่ละคนค่ะ

*บทความลิขสิทธิ์ โดย บริษัทเกศากรุ๊ป ประเทศไทย จำกัด*

บทความแนะนำ : รู้หรือไม่? บุหรี่ทำให้ผมร่วง!

ผมร่วง หลังติดเชื้อ โควิด

ผมร่วง หลังติดเชื้อ โควิด เป็นปัญหาที่หลายคนกำลังเผชิญ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด 19 หลังหายป่วยมักจะเจอปัญหาผมร่วงรุนแรงได้ ภาวะนี้เรียกว่าภาวะผมร่วงทั่วศีรษะ (Telogen Effluvium) เกิดจากการติดเชื้อโควิด ทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและฉับพลัน ส่งผลให้วงจรผมที่เป็นระยะเติบโต (Anagen Phase) เปลี่ยนเป็นผมระยะหลุดร่วง (Telogen Phase) โดยผมระยะหลุดร่วงจะหมดอายุขัยภายใน 3 เดือน แล้วหลุดร่วงออกจากหนังศีรษะ ซึ่งจะร่วงได้ถึงวันละ 150-700 เส้น ซึ่งมากกว่าปกติที่จะร่วงวันละไม่เกิน 100 เส้น เส้นผมจะเริ่มร่วงชัดเจนหลังเกิดภาวะเจ็บป่วยประมาณเดือนที่ 3 ซึ่งเป็นภาวะเดียวกับกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ที่คลอดบุตรแล้วมีปัญหาผมร่วงหลังคลอดช่วงเดือนที่ 3 นั่นเอง

ผมร่วงหลังติดเชื้อโควิด

นอกจากโควิด19 แล้ว ยังมีภาวะการเจ็บป่วยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดภาวะผมร่วงทั่วศีรษะได้ ยกตัวอย่างเช่น
1. การเสียเลือดปริมาณมาก
2. หลังคลอดบุตร
3. ภาวะการเจ็บป่วยรุนแรง เช่น ไข้เลือดออก ติดเชื้อในกระแสเลือด
4. ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น โรคไตวายเรื้อรัง โรคมะเร็ง
5. การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว
6. ยาบางประเภท เช่น ยารักษาสิวอนุพัธุ์วิตามินเอ ยารักษาโรคทางจิตเวช ยากันชัก ยาลดความดัน ยาเคมีบำบัด เป็นต้น
โดยทั่วไปผมจะเริ่มร่วงประมาณเดือนที่3 หลังจากเกิดสาเหตุกระตุ้น

       มีรายงานว่าผู้ป่วยที่หายจากการป่วยโควิด-19 เริ่มมีผมร่วงได้เร็วกว่าภาวะเจ็บป่วยอื่นๆ คือเริ่มร่วงได้เร็วสุดตั้งแต่เดือนที่ 1 หลังการเจ็บป่วย และพบทั้งในเพศชายและหญิง ซึ่งสันนิษฐานว่าโรคโควิด19ส่งผลให้ร่างกายมีการหลั่งสารการอักเสบออกมามากกว่าโรคอื่นๆ อีกทั้งโรคโควิดยังทำให้เกิดความเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจตลอดการเจ็บป่วย ส่งผลให้เกิดภาวะผมร่วงทั่วศีรษะ Telogen Effluvium ที่รุนแรงและเกิดได้เร็วมากกว่าภาวการณ์เจ็บป่วยอื่นๆนั่นเอง

       หากใครกำลังมีปัญหาผมร่วงหลังติดเชื้อโควิด หมอแนะนำว่าไม่ต้องกังวลนะคะ เพราะภาวะนี้จะค่อยๆดีขึ้นเอง ผมจะร่วงประมาณ 3-6 เดือน หลังจากนั้นจะค่อยๆหยุดร่วงและกลับมางอกตามเดิมหลังสาเหตุกระตุ้นหมดไป หากต้องการให้ผมงอกเร็วขึ้น สามารถใช้ยาทากลุ่ม Minoxidil ทาร่วมด้วยได้ในช่วงที่ผมเริ่มหยุดร่วง การทายา Minoxidil อาจจะทำให้เกิดผมร่วงในช่วงแรกๆที่ใช้ยาได้ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนเนื่องจากไม่ใช่คนไข้ทุกรายที่จำเป็นต้องใช้การรักษาเสริมอื่นๆที่สามารถทำได้คือการรับประทานวิตามินที่ช่วยบำรุงรากผม เช่น ซิงค์ ไบโอติน และธาตุเหล็ก ซึ่งมีส่วนช่วยให้รากผมแข็งแรงและทำให้วงจรการงอกของเส้นผมกลับมาปกติเร็วขึ้นได้ ส่วนแชมพูไม่สามารถลดผมร่วงจากสาเหตุนี้ได้โดยตรง แต่หากอยู่ในช่วงผมร่วง หมอแนะนำให้เลือกใช้แชมพูสูตรอ่อนโยนที่ไม่มีสารก่อการระคายเคือง เช่น น้ำหอม ซิลิโคน พาราเบน ซัลเฟต ก็จะช่วยถนอมหนังศีรษะและไม่ทำให้ผมร่วงเพิ่มเติมจากการแพ้แชมพูได้

ผมร่วงหลังติดเชื้อโควิด

ผมร่วงหลังติดเชื้อโควิด

       แต่ในรายที่เป็นรุนแรง ผมไม่หยุดร่วงใน 3-6 เดือน  แนะนำเข้ามาพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยแยกจากโรคอื่นๆที่สามารถทำให้เกิดผมร่วงทั่วศีรษะได้เช่น ภาวะโลหิตจาง ภาวะพร่องธาตุเหล็ก โรคไทรอยด์ โรคแพ้ภูมิตัวเอง เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

ผมร่วงหลังติดเชื้อโควิด

*บทความลิขสิทธิ์ โดย บริษัทเกศากรุ๊ป ประเทศไทย จำกัด*

บทความแนะนำ : 9 อาหารลดผมร่วง

ผงชูรส ทำให้ ผมร่วง?

“ผงชูรส ทำให้ ผมร่วง” เชื่อว่าหลายๆ คน คงเคยได้ยินประโยคนี้มาตั้งแต่เด็กๆ ความเชื่อจากรุ่นสู่รุ่นที่ผู้ใหญ่มักห้ามเรา เพียงเพราะไม่อยากให้เรารับประทานผงชูรสมากเกินไป เนื่องจากการรับประทานผงชูรสมากเกินไปจะทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมในปริมาณมาก ส่งผลต่อโรคต่างๆ ที่จะตามมา เช่น โรคไตเสื่อม โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ

 

ผงชูรส ทำให้ผมร่วง

 

ปัจจุบันยังไม่มีงานวารสารทางการแพทย์หรือวิจัยที่ชี้ชัดว่า “ผงชูรส ทำให้ผมร่วง” แต่อย่างใด หลายต่อหลายคนเอาอาการผมร่วงมาเชื่อมโยงหาสาเหตุจากการกิน ซึ่งความเป็นจริงแล้ว อาการผมร่วงเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากกรรมพันธุ์ ภาวะเจ็บป่วยไม่สบาย โรคประจำตัว เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ โรคโลหิตจาง โรคแพ้ภูมิตัวเอง รวมไปถึงความเครียด

ดังนั้น ความเชื่อที่บอกว่า ผงชูรส ทำให้ผมร่วง จึง “ไม่เป็นความจริง” เมื่อรู้อย่างนี้แล้วก็ทานอาหารให้เต็มที่กันเลย แต่ก็ต้องเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์และมีสารอาหารครบถ้วนที่จำเป็นต่อร่างกายและเส้นผมด้วยนะครับ

อาหารที่เหมาะกับเส้นผมที่ควรเลือกรับประทาน สามารถอ่านได้ที่ >>> https://www.kesahair.com/9อาหาร หยุดอาการผมร่วง

*บทความลิขสิทธิ์ โดย บริษัทเกศากรุ๊ป ประเทศไทย จำกัด*

ผมหาย อยากได้คืน

ผมหาย อยากได้คืน

“ผมหาย อยากได้คืน” หนึ่งในปัญหาด้านเส้นผมที่ทำให้คนไทยและคนทั่วโลกหลายต่อหลายคนกังวลใจมากที่สุดก็คือ การผมร่วง แม้จะไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกายโดยตรง แต่มีผลกระทบต่อสภาพจิตใจและบุคลิกอย่างแน่นอน สำหรับผู้ที่ประสบปัญหาผมร่วงหนัก อยากหาวิธีแก้ผมร่วงที่เหมาะสมและปลอดภัย

ผมหาย อยากได้คืน

วันนี้ Kesahair มีวิธีรักษาผมร่วง โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตัวคุณเองอย่างได้ผล มาฝากทุกคนกัน

  1. รับประทานอาหารที่ประโยชน์ต่อรากผม เช่น โปรตีนคุณภาพดี, อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เนื้อสัตว์ ตับ ธัญพืช ไข่แดง
  2. เลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะนิโคตินในบุหรี่ทำให้ผมร่วงและบางได้
  3. อย่าสระผมบ่อยเกินไป ใช้แชมพูชนิดอ่อนโยน และไม่ควรสระเกินวันละ 1 ครั้ง
  4. อย่าเครียดมาก หาเวลาผ่อนคลาย สร้างรอยยิ้ม หรือออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย
  5. หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีและความร้อนกับเส้นผม รวมทั้งหาเวลาบำรุงเส้นผมบ้าง

สำหรับใครที่กำลังมีปัญหาผมร่วง ผมบาง ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม อย่ารอให้ปัญหาขยายกว้าง เพียงแก้ปัญหาให้ถูกจุด เกศา แฮร์โซลูชั่น คลินิกของเรา ยินดีช่วยดูแล แก้ไขปัญหาเส้นผมให้ทุกท่านได้ทุกสาเหตุ ช่วยกู้ปัญหาผมเสียให้กลับมาสวยได้ดังเดิมได้ไม่ยากอย่างที่คิดแน่นอน อย่าลืมลองเข้ามาปรึกษากันดูนะคะ   

เกร็ดความรู้เส้นผม

–  คนปกติมีเส้นผมบนหนังศีรษะ 90,000-140,000 เส้น (เฉลี่ยประมาณ 100,000 เส้น)
– ผู้ใหญ่ผมยาวได้วันละประมาณ 0.35 มิลลิเมตร ดังนั้น 1 เดือนจะยาวประมาณ 1 เซนติเมตร
– เด็กผมยาวเร็วกว่าผู้ใหญ่ โดยจะยาววันละ 0.41 มิลลิเมตร และผู้หญิงผมยาวเร็วกว่าผู้ชาย 0.02 มิลลิเมตร/วัน
– ในคนปกติผมร่วงได้ไม่เกิน 100 เส้น แต่ถ้าวันไหนสระผม อาจร่วงเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า คือไม่เกิน 200 เส้น/วัน
– 1 รากผมจะมีเส้นผมได้ตั้งแต่ 1-4 เส้น

ดังนั้นการรักษาภาวะผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน หรือแม้กระทั่งการปลูกผม จึงต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3-6 เดือนจึงจะเห็นการเปลี่ยนแปลงนั่นเอง                                

*บทความลิขสิทธิ์ โดย บริษัทเกศากรุ๊ป ประเทศไทย จำกัด*

บทความแนะนำ : เกร็ดความรู้เกี่ยวกับเส้นผม

สูบบุหรี่ ทำให้ ผมร่วง!

“สูบบุหรี่ ทำให้ ผมร่วง” บุหรี่ ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่มวน หรือบุหรี่ไฟฟ้า จะมีสารที่เรียกว่า “นิโคติน” เป็นส่วนประกอบ ซึ่งสารนิโคตินมีฤทธิ์ในการหดเส้นเลือดทั่วทั้งร่างกาย (vasoconstriction) โดยเฉพาะเส้นเลือดระดับจุลภาค เช่น เส้นเลือดหัวใจ เส้นเลือดสมอง รวมไปถึงเส้นเลือดที่เลี้ยงรากผม ส่งผลให้การส่งเลือดไปเลี้ยงรากผมลดลง ทำให้รากผมไม่แข็งแรง เส้นผมขาดหลุดร่วงได้ง่าย เกิดปัญหาผมร่วงและผมบางตามมา

การศึกษาและการทำวิจัยในต่างประเทศพบว่า คนที่สูบบุหรี่สามารถเกิดผมร่วง ผมบาง ได้มากกว่าและเร็วกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ คนที่วางแผนปลูกผม คุณหมอจึงแนะนำให้หยุดสูบบุหรี่ทุกชนิด อย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการปลูกผม และหลังจากปลูกผมต้องงดสูบบุหรี่ต่ออย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพื่อลดการหดตัวของเส้นเลือดบริเวณหนังศีรษะ ระยะยาว หากเป็นไปได้คุณหมอจะแนะนำให้เลิกบุหรี่ทุกราย เนื่องจากสารนิโคตินส่งผลให้ผมที่ย้ายมาปลูกมีขนาดเล็กกว่าปกตินั่นเอง

สูบบุหรี่ทำให้ผมร่วง

รู้แบบนี้แล้ว…ถ้าไม่อยากผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน ก็ต้องรีบ ลด ละ เลิก บุหรี่กันได้แล้วนะครับ นอกจากจะส่งผลเสียมากมายต่อสุขภาพร่างกายแล้ว ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพเส้นผมอีกด้วย

เกร็ดความรู้เส้นผม

–  คนปกติมีเส้นผมบนหนังศีรษะ 90,000-140,000 เส้น (เฉลี่ยประมาณ 100,000 เส้น)
– ผู้ใหญ่ผมยาวได้วันละประมาณ 0.35 มิลลิเมตร ดังนั้น 1 เดือนจะยาวประมาณ 1 เซนติเมตร
– เด็กผมยาวเร็วกว่าผู้ใหญ่ โดยจะยาววันละ 0.41 มิลลิเมตร และผู้หญิงผมยาวเร็วกว่าผู้ชาย 0.02 มิลลิเมตร/วัน
– ในคนปกติผมร่วงได้ไม่เกิน 100 เส้น แต่ถ้าวันไหนสระผม อาจร่วงเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า คือไม่เกิน 200 เส้น/วัน
– 1 รากผมจะมีเส้นผมได้ตั้งแต่ 1-4 เส้น

ระยะการเจริญเติบโตของเส้นผม

• ระยะ Anagen hair เส้นผม 90% บนหนังศีรษะจะอยู่ในระยะนี้ โดยจะมีอายุขัย 2-3ปี
• ระยะ Catagen&Telogen จะเป็นระยะที่หยุดเจริญเติบโต มีอายุขัย ประมาณ 3 เดือนแล้วหลุดร่วงไป
• ระยะหลังจากผมหลุดร่วง ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3-6 เดือนกว่าจะมีผมงอกใหม่ให้เห็นด้วยตาเปล่า

ดังนั้นการรักษาภาวะผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน หรือแม้กระทั่งการปลูกผม จึงต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3-6 เดือนจึงจะเห็นการเปลี่ยนแปลงนั่นเอง

*บทความลิขสิทธิ์ โดย บริษัทเกศากรุ๊ป ประเทศไทย จำกัด*

https://www.facebook.com/kesahair

บทความแนะนำ : 9 อาหาร หยุดอาการผมร่วง

Verified by MonsterInsights