คนสงสัยคำว่า “กราฟ” เป็นชื่อเรียกอะไร?!

กราฟ คือ อะไร

กราฟ ในที่นี้พูดถึง จำนวนกอผมที่ใช้ปลูกค่ะ ใน 1 กราฟ นั้น อาจจะมีเส้นผม 1, 2, 3, 4 หรือ 5 เส้นก็ได้ ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของแต่ละคนแตกต่างกันไป แต่โดยส่วนมาก มักพบแค่กอละ 2 เส้น และ 3 เส้นเป็นส่วนใหญ่

การปลูกผมแบบ Follicular unit extraction คือการย้ายรากผมทีละกอ ( กราฟ ) เพื่อนำมาปลูกยังบริเวณที่ต้องการ โดยเทคนิค NNN จะมีการตกแต่ง กราฟ ให้เป็นต้นเดี่ยวเพื่อทำให้ไรผมเป็นธรรมชาติสูงสุด เนื่องจากขนาด กราฟ มีการตกแต่งให้ขนาดเล็กลง จึงปลูกได้ความหนาแน่นสูงและแผลเล็ก ฟื้นตัวไว

*บทความลิขสิทธิ์ โดย บริษัทเกศากรุ๊ป ประเทศไทย จำกัด*

บทความแนะนำ : เกร็ดความรู้เกี่ยวกับเส้นผม

เซราไมด์คืออะไร

เซราไมด์คืออะไร

เซราไมด์

เซราไมด์ (Ceramide) เป็นสารจำพวกไขมันที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์ พบได้ที่ผิวหนังชั้นบนสุด(epidermis) ติดกับชั้นเคราติน ทำหน้าที่เกราะปกป้องผิวจากสิ่งแปลกปลอมภายนอก และช่วยให้ผิวอุ้มน้ำและคงความชุ่มชื้นของผิวให้เป็นปกติ

โดยธรรมชาติเมื่อมีอายุมากขึ้น เซราไมด์จะค่อยๆมีปริมาณลดน้อยลง จึงส่งผลให้สภาพผิวมีการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ส่งผลเซราไมด์ในผิวลดลง เช่น แสงแดด ความเครียด พันธุกรรม หากผิวเกิดการขาดเซราไมด์ จะส่งผลให้ผิวแห้งแตกง่าย เกิดริ้วรอยตีนกา รอยเหี่ยวย่นก่อนวัย อีกทั้งยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดจุดด่างดำ ฝ้า กระ บนผิวขึ้นอีกด้วย

หน้าที่สำคัญของเซราไมด์

-เป็นตัวเชื่อมให้เคราตินของผิวชั้นบนเรียงตัวกันอย่างมีระเบียบ
-ช่วยปกป้องให้ผิวแข็งแรง และป้องกันเชื้อโรคต่างๆเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนัง
-ช่วยลดการอักเสบของผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย ผื่นผิวหนังอักเสบ
-ลดการสูญเสียน้ำของผิว ช่วยให้ผิวสามารถเก็บกักความชุ่มชื้นได้ดี ทำให้ผิวชุ่มชื้นเปล่งปลั่ง

*บทความลิขสิทธิ์ โดย บริษัทเกศากรุ๊ป ประเทศไทย จำกัด*

ผมร่วงเยอะมากทำไงดี???

หมอเชื่อว่า ทุกคนต้องมีปัญหาผมร่วง โดยเฉพาะผู้หญิง เดินไปที่ไหน ทุกซอกทุกมุมของห้องก็เต็มไปด้วยเส้นผม
ร่วงหนักจนท่อระบายน้ำตัน ร่วงหนักจนเก็บไปฝัน ร่วงหนักจนนึกว่าเป็นมะเร็ง!!!

ก่อนอื่นต้องแยกก่อนว่า ผมร่วงแบบไหนถือว่าผิดปกติ
•ผมร่วงปกติ : ปกติผมคนเราต้องร่วงทุกวัน เพราะบนหัวเรามีผมระยะหลุดร่วงอยู่ประมาณ 10 % ดังนั้นใน 1วัน หากร่วงไม่เกินวันละ 50-100 เส้น ถือว่าปกตินะคะ ส่วนวันที่สระผมอาจร่วงได้ถึง 2 เท่าเลยค่ะ
•ผมร่วงผิดปกติ : คือผมร่วงที่มากเกิน 100 เส้นในวันที่ไม่สระผม และเกิน200 เส้นในวันที่สระผม

สาเหตุผมร่วงที่พบได้บ่อย
•ผมร่วง ผมบางจากกรรมพันธุ์
พบได้ในคนที่มีกรรมพันธุ์ผมบาง เกิดได้ทั้งชายและหญิง โดยผมจะค่อยๆร่วงร่วมกับเกิดภาวะผมบางศีรษะล้านตามรูปแบบกรรมพันธุ์ เพศชายจะล้านบริเวณง่ามผมและบริเวณกลางหนังศีรษะ เพศหญิงจะบางบริเวณแสก รอยแสกจะกว้างขึ้นเรื่อยๆ หากไม่รักษาจะเกิดศีรษะล้าน

•ผมร่วงจากการแพ้แชมพู แพ้สารเคมี
จะสังเกตได้ว่า ผมจะร่วงร่วมกับมีอาการคัน รังแค ตุ่มสิว หรือหนังศีรษะลอกร่วมด้วย เมื่อหยุดใช้ผลิตภัณฑ์ที่แพ้ อาการจะดีขึ้นเอง

•ผมร่วงจากโรคประจำตัว
โรคทางกายบางอย่างสามารถส่งผลให้เกิดผมร่วงร่วมได้ เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ โรคโลหิตจาง ภาวะขาดธาตุเหล็ก โรคซิฟิลิส โรคแพ้ภูมิตัวเอง แนะนำพบแพทย์เพื่อซักประวัติและเจาะเลือดหาสาเหตุในรายที่มีอาการเข้าได้กับแต่ละโรค

•ผมร่วงจากยา
ยกตัวอย่างยาที่ทำให้ผมร่วงได้บ่อยคือ ยารักษาสิว ยารักษาโรคทางจิตเวช ยารักษาโรคลมชักเป็นต้น

•ผมร่วงจากการลดน้ำหนัก/รับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่
การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว หรือการรับประทานอาหารมังสวิรัติ อาหารคีโต เป็นสาเหตุทำให้ผมร่วงได้ เนื่องจากร่างกายขาดสารอาหารบางประเภท ทำให้วงจรของผมร่วงผิดปกติ

•ผมร่วงหลังคลอด ผมร่วงจากการเจ็บป่วย ผมร่วงจากความเครียด
เรียกภาวะนี้ว่า Telogen effluvium เกิดจากภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของร่างกายอย่างรุนแรง เช่น การคลอดบุตรการเสียเลือดปริมาณมาก ไข้เลือดออก ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง ภาวะเครียดรุนแรง ส่งผลให้วงจรผมที่เป็นระยะเติบโตกลายเป็นระยะหลุดร่วง พอผ่านไป 3 เดือน ผมระยะหลุดร่วงจะหมดอายุขัยแล้วหลุดร่วงออกจากหนังศีรษะนั่นเอง ซึ่งจะร่วงได้ถึงวันละ 150-700 เส้น ดังนั้นหากใครผมร่วงหนักมาก แล้วย้อนไป 3 เดือนที่แล้วมีการเจ็บป่วยเกิดขึ้น ก็จะเป็นภาวะนี้นั่นเองค่ะ

จริงๆแล้วสาเหตุผมร่วงมีอีกหลายอย่างเลยค่ะ หากใครมีปัญหาผมร่วงผิดปกติ หมอแนะนำปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุนะคะ จะได้แก้ไขให้ตรงจุดและไม่ต้องลองผิดลองถูกค่ะ

*ลิขสิทธิ์บทความ โดยคลินิกเวชกรรมเกศา

 

**กดแชร์บทความด้านล่าง เพื่อบอกต่อสิ่งดี ๆ**

แสงเลเซอร์สีแดง LLLT ช่วยให้ผมขึ้นได้อย่างไร

เครื่องเลเซอร์จะปล่อยลำแสงพลังงานต่ำ(low level laser therapy ) ความยาวคลื่นแสง 650 nm ซึ่งเป็นคลื่นที่จำเพาะต่อเซลล์รากผม จากงานวิจัยสามารถกระตุ้นรากผมที่อ่อนแอให้กลับมาแข็งแรง โดยการกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือดบริเวณรากผม ทำให้มีการพา oxygen , nutrient ,vitamin ไปยังรากผมได้ดีขึ้น ส่งผลให้ชะลอการหลุดร่วงและกระตุ้นการงอกใหม่ของเส้นผมได้ ที่สำคัญคือเป็นวิธีที่ไม่เจ็บสามารถใช้ควบคู่กับการรักษามาตรฐานได้ มีทั้งรูปแบบเครื่องขนาดใหญ่,หวี และหมวกเลเซอร์ที่สามารถทำเองได้ที่บ้าน

 

ใครบ้างที่ใช้ได้ผล
-ผมบางจากกรรมพันธุ์ ทั้งเพศชายและหญิง
-ผมร่วงเป็นหย่อม
-ผมเสียที่เกิดจากการย้อมดัดโกรก จนผมแห้งเสีย
-ผมร่วงหลังคลอด
-ผมบางทั้งศีรษะ Telogen effluvium
-คนไข้ที่ปลูกผม หมวกเลเซอร์จะลดภาวะshock loss ช่วยให้กราฟที่ปลูกแข็งแรง และกระตุ้นการงอกของเส้นผมได้


วิธีการใช้
-แนะนำใช้สัปดาห์ละ 3 ครั้ง หากใช้มากกว่านี้ ตามงานวิจัยไม่พบความแตกต่างของผลลัพธ์ และอาจทำให้เกิดหนังศีรษะแห้งได้ จะเริ่มเห็นความแตกต่างเมื่อใช้ติดต่อกันเกิน 4 เดือนเป็นต้นไป
-หลีกเลี่ยงการใช้หลังทาminoxidil เนื่องจากแสงเลเซอร์จะไปทำลายฤทธิ์ของยา

**ลิขสิทธิ์บทความ โดยคลินิกเวชกรรมเกศา**

รู้หรือไม่ สารสกัดปาล์มใบเลื่อย รักษาภาวะผมบางศีรษะล้านจากกรรมพันธุ์ได้

Saw palmetto คือสารสกัดจากผลของต้นปาล์มใบเลื่อย พบว่ามีฤทธิ์ต้านฮอร์โมนเพศชาย DHT (Dihydrotestosterone) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดภาวะผมบางจากรรมพันธุ์

นอกจากนั้นยังมีสรรพคุณลดการอักเสบ(anti-inflammation)และลดการทำงานของฮอร์โมน estrogenอีกด้วย
ด้วยผลข้างเคียงที่ค่อนข้างน้อย ไม่ค่อยพบการรายงานเรื่องการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และไม่มีผลต่อปริมาณและคุณภาพของสเปิร์ม จึงทำให้ saw palmetto ถูกนำมาใช้เป็นยาทางเลือกในการรักษาภาวะผมบางศีรษะล้านจากกรรมพันธุ์นั่นเอง แต่ต้องบอกก่อนว่าประสิทธิภาพในการลดฮอร์โมน DHT นั้นยังด้อยกว่ายา Finasteride ที่เป็นยาหลักในการรักษาโรคนี้หลายเท่าตัว

ใครบ้างที่เหมาะกับSaw palmetto
คนไข้ที่รับประทาน Finasteride แล้วมีผลข้างเคียง
ผมบางศีรษะล้านระยะเริ่มต้น
ผมบางเด่นบริเวณขวัญระยะเริ่มต้น
วิธีการสกัดปาล์มใบเลื่อยมี 2 วิธีคือ
สกัดด้วยวิธีมาตรฐาน(standard extract)
สกัดในรูปแบบน้ำมัน(lipophilic extract)

ส่วนใหญ่ในท้องตลาดจะเป็นรูปแบบ standard extract ราคาค่อนข้างถูก แต่ต้องกินวันละหลายเม็ด จากงานวิจัยพบว่าการสกัดแบบ lipophilic extract สามารถลดการออกฤทธิ์ของฮอร์โมน DHT ได้ดีกว่ารูปแบบ standard extract และทานเพียงวันละ1 เม็ดเท่านั้น
ทางคลินิกเวชกรรมเกศา มีสารสกัดsaw palmetto รูปแบบ lipophilic extract จำหน่าย หากคนไข้สนใจ แนะนำเข้ามาพบแพทย์เพื่อปรึกษารับยาค่ะ

*ลิขสิทธิ์บทความ โดยคลินิกเวชกรรมเกศา

ผมร่วงไม่หายซักที อาจเกิดจากภาวะพร่องธาตุเหล็ก!!

คนไข้หลายคนมีปัญหาผมร่วง ซื้อแชมพูหรือผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาว่าช่วยลดผมร่วงมาใช้ หมดเงินหลายพันบาท ก็ยังไม่หายสักที เหตุผลเพราะสาเหตุของผมร่วงนั้นมีหลายอย่าง การใช้แชมพูอย่างเดียวไม่สามารถแก้ไขได้ทุกสาเหตุนั่นเองค่ะ

ปกติแล้วสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม จะประกอบไปด้วย โปรตีน, ไบโอติน, ซิงค์, ซีลีเนียม, ซิลิกา, วิตามิน A&C&D และธาตุเหล็ก ซึ่งจากงานวิจัยพบว่า การที่ร่างกายมีการสะสมของธาตุเหล็ก Ferritin ต่ำกว่า 70 ng/ml แม้จะไม่มีภาวะโลหิตจาง ก็ส่งผลต่อการร่วงของเส้นผมได้ ทำให้บางคนรักษาผมร่วงยังไงก็ไม่หาย เพราะไม่เคยตรวจหาสาเหตุว่าร่างกายขาดธาตุเหล็กหรือไม่ หากตรวจพบว่าร่างกายมีการสะสมธาตุเหล็กต่ำกว่าเกณฑ์ คุณหมอก็จะให้รับประทานธาตุเหล็กเสริมควบคู่กับการรักษาภาวะผมร่วงค่ะ

นอกจากภาวะขาดธาตุเหล็ก ยังมีโรคอื่นๆที่ส่งผลให้เกิดภาวะผมร่วง ผมบางได้ เช่น โรคโลหิตจาง, โรคไทรอยด์เป็นพิษ, โรคซิฟิลิส,โรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง(Autoimmune disease) ซึ่งต้องอาศัยการเจาะเลือดและตรวจร่างกายจากแพทย์
คลินิกของเรามีบริการตรวจเลือดหาสาเหตุผมร่วง(Hair loss screening test) ทราบผลภายใน 1 สัปดาห์

****ถ้าใครมีปัญหาผมร่วงเยอะผิดปกติ อยากให้เข้ามาพบคุณหมอเพื่อตรวจหาสาเหตุกันนะคะ****

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับเส้นผม

-คนปกติมีเส้นผมบนหนังศีรษะ 90,000-140,000 เส้น (เฉลี่ยประมาณ 100,000 เส้น)
-ผู้ใหญ่ผมยาวได้วันละประมาณ 0.35 มิลลิเมตร ดังนั้น 1 เดือนจะยาวประมาณ 1 เซนติเมตร
-เด็กผมยาวเร็วกว่าผู้ใหญ่ โดยจะยาววันละ 0.41 มิลลิเมตร และผู้หญิงผมยาวเร็วกว่าผู้ชาย 0.02 มิลลิเมตร/วัน
-ในคนปกติผมร่วงได้ไม่เกิน 100 เส้น แต่ถ้าวันไหนสระผม อาจร่วงเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า คือไม่เกิน 200 เส้น/วัน
-1 รากผมจะมีเส้นผมได้ตั้งแต่ 1-4 เส้น

ระยะการเจริญเติบโตของเส้นผม
•ระยะ Anagen hair เส้นผม 90% บนหนังศีรษะจะอยู่ในระยะนี้ โดยจะมีอายุขัย 2-3ปี
•ระยะ Catagen&Telogen จะเป็นระยะที่หยุดเจริญเติบโต มีอายุขัย ประมาณ 3 เดือนแล้วหลุดร่วงไป
•ระยะหลังจากผมหลุดร่วง ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3-6 เดือนกว่าจะมีผมงอกใหม่ให้เห็นด้วยตาเปล่า
ดังนั้นการรักษาภาวะผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน หรือแม้กระทั่งการปลูกผม จึงต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3-6 เดือนจึงจะเห็นการเปลี่ยนแปลงนั่นเอง

*บทความลิขสิทธิ์ โดย บริษัทเกศากรุ๊ป ประเทศไทย จำกัด*

ผมร่วง จาก โรคเซ็บเดิร์ม Seborrheic dermatitis

ต่อมไขมันอักเสบ (Seborrheic Dermatitis) หรือเรียกว่า โรคเซ็บเดิร์ม เป็นปัญหาผิวเรื้อรัง เป็นๆหายๆ เกิดจากการอักเสบบริเวณต่อมไขมัน โดยมากกว่า 50% ในผู้ใหญ่มักพบปัญหารังแค ขุยแห้งสีเหลืองบริเวณหนังศีรษะ นอกจากนั้นอาการเป็นขุยสีเหลืองยังพบได้ในบริเวณอื่น โดยเฉพาะบริเวณที่มีต่อมไขมันเป็นจำนวนมาก เช่น ใบหน้า คิ้ว รอบดวงตา หู จมูก แก้ม เจอในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และมีรายงานว่ามีความสัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคภุมิคุ้มกันบกพร่องHIV, โรคพาร์กินสันและโรคทางระบบประสาทอื่นๆ

ปัจจัยกระตุ้นให้โรคเซ็บเดิร์มกำเริบ

  • การเพิ่มจำนวนของยีสต์บนผิวหนังชื่อ Malassezia
  • ระดับฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะฮอร์โมนเพศชาย
  • การตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกันที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล 
  • การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เช่น เย็นจัดหรือร้อนจัด (มักกำเริบตอนอากาศเย็น และ แห้ง)
  • การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ ความเครียด นอนพักผ่อนไม่พอ
  • อาหารบางชนิดและแอลกอฮอล์

อาการของโรคเซ็บเดิร์ม

  • หนังศีรษะแห้ง เป็นขุยสีเหลือง มีสะเก็ดลอกหลุดคล้ายรังแค
  • มีอาการคันหนังศีรษะร่วมกับผมร่วงผิดปกติ แต่ไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้ผมบางลง
  • ผิวหนังอักเสบ เป็นผื่นแดงขอบเขตไม่ชัดบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก

หนังศีรษะพบลักษณะ ผิวแห้งเป็นขุยสีเหลือง มีสะเก็ดลอกหลุดคล้ายรังแค

การรักษา

  • หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้ตัวโรคกำเริบ
  • ใช้แชมพูสูตรอ่อนโยน ปราศจาก น้ำหอมและสารก่อการระคายเคือง เนื่องจากผู้ที่เป็นโรคเซ็บเดิร์มมักจะมีปัญหาหนังศีรษะแพ้ง่ายและไวต่อสิ่งกระตุ้นในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น น้ำหอม สารกันเสีย
  • ใช้แชมพูที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา เช่น 2% ketoconazole shampoo, Tar shampoo, 1% zinc pyrythione, 2.5% selenium sulfide โดยใช้แชมพูยาปริมาณ 5-10 ซีซี สระผมและหมักทิ้งไว้ 5 นาทีก่อนล้างออก โดยช่วงที่ตัวโรคกำเริบ แนะนำสระผมด้วยแชมพูยา วันเว้นวัน

“โรคเซ็บเดิร์มไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เมื่อตัวโรคสงบแล้ว แนะนำให้คนไข้ใช้แชมพูที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราและลดการอักเสบอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้งสลับกับแชมพูสูตรอ่อนโยนไปตลอดเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ”

  • กรณีมีอาการรุนแรง สะเก็ดหนามาก แพทย์จะแนะนำให้ใช้ยาทากลุ่มเสเตียรอยด์ร่วมด้วย เพื่อลดอการการอักเสบของหนังศีรษะ
แชมพู ลด ผม ร่วง

*บทความลิขสิทธิ์ โดย บริษัทเกศากรุ๊ป ประเทศไทย จำกัด*

การต่อผม เพิ่มความเสี่ยงผมบาง ศีรษะล้านได้นะรู้ยัง

หลายคนที่เคยมีประสบการณ์การต่อผม มักจะเจอปัญหาผมร่วงผิดปกติ ในบางคนที่ต่อผมเป็นระยะเวลานาน อาจเจอปัญหาผมบางลงได้ค่ะ ซึ่งภาวะนี้เรียกว่า ผมร่วงจากการดึงรั้ง(Traction alopecia) เกิดจากการดึงรั้งของผมเป็นเวลานานๆ ทำให้รากผมบริเวณนั้นอ่อนแอและร่วง หากปล่อยไว้นานๆไม่ได้รับการแก้ไข อาจเกิดเป็นแผลเป็นกระจายเป็นหย่อมๆตามจุดที่เกิดการดึงรั้งได้ นอกจากการต่อผมแล้ว ยังพบได้บ่อยในคนที่ชอบรวบผมตึง/ถักเปียแบบตึงตลอดเวลา และคนที่ใส่วิกผมโดยใช้วิธีติดกิ๊บไว้

การป้องกัน
– หลีกเลี่ยงการดึงรั้งผมเป็นระยะเวลานานๆและทำซ้ำๆโดยไม่มีการเว้นระยะให้ผมได้พัก

การรักษา
-กรณีมีภาวะผมร่วงจนเกิดรอยแผลเป็น แนะนำปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาปลูกผม

*ลิขสิทธิ์บทความ โดยคลินิกเวชกรรมเกศา

ภาวะผมขาวชั่วคราวหลังปลูกผม

เกิดจากกระบวนการปลูกผม ทำให้เกิดการรบกวนเซลล์เมลานินที่มีหน้าที่สร้างเม็ดสีของเส้นผม ทำให้เซลเมลานินหยุดทำงานชั่วขณะ ทำให้ผมเปลี่ยนเป็นสีขาว ซึ่งภาวะนี้เกิดเพียงชั่วคราว หลังจากนั้นเซลล์เมลานินจะกลับมาทำงานปกติ ผมที่งอกออกมาจะกลับมาเป็นสีดำเช่นเดิม ทำให้สังเกตเห็นเส้นผมมีสีขาวแค่ช่วงสั้นๆ
ภาวะนี้สามารถเกิดได้ทั้งบริเวณผมที่ย้ายมาปลูก ผมที่โดนปลูกแทรก และบริเวณผมด้านหลังที่อยู่ข้างเคียงผมที่ถูกย้ายออกไป โดยภาวะนี้ถือว่าเป็นภาวะปกติที่สามารถพบได้หลังปลูกผม ไม่ได้เกิดกับคนไข้ทุกรายและจะเกิดเพียงชั่วคราวเท่านั้น

อาการ Shock Loss หลังปลูกผม

หลังปลูกผมคนไข้ทุกคนจะต้องเจอกับภาวะผลัดผมหลังปลูกที่เรียกว่า “shock loss stage”

Shock loss เกิดจากเซลล์รากผมถูกรบกวน ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงจากผมระยะเติบโต (Anagen phase) เปลี่ยนไปเป็นผมระยะหลุดร่วง (Telogen phase) พร้อมๆกัน ซึ่งภาวะนี้จะเกิดหลังจากปลูกผมไปแล้วตั้งแต่ 2 สัปดาห์เป็นต้นไปและสิ้นสุดประมาณเดือนที่ 3 ของการปลูกผม

Shock loss เกิดได้ทั้ง2 บริเวณดังนี้
“Recipient site” รากผมที่ถูกย้ายมาปลูกบริเวณใหม่ หลังจากเซลล์รากผมฝังตัวแล้วจะเกิดภาวะ shock loss รวมไปถึงบริเวณที่มีรากผมอยู่เดิมแต่โดนปลูกแทรกเข้าไปก็เกิด shock loss ได้เช่นกัน ภาวะนี้เกิดได้กับคนไข้เกือบทุกราย

“Donor site” รากผมด้านหลังที่อยู่ข้างๆรากผมที่ถูกถอนออกไป เกิดภาวะshock loss ทำให้ผมด้านหลังร่วงเป็นหย่อมใหญ่ๆ ซึ่งภาวะนี้เกิดขึ้นได้ไม่บ่อย แต่ถือเป็นภาวะปกติ เกิดแค่ชั่วคราวและเกิดในบางรายเท่านั้น

ช่วง shock loss กินเวลาประมาณ 3 เดือน ทำให้ช่วงนี้คนไข้จะกังวลเป็นอย่างมาก กลัวว่าผมที่ปลูกไปจะไม่ขึ้น ซึ่งไม่ต้องกังวลไปนะคะ รากผมที่ผลัดออกไปจะทยอยขึ้นใหม่เรื่อยๆ โดยจะเกิดเป็นฝอยเล็กๆก่อนในช่วงแรกและจะค่อยๆเส้นหนาขึ้น จนเห็นผลลัพธ์เต็มที่ที่ 1 ปีหลังปลูกค่ะ

**ลิขสิทธิ์บทความ โดยคลินิกเวชกรรมเกศา**

รู้หรือไม่ ราคาปลูกผม ขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง?

ทำไมปลูกผมถึงราคาแพง!!

การปลูกผมถือเป็นศิลปะงานฝีมือทางการแพทย์อย่างนึง ต้องอาศัยประสบการณ์ของแพทย์ ไม่ว่าจะป็นรายละเอียดเรื่องการวาง Hairline การกำหนดทิศทางของรากผมที่ต้องอิงหลักธรรมชาติให้มากที่สุด และที่สำคัญคือเทคนิคการย้ายรากผมเพื่อนำมาปลูกยังบริเวณใหม่ ให้อัตราการรอดสูงสุด สิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยความชำนาญและการสะสมประสบการณ์ทั้งสิ้น

การปลูกผมนั้นต่างจากศัลยกรรมอย่างอื่น ที่ใช้เวลาสั้นเพียง1-2ชั่วโมง แต่ปลูกผมต้องอาศัยผู้ช่วยหลายคนประมาณ 4-6 คน และใช้เวลาทำนานราวๆ 6-10 ชั่วโมงขึ้นกับความยากง่ายของเคส อุปกรณ์ในการย้ายรากผม, อุปกรณ์ที่ใช้ปลูก, เทคนิคในการจับรากผม, น้ำยาแช่กราฟ, หรือแม้กระทั่งการเก็บรักษากราฟในอุณหภูมิที่คงที่ตลอดเวลา ก็ล้วนมีผลต่อการขึ้นของกราฟทั้งสิ้น เป็นสาเหตุที่ว่าแต่ละคลินิกปลูกผมเหมือนกันแต่ผลลัพธ์ที่ออกมากลับไม่เหมือนกันนั่นเอง

การปลูกผมทำได้เพียงไม่กี่ครั้งในชีวิต ในบางรายผมด้านหลังเหลือน้อยก็อาจทำได้แค่ 1 ครั้งเท่านั้น เพราะทรัพยากรของผมด้านหลังนั้นมีจำกัด ผมด้านหลังที่ย้ายมาอยู่ข้างหน้าจะไม่งอกอีกแล้ว แปลว่าถ้าย้ายมาแล้วกราฟไม่รอด เราจะสูญเสียรากผมนั้นไปตลอด

ดังนั้นการจะปลูกผมคนไข้จึงต้องตัดสินใจให้ดี เลือกสไตล์การออกแบบแนวผมของคลินิกที่คนไข้ชอบ เพราะแนวผมนี้จะอยู่กับคนไข้ไปตลอดชีวิต และที่สำคัญการปลูกผมไม่ใช่การจบปัญหาผมบางศีรษะล้านจากกรรรมพันธุ์ ปลูกผมเป็นเพียงการแก้ปัญหาบริเวณที่ล้านแล้วเท่านั้น คนไข้จึงยังต้องรักษาผมที่เหลืออยู่ไปเรื่อยๆ ดังนั้นควรเลือกคลินิกที่สามารถดูแลปัญหาเส้นผมของคนไข้ได้ในระยะยาวด้วย

**ลิขสิทธิ์บทความ โดยคลินิกเวชกรรมเกศา**

การตกแต่งกราฟ

การตกแต่งกราฟ เป็นอีก 1 ขั้นตอนสำคัญในกระบวนการปลูกผมด้วยเทคนิค TRIPLE N กราฟทุกตัวที่ได้มาจากด้านหลังจะถูกนำมาตัดแต่งเนื้อเยื่อส่วนเกินออก (Graft trimming) ทำให้กราฟตัวเล็กพอดี ส่งผลให้ขนาดแผลด้านหน้ามีขนาดเล็กและบอบช้ำน้อย และการที่กราฟมีขนาดเล็กพอเหมาะจะทำให้สามารถปลูกชิดกันได้มากขึ้นอีกด้วย

อีกเหตุผลสำคัญที่เราตกแต่งกราฟคือ เพื่อแยกกราฟต้นเดี่ยวออกมา (Graft splitting) ให้ได้จำนวน 1hair ตามที่ต้องการแล้วนำไปปลูกบริเวณไรผมด้านหน้า เพื่อเลียนแบบไรผมให้ดูธรรมชาติมากที่สุด ไม่เช่นนั้นการที่นำกราฟด้านหลังที่เป็นกอใหญ่ เช่น 2-4 hair มาปลูกบริเวณด้านหน้าเลย จะทำให้เกิดลักษณะกระจุกผมคล้ายวิก (Hair plug)

และประโยชน์อีกข้อของการตกแต่งกราฟคือ ในกรณีคนไข้ที่มีผมด้านหลังไม่เพียงพอกับพื้นที่ปลูก การแยกกราฟจะช่วยเพิ่มจำนวนกราฟให้เพียงพอกับบริเวณที่ต้องการได้

**ลิขสิทธิ์บทความ โดยคลินิกเวชกรรมเกศา**

คุณธีรวีร์ ดิษยะไชยพงษ์ ( เชฟจากัวร์ )   Top Chef Thailand Season2 ปลูกผมถาวร ด้วยเทคนิค DHI Implanter 

 

ผ่านไปแล้ว 1เดือน กับการย้ายรากผมเทคนิค DHI ของคุณจากัวร์ เชฟมือทองของไทย ซึ่งเดิมคุณจากัวร์เคยผ่านการปลูกผมด้วยเทคนิค FUT มาแล้วเมื่อหลายปีก่อน แต่ต้องการความหนาแน่นที่มากขึ้น และร่นไรผมจากเดิมที่ค่อนข้างสูงให้แคบลงมา แต่เนื่องจากปริมาณผมที่เหลืออยู่ด้านหลังค่อนข้างน้อย ทีมแพทย์จึงตัดสินใจใช้เทคนิค DHI เพื่อปลูกให้ได้ความหนาแน่นสูงสุด ลดการบอบช้ำของกราฟ และที่สำคัญสามารถเพิ่มจำนวนกราฟที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เพียงพอกับพื้นที่ที่ต้องการได้

 

 

คุณธีรวีร์ ดิษยะไชยพงษ์ ( เชฟจากัวร์ )  

Top Chef Thailand Season2

ปลูกผมถาวร ด้วยเทคนิค DHI Implanter 

มารู้จักกับเส้นผมกับวงจรชีวิตของเส้นผม (Hair Life Cycle)

มารู้จักกับเส้นผมกับวงจรชีวิตของเส้นผม (Hair Life Cycle)

กว่าผมแต่ละเส้นจะเติบโตต้องผ่านระยะปลูกและงอกเงยตามธรรมชาติถึง 4 ระยะด้วยกัน ดังนี้ 

 

ระยะแรก เรียกว่า ระยะเจริญ หรือ อะนาเจน (Anagen)

ต่อมรากผมจะสร้างเซลล์ซึ่งทำให้เส้นผมงอกขึ้น ยาวขึ้น ช่วงเวลานี้จะอยู่ระหว่าง 3- 7 ปี หลังจากนั้นจะเข้าสู่ผมระยะหยุด หรือ คะตาเจน (Catagen) หรือ ระยะหยุดการเจริญเติบโตของเส้นผม หากระยะเจริญ หรือ อะนาเจนของเส้นผมอยู่ระยะยาวนานเท่าไหร่ ต่อมรากผมก็จะยังสามารถผลิตเส้นผมได้นานมากขึ้น และผมก็จะยาวและหนาแน่นขึ้นได้ แต่หากระยะดังกล่าวสั้นลง เส้นผมจะเข้าสู่ระยะพักเร็วขึ้น ซึ่งจะทำให้ระยะเวลาของการหลุดร่วงของเส้นผมเกิดขึ้นเร็วขึ้น ผมเกิดใหม่ก็จะสั้น และบาง ขาดความแข็งแกร่ง จึงทำให้มีภาวะอาการศรีษะล้านก่อนวัยอันควร

 

ระยะต่อมา เรียกว่า ระยะหยุด หรือ คะตาเจน (Catagen) 

ระยะนี้จะกินเวลาไม่นานนัก จะเป็นช่วงสั้นๆที่ปลายของรากผมจะเคลื่อนตัวสู่ชั้นผิวหนัง เส้นผมจะเติบโตช้าลงและค่อยๆหยุดที่จะเติบโตไปในที่สุด ในระยะนี้อาจคิดเป็นสัดส่วนประมาณ ร้อยละ 1 จากจำนวนเส้นผมทั้งหมดบนหนังศรีษะ โดยในแต่ละเส้นจะมีอายุในช่วงระยะนี้ ประมาณ 2-3 สัปดาห์ แล้วจึงเข้าสู่ระยะพัก

 

ระยะพัก เป็นระยะที่ 3 ของวงจรชีวิตผม เรียกว่า (Telogen)

ระยะนี้เป็นระยะที่เซลล์รากผมนั้นตายแล้ว เส้นผมในระยะนี้ จะเตลื่อนและฝังตัวบริเวณใกล้เคียงกับพื้นผิวหนังเพื่อรอการหลุดร่วง พร้อมๆกับกำลังจะมีเส้นผมเกิดใหม่ที่กำลังจะเข้าสู่ระยะเจริญ ซึ่งจะมาผฃักให้เส้นผมที่ตายแล้วได้หลุดร่วงออกไป ในกรณีทั่วไปเส้นผมจะร่วงโดยประมาณ 50 ถึง100 เส้นต่อวัน โดยเส้นผมบนหนังศรีษะในระยะนี้จะมีจำนวนประมาณ ร้อยละ 10 ถึง 15 โดยเส้นผมในระยะนี้จะมีอายุอยู่ได้ประมาณไม่เกิน 3 เดือน

 

ระยะสุดท้าย คือ ระยะเริ่มเจริญใหม่ หรือ (Early Anagen)

เมื่อเส้นผมของคนเราหลุดร่วงและงอกขึ้นใหม่ตามวงจรชีวิตของเส้นผมเช่นนี้เรื่อยไปทุกๆวัน แต่เมื่อสูงวัยมากขึ้น วงจรเส้นผมนี้จะมีระยะเวลากระชับสั้นลงเรื่อยๆตามวัยที่สูงขึ้น อันเป็นสาเหตุที่ทำให้รากผมนั้นอ่อนแอลง เส้นผมงอกใหม่ก็ขาดความแข็งแรงไม่เหมือนเมื่อครั้งอ่อนวัย ดังนั้น เราจึงต้องบำรุงและดูแลรักษาเส้นผม บำรุงลึกถึงรากผม เพื่อสร้างความแข็งแรงและยืดระยะเวลาช่วงอายุของเส้นผมตามวงจรชีวิตเส้นผมให้ยาวนานขึ้น ซึ่งจะทำให้สามารถรักษาสุขภาพที่ดีของเส้นผมไว้ได้นานขึ้น ผมหลุดร่วงช้า ผมก็จะดกดำและหนาแน่นอย่างเป็นธรรมชาติ ลดปัญหาผมแก่ อ่อนแอ หงอก เปราะบาง หลุดร่วงไปตามวัยและสุขภาพของแต่ละคน

Laser Hair Regrowth รักษาผมร่วงจากพันธุกรรมด้วยแสงเลเซอร์ความเข้มข้นต่ำ

Laser Hair Regrowth

เป็นการฉายแสงด้วยเลเซอร์ที่หนังศีรษะ ปัจุบันเป็นวิธีที่นิยมนำมารักษาผู้ที่มีปัญหาผมร่วง ผมบางเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีงานวิจัยรับรองว่า แสงเลเซอร์ความเข้มข้นต่ำมีผลทำให้เส้นผมมีโปรตีนที่สำคัญในกระบวนการสร้างเส้นผมเพิ่มขึ้น **ผลงานวิจัยเรื่องนี้ได้รับรางวัลที่ 1 ISHRS Poster Awards 2017  โดยการฉายแสงด้วยเลเซอร์ความเข้มข้นต่ำ เป็นระยะเวลา 6เดือน สัปดาห์ละ 3 ครั้งๆ ละ 20-30 นาที สามารถช่วยกระตุ้นรากผมงอกขึ้นมาใหม่ กระตุ้นการไหลเวียนเลือดที่ส่งผลต่อเซลล์รากผมทำงานได้ดีอีกครั้ง หากนำไปใช้รักษากับผู้ที่ ปลูกผมถาวรแบบไม่ผ่าตัด จะได้ผลลัพท์ที่ดียิ่งขึ้น เหมาะกับคนไข้ที่มีปัญหาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน และการฉายแสงเลเซอร์ความเข้มข้นต่ำ ยังนำใช้ในการรักษาผู้ที่มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เจ็บกระดูก รักษาแผลที่หายยาก เลเซอร์ความเข้มข้นต่ำเป็นแสงสีแดงที่มีความเข้มข้นต่ำมาก ไม่มีอันตรายต่อผู้ใช้งาน

 

**ข้อมูลวิจัยจาก https://www.chula.ac.th/news/8714/

Hair shock loss หลังปลูกผมถาวร

ทำไมจู่ๆหลังปลูกผม 2-6 สัปดาห์ ผมที่ปลูกก็ร่วงจนหมด แถมผมเดิมบริเวณใกล้เคียงก็ทยอยร่วงด้วย !!’

ไม่ต้องกังวลค่ะ เพราะภาวะผมร่วงหลังปลูกผม ทางการแพทย์เรียกว่า “ hair shock loss”  ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับทุกคนที่ปลูกผม โดยผมที่หลุดร่วงออกมานั้น เป็นเพียงเส้นผมที่เกิดจากการผลัดผมตามวงจรธรรมชาติ แต่รากผมที่ได้รับการปลูกนั้นยังอยู่ปกติ ไม่ได้หลุดออกมาตามเส้นผมนะคะ

และหลังจากผลัดเส้นผมชุดเก่าออกแล้ว ผมชุดใหม่จะทยอยขึ้นเป็นเส้นฝอยเล็กๆ ประมาณ เดือนที่ 3-4 หลังปลูก เดือนที่6 ผมงอกดกเปลี่ยนแปลงชัดเจน และจะยาวเป็นปกติและงอกเต็มที่ ที่ 1 ปีหลังปลูกค่ะ

บางคนกังวลว่าผมที่ร่วงติดมือมานั้นใช่ กราฟรากผมที่ปลูกไปหรือไม่ ให้สังเกตดังนี้ค่ะ โดยปกติรากผมจะฝังตัวบนหนังศีรษะตั้งแต่ 2 สัปดาห์แรกหลังปลูก โดย 3 วันแรกหลังปลูกจะเป็นช่วงที่เสี่ยงที่สุดที่กราฟจะหลุด ดังนั้น หากผ่านช่วงเวลานั้นมาแล้ว เส้นผมที่ร่วงจึงไม่ใช่รากผมแน่นอนค่ะ

นอกจากนั้นการทำ PRP และ เลเซอร์ควบคู่กับการปลูกผม สามารถช่วยลดภาวะ shock loss และยังช่วยกระตุ้นให้รากผมที่ปลูกแข็งแรงอีกด้วยค่ะ

Verified by MonsterInsights