• 中文 (中国)
  • ພາສາລາວ
  • ไทย
  • English
0
Your Cart
0
Your Cart
  • 中文 (中国)
  • ພາສາລາວ
  • ไทย
  • English

ผมบางตรงแสกกลาง ในผู้หญิง

       ผมบางตรงแสกกลาง ในผู้หญิง เป็นโรคผมบางชนิดหนึ่ง ทางการแพทย์เรียกว่า  Female patten hair loss  หรือที่เรียกว่า ผมบางที่มีรูปแบบเฉพาะในเพศหญิง หรือบางชื่อเรียกว่า ผมบางพันธุกรรม  โดยโรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

สาเหตุโรค ผมบางตรงแสกกลาง

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของโรค ผมบางตรงแสกกลาง ของผู้หญิงที่แน่ชัด เชื่อว่าอาจเกิดจากหลายๆสาเหตุรวมกัน เช่น พันธุกรรมผมบางศีรษะล้านในครอบครัว, ภาวะฮอร์โมนเพศชายสูง(Hyperandrogenism) เช่น โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ PCOS, เนื้องอกที่รังไข่, เนื้องอกที่ต่อมหมวกไต หรืออาจไม่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเพศชายก็ได้

การดำเนินของโรค ผมบางตรงแสกกลาง

เริ่มแสดงอาการผมบางได้ 2 ช่วงอายุดังนี้

  • Early onset คือภาวะ ผมบางตรงแสกกลางเริ่มแสดงอาการในช่วงอายุน้อย มักเริ่มมีอาการผมบางในช่วงวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุจากภาวะฮอร์โมนเพศชายเกิน เช่นโรคโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ PCOS, บางรายไม่มีภาวะฮอร์โมนเพศชายเกินแต่มีประวัติพันธุกรรมผมบางที่รุนแรง เช่น คนในครอบครัวศีรษะล้านหรือผมบางตั้งแต่อายุยังน้อยเหมือนกัน
  • Late onset คือภาวะผมบางตรงแสกกลางเริ่มแสดงอาการในช่วงอายุมากกว่า 40 ปี ซึ่งกลุ่มนี้มักไม่มีสาเหตุ ไม่ค่อยพบว่ามีภาวะฮอร์โมนเพศชายเกิน และไม่จำเป็นต้องมีประวัติผมบางทางพันธุกรรมก็ได้

อาการของโรค ผมบางตรงแสกกลาง

ส่วนใหญ่ผมจะเริ่มบางทั่วๆตรงกลางศีรษะโดยแนวผมบริเวณหน้าผากยังปกติ ยกเว้นกรณีผมบางแบบผู้ชาย (frontal type) จะมีผมบางบริเวณง่ามผม ในบางรายอาจมีผมบางมาถึงโซนผมด้านหน้าร่วมด้วยลักษณะคล้ายต้นคริสมาส (Christmas tree pattern) อิทธิพลของพันธุกรรมหรือฮอร์โมนเพศชาย จะทำให้รเกิดการทำลายของรูขุมขน เส้นผมจะค่อยๆเล็กลงเรื่อยๆ เส้นผมดูบางลง หากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษา รูขุมขนจะปิดตัวลง จนเกิดภาวะศีรษะล้านได้  

ผมบางตรงแสกกลาง

การวินิจฉัยโรค ผมบางตรงแสกกลาง

1.  กรณีผมบางในผู้หญิงทุกรายต้องเจาะเลือดเพื่อแยกโรคที่สามารถทำให้ผมบางได้เสมอ เช่น ภาวะโลหิตจาง, โรคไทรอยด์ต่ำ, ไทรอยด์เป็นพิษ, โรคแพ้ภูมิตัวเอง, โรคซิฟิลิส, กรณีประจำเดือนมาไม่ปกติต้องอัลตร้าซาวด์เพื่อหาโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ PCOS ร่วมด้วย

2.  ส่องกล้อง Trichoscope เพื่อทำการวินิจฉัย โดยจะพบเส้นผมมีขนาดเล็กลง และพบรุขมุขนปิดตัวลง กระจายทั่วๆบริเวณรอยแสก

การรักษาโรค ผมบางตรงแสกกลาง

ผม บาง

การรักษาโรค ผมบางตรงแสกกลางด้วยยา 

การรักษาด้วยยากระตุ้นรากผม ถือเป็นการรักษาหลักในโรคผมบางพันธุกรรม โดยประกอบด้วยยากระตุ้นการงอกของเส้นผมรูปแบบรับประทาน/ทา, วิตามินรักษาผมร่วงผมบาง ส่วนในกรณีที่ผมบางจากฮอร์โมนเพศชายไม่สมดุล แพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาที่ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนเพศชายร่วมด้วย

ผมบางผู้หญิง

การรักษาโรค ผมบางตรงแสกกลางด้วยการฉีดกระตุ้นรากผม

การฉีดกระตุ้นรากผมด้วยสารสกัดโปรตีน จะช่วยกระตุ้น DP cell ที่เป็นเซลล์ต้นกำเนิดของรากผมให้กลับมาทำงานอีกครั้ง ช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตบริเวณหนังศีรษะ ชะลอความเสื่อมของเซลล์รากผม แนะนำฉีดกระตุ้นรากผมร่วมกับการรักษาด้วยยาตามมาตรฐาน จะช่วยเสริมฤทธิ์การรักษาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

ศึกษาเพิ่มเติม : ฉีดกระตุ้นรากผมด้วยนวัตกรรม PLACENTECH

การรักษาโรค ผมบางตรงแสกกลางด้วยแสงเลเซอร์

แสงเลเซอร์ที่มีคลื่นความยาวเฉพาะ สามารถช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือดบริเวณหนังศีรษะได้ ช่วยกระตุ้นการงอกของเส้นผม และลดผมร่วง โดยคลินิกเวชกรรมเกศาใช้เลเซอร์ HEALITE II ซึ่งเป็นเลเซอร์ที่มีคุณภาพสูงสุด เกรดการแพทย์ แก่ผู้รับบริการ

ศึกษาเพิ่มเติม : รักษาผมบางด้วยนวัตกรรมเลเซอร์ HEALITE II

การรักษาโรค ผมบางตรงกลางแสกด้วยการปลูกผมถาวร
กรณีรักษาด้วยวิธีมาตรฐานอย่างน้อย 1 ปีแล้วยังมีจุดที่ผมยังบาง ร่วมกับแพทย์ให้การวินิจฉัยว่าบริเวณดังกล่าวรากผมได้ปิดตัวลงแล้ว สามารถเข้ารับการปลูกผมถาวรบริเวณดังกล่าวได้

ศึกษาเพิ่มเติม : การปลูกผมกลางแสก

เป้าหมายของการรักษาโรค 

จุดประสงค์ของการรักษาโรคคือการคงสภาพเส้นผมให้มีการเจริญเติบโตปกติ ชะลอการปิดของรูขุมขนให้นานที่สุด เส้นผมที่บางนั้น แปลว่ายังมีรูขุมขนอยู่ คนไข้ต้องคอยบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง มิฉะนั้นเส้นผมจะค่อยๆบางลงเรื่อยๆจนล้านไปตามอิทธิพลของพันธุกรรม รูขุมขนส่วนที่ปิดไปแล้วจะไม่สามารถทำให้กลับมางอกได้อีก หากพื้นที่ล้านเห็นชัดเจน แพทย์อาจแนะนำการปลูกผมถาวรร่วมด้วย

“โรคผมบางกลางศีรษะ ไม่สามารถรักษาได้ด้วยแชมพูหรือเซรั่มตามท้องตลาด มีคนไข้หลายรายลองผิดลองถูกกับการรักษาด้วยตนเอง จนผมที่บางกลายเป็นศีรษะล้าน ทำให้ไม่สามารถรักษาได้แล้ว  ดังนั้นหากใครเป็นโรคนี้ หมอแนะนำว่าควรรีบรักษากับแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อคงสภาพเส้นผมให้แข็งแรง เพิ่มความมั่นใจในการใช้ชีวิตในช่วงวัยรุ่นและวัยกลางคน กรณีอายุมากและพิจารณาแล้วว่าภาวะผมบางไม่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิต ค่อยหยุดรักษาและปล่อยให้ผมบางไปตามพันธุกรรมที่ควรจะเป็นก็ได้”